กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

กปท.7

แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง รหัส กปท. L3053

อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 16 (2) “ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10”

อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2566 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.
ชื่อ
check_box_outline_blank
แผนงาน
check_box
โครงการ
check_box_outline_blank
กิจกรรม
โครงการร่วมมือร่วมใจฝากครรภ์ดีมีคุณภาพป้องกันภาวะคลอดก่อนกำหนดในเขตตำบลตะบิ้ง ปีงบประมาณ 2566
2.
ชื่อ
check_box
หน่วยงาน
check_box_outline_blank
องค์กร
check_box_outline_blank
กลุ่มประชาชน
สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง
3.
หลักการและเหตุผล

ทารกคลอดก่อนกำหนด คือ การคลอดทารกก่อน หรืออายุครรภ์เท่ากับ 37 สัปดาห์ เป็นทารกที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรค และการเสียชีวิต เนื่องจากอวัยวะระบบต่างๆ ยังทำงานได้ไม่สมบูรณ์ ทารกยิ่งคลอดก่อนกำหนดเร็วก็ยิ่งมีปัญหาเกี่ยวกับการทำงานของอวัยวะในระบบต่างๆ มากขึ้นเท่านั้น จากสถิติพบว่าอัตราการเกิดของเด็กไทยในปัจจุบันประมาณ 800,000 คน ต่อปี มีอัตราการเกิดของเด็กคลอด ก่อนกำหนดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 8 - 10 ต่อปีส่งผลให้อวัยวะของทารกพัฒนาได้ไม่เต็มที่ ด้วยเหตุนี้ทารกคลอดก่อนกำหนดจึงจำเป็นต้องได้รับการดูแลจากแพทย์ และพยาบาลที่มีความชำนาญเฉพาะทางเพื่อช่วยให้ทารกรอดชีวิต และมีความพิการหลงเหลือน้อยที่สุดสาเหตุการคลอดก่อนกำหนดมีได้หลายปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยจากแม่ อาจมาจากการทำงานหนัก พักผ่อนไม่เพียงพอ มีความเครียด มีโรคประจำตัว เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ หรือมีภาวะติดเชื้อขณะตั้งครรภ์ ติดเชื้อในช่องคลอดทางเดินปัสสาวะ หรือแม่มีภาวะน้ำเดินก็จะเป็นการกระตุ้นทำให้เกิดการคลอดก่อนกำหนดได้ ปัจจัยของลูก เด็กในครรภ์มีความผิดปกติตั้งแต่แรกเกิด เช่น โรคทางพันธุกรรม มีภาวะ รกเสื่อม เด็กเติบโตไม่ได้จึงกระตุ้นให้มีการคลอด นอกจากนี้ ยังมีทารกแฝดบางรายที่อาจมีความเสี่ยงต่อ การคลอดก่อนกำหนดได้เช่นกัน ปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อทารกคลอดก่อนกำหนด ปัญหาของทารกที่คลอดก่อนกำหนดมีมากมาย เช่น มีน้ำหนักตัวน้อย การทำงานของปอดไม่สมบูรณ์ทำให้มีปัญหาการหายใจที่ผิดปกติตามมา มีภาวะเลือดออกในสมอง ส่งผลต่อระบบสมองที่อาจมีความพิการเกิดการติดเชื้อตามมาได้ง่าย ภาวะลำไส้อักเสบ ภาวะหายใจลำบากจากการขาดสารลดแรงตึงผิวเป็นปัญหาของระบบทางเดินหายใจที่พบได้บ่อยในทารกคลอดก่อนกำหนด ยิ่งอายุครรภ์น้อยโอกาสเกิดยิ่งมากขึ้น สารลดแรงตึงผิว (Surfactant) เป็นตัวพยุงทำให้ถุงลมในปอดไม่แฟบเมื่อหายใจออก และเกิดการแลกเปลี่ยนก๊าซได้ปกติ แต่สำหรับทารกที่คลอดก่อนกำหนด จะยังไม่สามารถสร้างสารลดแรงตึงผิวได้เพียงพอ จึงทำให้ไม่สามารถแลกเปลี่ยนก๊าชได้ เกิดการขาดออกซิเจน และแสดงอาการหายใจลำบาก โดยเด็กจะหายใจเร็ว อกบุ๋ม จมูกบาน ตัวเขียว และส่งผลต่อระบบอื่นในร่างกายตามมาได้ นอกจากนี้การคลอดก่อนกำหนดจะส่งผลต่อระบบต่างๆ ในร่างกายของเด็ก ที่พบบ่อยมี ดังนี้ 1. น้ำหนักตัวน้อยกว่าเกณฑ์ 2. ปัญหาการติดเชื้อ เพราะระบบภูมิคุ้มกันอาจจะยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ อีกทั้งผิวหนังจะบางมากทำให้เชื้อโรคแทรกตัวเข้าในผิวหนังได้ง่าย จึงมีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย 3. ปัญหาระบบลำไส้ยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ เมื่อออกซิเจนไปเลี้ยงไม่พอลำไส้ก็ขาดเลือด และมีโอกาสเกิดลำไส้อักเสบ หรือลำไส้เน่าตามมา 4. ปัญหาระบบหัวใจ และหลอดเลือด มีโอกาสตรวจพบเส้นเลือดหัวใจเกินได้มากกว่าทารกที่คลอดครบตามกำหนด ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดภาวะหัวใจวายตามมาได้

