กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปุโละปุโย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการหนูน้อยยิ้มสวย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปุโละปุโย

โรงเรียนมูลนิธิชุมชนอิสลามศึกษา

1. นางเจะนิเยาะ มุสตาปะ
2. นางสาวฟาตีฮะห์มุสตาปะ
3. นางสาวไซนูรีลาเซ็ง
4. นางสาวอาแอเสาะมือริงจือแร
5. นางสาวตอฮีเราะห์สาและ

โรงเรียนมูลนิธิชุมชนอิสลามศึกษา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 นักเรียนขาดเรียนเนื่องจากปวดฟัน

 

70.00
2 นักเรียนส่วนใหญ่แปรงฟันไม่ถูกวิธี

 

90.00
3 นักเรียนยังเลือกบริโภคขนมที่ส่งเสริมทำให้เกิดฟันผุ

 

90.00

สุขภาพฟันของเด็กมีความสัมพันธ์กับสุขภาพโดยรวมของเด็ก การมีสุขภาพฟันดี ฟันไม่ผุ ย่อมส่งผลดีในการเคี้ยวอาหาร การพูด การยิ้มของเด็ก สิ่งเหล่านี้ช่วยเสริมสร้างความเชื่อมั่นในตนเองให้แก่เด็ก เด็กในช่วงอายุมากกว่า 6 ปีขึ้นไปเป็นช่วงเวลาการพัฒนานิสัยในทุกๆด้าน ดังนั้นการส่งเสริมการดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกต้องในเด็กวัยนี้ จะช่วยบ่มเพาะสุขนิสัยการดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกต้องตั้งแต่วัยเด็กได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ลดปัญหาการขาดเรียนเนื่องจากปวดฟันในเด็กระดับประถม

นักเรียนขาดเรียนเนื่องจากปัญหาปวดฟันน้อยลง

30.00 1.00
2 ส่งเสริมให้นักเรียนแปรงฟันที่ถูกวิธีตามช่วงอายุ

นักเรียนมีความรู้เรื่องการแปรงฟันที่ถูกต้องตามช่วงอายุ

30.00 1.00
3 เพื่อให้นักเรียนสามารถเลือกบริโภคขนมที่ลดการทำให้เกิดฟันผุ

นักเรียนมีความรู้และสามารถเลือกบริโภคขนมที่ลดการทำให้เกิดฟันผุ

40.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 10/03/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมการให้ความรู้โรคฟันผุ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมการให้ความรู้โรคฟันผุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรมให้ความรู้เรื่องโรคฟันผุในเด็กอายุ 6 ปีขึ้นไป - ค่าวิทยากร 3,000 บาท - ค่าอาหารว่าง 25บาท  x 100 คน เป็นเงิน 2,500 บาท - ค่าวัสดุ 3,430 บาท - ป้ายโครงการ 720 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
10 มีนาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9650.00

กิจกรรมที่ 2 ขนมดีไร้ฟันผุ

ชื่อกิจกรรม
ขนมดีไร้ฟันผุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมการให้ความรู้เรื่องการเลือกบริโภคขนมที่ลดการก่อให้เกิดฟันผุในเด็กนักเรียน - ค่าป้ายอื่นๆ 350 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
10 มีนาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
350.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,000.00 บาท

หมายเหตุ :
ค่าใช้จ่ายทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ปัญหาการขาดเรียนเนื่องจากปวดฟันในเด็กระดับประถมลดลง
2. นักเรียนมีความรู้เรื่องการแปรงฟันที่ถูกวิธีมากขึ้น
3. นักเรียนลดการบริโภคขนมที่ก่อให้เกิดฟันผุ


>