กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลาโละ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการหนูน้อยสุขภาพดี ปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลาโละ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านอูยิ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านอูยิ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันการดูแลสุขภาพและสุขอนามัยในเด็กแรกเกิดถึงช่วงอายุ 5 ปี เป็นช่วงระยะเวลาที่เด็กเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วมากจึงเป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุดของการสร้างรากฐานชีวิตและจิตใจของมนุษย์ นอกจากร่างกายจะเจริญเติบโตอย่างเร็วแล้วสมองของเด็กก็เจริญเติบโตสูงสุดในช่วงวัยนี้ด้วย ผู้ปกครองส่วนใหญ่มักให้ความสำคัญกับเด็กในการส่งเสริมการเจริญเติบโต ทางด้านร่างกาย เช่น รูปร่าง น้ำหนัก ส่วนสูง และปล่อยให้พัฒนาการของเด็กเกิดขึ้นเองตามวัยแต่ในปัจจุบันความรู้จากการศึกษาและความตื่นตัวในวิทยาการสมัยใหม่ให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมพัฒนาการเด็กมากขึ้น ซึ่งนอกจากปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็ก เช่น พันธุกรรมที่ได้รับจากพ่อแม่แล้ว สิ่งแวดล้อมกับการเลี้ยงดูโดยการสร้างเสริมกิจกรรมกับเด็กผ่านการเล่นเป็นการส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่ผู้ปกครองควรทำในชีวิตประจำวันของเด็กรวมถึงการติดตามพัฒนาการของเด็กให้เหมาะสมตามวัยและงานสร้างเสริมภูมิคุ้มโรค ซึ่งปัจจุบันวัคซีนที่ใช้ในการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคส่วนใหญ่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นเด็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึง ๕ ปี เช่นเดียวกันที่จะต้องได้รับวัคซีนให้ครบทุกชนิดตามกำหนดของกระทรวงสาธารณสุข
จากผลการดำเนินงานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านอูยิ ตำบลลาโละ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส พบว่า มีผลการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในเด็กอายุครบ 0-5 ปี ร้อยละ 48.89 ซึ่งไม่ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 90.00 ได้รับวัคซีนไม่ครอบคลุมเนื่องจากผู้ปกครองบางรายปฏิเสธรับวัคซีนตามเกณฑ์หรือทัศนคติผู้ปกครองบางรายมองในแง่ลบ และเด็กบางรายอาจแยกกันอยู่กับบิดา/มารดา ซึ่งทำงานต่างจังหวัดจึงอาศัยอยู่กับตาหรือยายที่ไม่สามารถนำพาเด็กมารับวัคซีนตามเกณฑ์ได้ และ กังวลว่าเด็กจะมีไข้หลังได้รับวัคซีน และมีเด็กน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ พัฒนาการไม่สมวัยและมีปัญหาฟันผุ โดยพบอัตราเด็กอายุ 0-5 ปี มีส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วนคิดเป็นร้อยละ๔๔.๖๔ ซึ่งน้อยกว่าเกณฑ์ที่กำหนดคือร้อยละ 70 และอัตราการตรวจพัฒนาการเด็กอายุ 9 18 30 42 เดือน พบเด็กมีพัฒนาการล่าช้าร้อยละ 34.62 ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านอูยิ เล็งเห็นความสำคัญในการดูแลสุขภาพของหนูน้อย จึงได้จัดทำโครงการหนูน้อยสุขภาพดีขึ้น เพื่อแก้ปัญหาสุขภาพและส่งเสริมให้เด็กอายุ 0-5 ปี มีสุขภาพดี รูปร่างสมส่วนและได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคตลอดจนมีพัฒนาการที่ดีส่งผลให้เด็กเติบโตอย่างมีความสุขและมีคุณภาพที่ดีต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มอัตราความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนครบชุดในเด็ก 0 – 5 ปี

ร้อยละความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนในเด็ก 0-5 ปี ครบชุดตามเกณฑ์

90.00
2 เพื่อเพิ่มอัตราของเด็กอายุ 0-5 ปีมีส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วนตามวัย

ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ปีมีส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วน

70.00
3 เพื่อเพิ่มความครอบคลุมของการคัดกรองพัฒนาการในเด็กอายุ 9,18,30และ 42 เดือน

ร้อยละความครอบคลุมของการคัดกรองพัฒนาการ

95.00
4 เพื่อให้เด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี ได้รับการตรวจฟันและเคลือบฟลูออไรด์วานิช

ร้อยละของเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี ที่ได้รับการตรวจฟันและเคลือบฟลูออไรด์วานิช

