กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปุโละปุโย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการผู้สูงอายุสุขใจ สูงวัยอย่างมีคุณภาพ ด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปุโละปุโย

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปุโละปุโย

1.นายมะกอเซ็งเจะแต
2.นางสาวนูรีฮัน มะแซ
3.นางสาวตวนอัสมะห์ ตูแวแปล
4.นางสาวสารีฮา การเดร์
5.นายมะดาโอะ เจะปอ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปุโละปุโย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 การดูแลผู้สูงอายุ ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

 

70.00
2 ผู้สูงอายุขาดความรู้ ในการดูแล ส่งเสริม ฟื้นฟูสุขภาพตนเอง

 

60.00

จากปัจจุบัน ‘สังคมสูงวัย’ คือ สังคมที่มีสัดส่วนของผู้สูงอายุหรือประชากรที่มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป ได้เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ขณะที่สัดส่วนของอัตราการเกิด และจำนวนประชากรในวัยทำงานลดน้อยลง ประเทศต่างๆ เช่น ที่สิงคโปร์มีสัดส่วนของผู้สูงอายุใกล้เคียงกับไทย และเป็นสังคมผู้สูงอายุ , เกาหลีใต้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์แล้ว ญี่ปุ่นมีสัดส่วนผู้สูงอายุมากที่สุดในโลก และเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุระดับสูงสุด ดังนั้น สำหรับประเทศไทยเราเอง ก็กำลังเปลี่ยนผ่านเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุในเร็วๆ นี้ เช่นกัน โดยมีประชากรที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปร้อยละ 10 หรือมากกว่า 7 ล้านคนแล้ว และมีการคาดการณ์ไว้ว่าในปี พ.ศ. 2564 สัดส่วนของจำนวนผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้นไปถึงร้อยละ 20-30 เปอร์เซ็นต์ แสดงว่าประชากร ทุกๆ 100 คน เราจะพบจำนวนผู้สูงอายุ 30 คน ซึ่งน่าจะตามมาด้วยปัญหาสุขภาพและโรคเรื้อรังต่างๆ ด้วย อัตราการเพิ่มของจำนวนผู้สูงอายุ ในปัจจุบันสูงกว่าของประชากรโดยรวม ขณะเดียวกันอัตราการเพิ่มของจำนวนผู้สูงอายุวัยปลายก็สูงกว่าอัตราการเพิ่มของกลุ่มผู้สูงอายุวัยต้น มีผลให้จำนวนและสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุของไทยเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ กลุ่มผู้สูงอายุวัยปลายปัญหาร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงไปตามธรรมชาติแต่สภาพจิตใจ ผู้สูงอายุจึง
ควรให้ความสนใจดูแลสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรง และมีคุณภาพชีวิตที่ดี เพื่อป้องกันการเกิดโรคต่างๆรวมทั้งฟื้นฟู
สุขภาพเมื่อมีภาวะของโรคและควบคุมให้ภาวะของโรคเหล่านั้นมีอาการคงที่ไม่กำเริบรุนแรงหรือเสื่อมถอยมาก
กว่าเดิมจะทำให้ผู้สูงอายุมีชีวิตอยู่อย่างมีคุณค่า สามารถทำประโยชน์ให้แก่สังคมและ มีความสุขในบั้นปลายของชีวิตประกอบกับรัฐบาลได้มีนโยบาย ในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตและ
การมีงานหรือกิจกรรมที่เหมาะสมเพื่อสร้างสรรค์และไม่ก่อภาระต่อสังคมในอนาคต
จากการรายงาน ในระบบ HDC ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานี รพ.สต.ปุโละปุโย มีจำนวนประชากร ผู้สูงอายุ จำนวน 369 คนซึ่งจำเป็นจะต้องให้ความสำคัญในการดูแล เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี สุขภาพจิตดี อยู่ในสังคมอย่างมีความสุข ซึ่งมีความจำเป็นที่ต้องมีญาติ ดูแล อย่างใกล้ชิด
รพ.สต.ปุโละปุโย ได้เล็งเห็นความสำคัญในเรื่องดังกล่าว จึงดำเนินการจัดกิจกรรมโครงการผู้สูงอายุสุขใจ สูงวัย
อย่างมีคุณภาพ เพื่อเป็นการส่งเสริมการสร้างความรู้ให้กับผู้สูงอายุ ด้านการบริหารจัดการชีวิตของตนเองให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีคุณภาพ มีความสุข และเป็นประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัวและชุมชน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 การให้ความรู้่ การใช้ผักพื้นบ้านต้านโรค และการทำลูกประคบสมุนไพรแก่ผู้สูงอายุ

ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมาย มีความพึงพอใจในกระบวนการจัดกิจกรรม

60.00 80.00
2 เพื่อส่งเสริม ฟื้นฟูด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย (กายบริหารท่าฤาษีดัดตน)แก่ผู้สูงอายุ

ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมาย สามารถประยุกต์ท่าฤาษีดัดตน เพื่อบรรเทาอาการปวดเมื่อย

60.00 80.00
3 เพื่อให้ผู้สูงอายุ ม่ีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยการส่งเสริมสุขภาพด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย

ร้อยละ ๘๐ ของกลุ่มเป้าหมายได้เข้าร่วมกิจกรรมตามที่กำหนดไว้

70.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 200
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 15/03/2023

กำหนดเสร็จ 29/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชาสัมพันธ์โครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประชาสัมพันธ์โครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าป้าย ขนาด 1.2 x 3 เมตร x 720 บาท x 5 หมู่บ้าน เป็นเงิน 720 บาท รวมเป็นเงิน 3,600 บาท สามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ
ระยะเวลาดำเนินงาน
15 มีนาคม 2566 ถึง 29 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3600.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมการทำลูกประคบสมุนไพร

ชื่อกิจกรรม
อบรมการทำลูกประคบสมุนไพร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าวิทยากร1 คน X 6 ชั่วโมง X ชั่วโมงละ 600 บาท X 4 วัน เป็นเงิน14,400 บาท
    รวมเป็นเงิน 14,400 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน 60 บาท x 50 คน x 1 มื้อ X 4 วัน เป็นเงิน12,000 บาท รวมเป็นเงิน 12,000บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 30 บาท x 50 คนX 4 วัน เป็นเงิน12,000 บาท รวมเป็นเงิน 12,000บาท
  • ค่าวัสดุสาธิตการทำลูกประคบสมุนไพร ไพล (40 กิโลกรัม x 204 บาท)
    เป็นเงิน 8,160 บาท ผิวมะกรูด (10 กิโลกรัม x 195 บาท)
    เป็นเงิน 1,950 บาท ใบมะขาม (15 กิโลกรัม x 180 บาท)
    เป็นเงิน 2,700 บาท ตะไคร้ (9.5 กิโลกรัม x 180 บาท)
    เป็นเงิน 1,710 บาท ขมิ้นชัน (10 กิโลกรัม x 250 บาท)
    เป็นเงิน 2,500 บาท การบูร(8 กิโลกรัม x 520 บาท)
    เป็นเงิน 4,160 บาท พิมเสน (8 กิโลกรัม x 900 บาท)
    เป็นเงิน 7,200 บาท ผ้าดิบ (30 หลา x 29 บาท)
    เป็นเงิน 870 บาท เชือกขาว (6 มัด x 125บาท)
    เป็นเงิน 750 บาท รวมเป็นเงิน 30,000 บาท สามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ
ระยะเวลาดำเนินงาน
15 มีนาคม 2566 ถึง 29 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
68400.00

กิจกรรมที่ 3 อบรมส่งเสริมการดูแลสุขภาพด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย และการใช้ผักพื้นบ้านต้านโรค/กายบริหารท่าฤาษีดัดตน

ชื่อกิจกรรม
อบรมส่งเสริมการดูแลสุขภาพด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย และการใช้ผักพื้นบ้านต้านโรค/กายบริหารท่าฤาษีดัดตน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ตัวอย่างสมุนไพร (30 ชนิด x 20 บาท x 4 วัน) เป็นเงิน 2,400 บาท -ถาดวางสมุนไพร (30 ใบ x 20 บาท ) รวมเป็นเงิน 600 บาท สามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ
ระยะเวลาดำเนินงาน
15 มีนาคม 2566 ถึง 29 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 75,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้สูงอายุมีทางเลือกในการส่งเสริมสุขภาพ ด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยมากขึ้น
2. ผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพของตนเอง ในการส่งเสริม ฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายและจิตใจ
3. เพื่อลดการใช้ยาแผนปัจจุบัน ในการดูแลสุขภาพเบื้องต้นโดยการใช้ผักเป็นยาแทน


>