4.
วัตถุประสงค์(เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
  • 1. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์มาฝากครรภ์ตามเกณฑ์การฝากครรภ์คุณภาพ
    ตัวชี้วัด :
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 60.00
  • 2. เพื่อป้องกันและลดโอกาสการคลอดก่อนกำหนด
    ตัวชี้วัด :
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 100.00
  • 3. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ ความตระหนัก การดูแลสุขภาพขณะตั้งครรภ์
    ตัวชี้วัด :
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 100.00
5.
วิธีดำเนินการ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • 1. ให้ความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์
    รายละเอียด

    ขั้นเตรียมการ 1. รวบรวมข้อมูล เขียนโครงการและเสนอขออนุมัติดำเนินงาน 2. ประสานหน่วยงาน ผู้เกี่ยวข้อง และกลุ่มเป้าหมาย 3. ทำการสำรวจหญิงตั้งครรภ์ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง 4. จัดทำข้อมูลจำนวนหญิงตั้งครรภ์ในเขตพื้นที่ตำบลตะบิ้ง และจัดตั้งกลุ่ม Application Line เพื่อเผยแพร่สื่อประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความรู้และความตระหนักเรื่องอันตรายของการคลอดก่อนกำหนดสีญญาณเตือนที่ต้องไปโรงพยาบาลและการฝากครรภ์ภายใน 12 สัปดาห์เมื่อรู้ว่าตั้งครรภ์ให้กับประชาชนทั่วไป สามีและญาติของหญิงตั้งครรภ์ 5. สรุปและประเมินผลโครงการรายงานผลการดำเนินงานให้ผู้บริหารรับทราบ

    ขั้นตอนสรุปผลการดำเนินการ 1. สรุปผลโครงการ 2. รายงานผลโครงการ - ค่าอาหารกลางวัน สำหรับกลุ่มเป้าหมายและผู้ดำเนินงาน จำนวน 30 คน ๆ ละ 80 บาท/มื้อ จำนวน 1 มื้อเป็นเงิน 2,400 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับกลุ่มเป้าหมายและผู้ดำเนินงาน จำนวน 30 คน ๆ ละ 35 บาท/มื้อ จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 2,100 บาท
    - ค่าป้ายโครงการ ขนาด 1 x 3 เมตร เป็นเงิน 1,050 บาท - ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการขนาด 2.4 x 4.8 เมตร x 6 ป้ายๆละ 4,032 บาทเป็นเงิน 24,192 บาท
    - ค่าตอบแทนวิทยากร 6 ชั่วโมง ๆ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
    - ค่าเช่าเต็นท์, เก้าอี้, เครืองเสียง เป็นเงิน 4,500 บาท

    รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 37,842 บาท

    งบประมาณ 37,842.00 บาท
6.
กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม(เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
6.1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน คน

6.2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน คน

6.3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน คน

6.4. กลุ่มวัยทำงาน จำนวน คน

6.5. กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน คน

6.6. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน คน

6.7. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ จำนวน คน

6.8. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน คน

6.9. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] จำนวน คน

7.
ระยะเวลาดำเนินการ(ควรระบุตามการดำเนินงานจริง)

ตั้งแต่ วันที่ 1 มีนาคม 2566 ถึง 21 มีนาคม 2566

8.
สถานที่ดำเนินการ

ห้องประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง

9.
งบประมาณ(ให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ที่ตั้งไว้ตามข้อ 5)

รวมงบประมาณโครงการ 37,842.00 บาท

10.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  1. มีข้อมูลหญิงตั้งครรภ์ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง
  2. หญิงตั้งครรภ์ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้งมีความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวข้องเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ มีที่ปรึกษาตลอดการตั้งครรภ์และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างหญิงตั้งครรภ์ในกลุ่ม Application Line
  3. มีการติดตามและดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงในการคลอดก่อนกำหนด
11.
คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ

ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้

  • check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
  • check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
  • check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ลงชื่อ............................................................ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- เห็นชอบ/อนุมัติ
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ


ลงชื่อ............................................................หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................

กปท.8

แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง รหัส กปท. L3053

อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
เรื่อง ขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2566
เรียน ประธานกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง
เอกสารแนบ แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (แบบ กปท.7) จำนวน 1 ชุด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น

หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

ลงชื่อ .................................................. หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

(...........................................................)

ตำแหน่ง ...............................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................

กปท.9

แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง รหัส กปท. L3053

อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. ความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน
check_box_outline_blank
สอดคล้อง
check_box_outline_blank
ไม่สอดคล้อง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
2. ความซ้ำซ้อนของงบประมาณกองทุน ฯ กับงบประมาณจากแหล่งอื่น
check_box_outline_blank
ซ้ำซ้อน
check_box_outline_blank
ไม่ซ้ำซ้อน
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
3. ความเสี่ยงจากผลประโยชน์ทับซ้อน
check_box_outline_blank
เสี่ยง
check_box_outline_blank
ไม่เสี่ยง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
4. เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
5. ประเภทการสนับสนุน (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
6.งบประมาณที่เสนอ จำนวน 37,842.00 บาท
check_box_outline_blank
อนุมัติงบประมาณ เนื่องจากแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
check_box_outline_blank
ประชาชนได้รับผลประโยชน์
check_box_outline_blank
ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
check_box_outline_blank
ผู้รับผิดชอบงานมีศักยภาพ
check_box_outline_blank
ค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่า
จึงเห็นควรสนับสนุน เป็นเงิน จำนวน ........................................ บาท
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ไม่อนุมัติงบประมาณ
เพราะ...................................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ให้รายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ภายในวันที่................................................(ตามแบบฟอร์ม ฯ กปท.10)
check_box_outline_blank
ให้ อปท. แจ้งผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทราบผล เพื่อดำเนินการ ต่อไป
ลงชื่อ ....................................................................

(....................................................................)

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม

วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................

ลงชื่อ ....................................................................

ตำแหน่ง ....................................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................