60.00

ปัจจุบันการดูแลสุขภาพและสุขอนามัยในเด็กแรกเกิดถึงช่วงอายุ 5 ปี เป็นช่วงระยะเวลาที่เด็กเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วมากจึงเป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุดของการสร้างรากฐานชีวิตและจิตใจของมนุษย์ นอกจากร่างกายจะเจริญเติบโตอย่างเร็วแล้วสมองของเด็กก็เจริญเติบโตสูงสุดในช่วงวัยนี้ด้วย ผู้ปกครองส่วนใหญ่มักให้ความสำคัญกับเด็กในการส่งเสริมการเจริญเติบโต ทางด้านร่างกาย เช่น รูปร่าง น้ำหนัก ส่วนสูง และปล่อยให้พัฒนาการของเด็กเกิดขึ้นเองตามวัยแต่ในปัจจุบันความรู้จากการศึกษาและความตื่นตัวในวิทยาการสมัยใหม่ให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมพัฒนาการเด็กมากขึ้น ซึ่งนอกจากปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็ก เช่น พันธุกรรมที่ได้รับจากพ่อแม่แล้ว สิ่งแวดล้อมกับการเลี้ยงดูโดยการสร้างเสริมกิจกรรมกับเด็กผ่านการเล่นเป็นการส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่ผู้ปกครองควรทำในชีวิตประจำวันของเด็กรวมถึงการติดตามพัฒนาการของเด็กให้เหมาะสมตามวัยและงานสร้างเสริมภูมิคุ้มโรค ซึ่งปัจจุบันวัคซีนที่ใช้ในการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคส่วนใหญ่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นเด็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 5 ปี เช่นเดียวกันที่จะต้องได้รับวัคซีนให้ครบทุกชนิดตามกำหนดของกระทรวงสาธารณสุข
จากผลการดำเนินงานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านอูยิ ตำบลลาโละ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส พบว่า มีผลการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในเด็กอายุครบ 0-5 ปี ร้อยละ 48.98 ซึ่งไม่ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 90.00 ได้รับวัคซีนไม่ครอบคลุมเนื่องจากผู้ปกครองบางรายปฏิเสธรับวัคซีนตามเกณฑ์หรือทัศนคติผู้ปกครองบางรายมองในแง่ลบ และเด็กบางรายอาจแยกกันอยู่กับบิดา/มารดา ซึ่งทำงานต่างจังหวัดจึงอาศัยอยู่กับตาหรือยายที่ไม่สามารถนำพาเด็กมารับวัคซีนตามเกณฑ์ได้ และ กังวลว่าเด็กจะมีไข้หลังได้รับวัคซีน และมีเด็กน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ พัฒนาการไม่สมวัยและมีปัญหาฟันผุ โดยพบอัตราเด็กอายุ 0-5 ปี มีส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วนคิดเป็นร้อยละ 44.64 ซึ่งน้อยกว่าเกณฑ์ที่กำหนดคือร้อยละ 70 และอัตราการตรวจพัฒนาการเด็กอายุ 9 18 30 42 เดือน พบเด็กมีพัฒนาการล่าช้าร้อยละ 34.62 ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านอูยิ เล็งเห็นความสำคัญในการดูแลสุขภาพของหนูน้อย จึงได้จัดทำโครงการหนูน้อยสุขภาพดีขึ้น เพื่อแก้ปัญหาสุขภาพและส่งเสริมให้เด็กอายุ 0-5 ปี มีสุขภาพดี รูปร่างสมส่วนและได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคตลอดจนมีพัฒนาการที่ดีส่งผลให้เด็กเติบโตอย่างมีความสุขและมีคุณภาพที่ดีต่อไป

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 150
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมแกนนำสุขภาพและภาคีเครือข่ายสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมแกนนำสุขภาพและภาคีเครือข่ายสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คนๆละ 1 มื้อๆละ 50 บาทเป็นเงิน 2,500 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5000.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเรื่องการได้รับวัคซีนในเด็กในเด็ก 0-5 ปี/การดูแลสุขภาพช่องปากและภาวะโภชนาการพัฒนาการ

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเรื่องการได้รับวัคซีนในเด็กในเด็ก 0-5 ปี/การดูแลสุขภาพช่องปากและภาวะโภชนาการพัฒนาการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 100 คนๆละ 1 มื้อๆละ 50 บาทเป็นเงิน 5,000 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 100 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 5,000บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

กิจกรรมที่ 3 จัดเวทีอบรมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้และประกวดหนูน้อยสุขภาพดี

ชื่อกิจกรรม
จัดเวทีอบรมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้และประกวดหนูน้อยสุขภาพดี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 100 คนๆละ 1 มื้อๆละ 50 บาทเป็นเงิน 5,000 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 100 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 25,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้นำศาสนา ผู้นำชุมชน อสม. และผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปี มีความรู้เกี่ยวกับวัคซีนสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคมากขึ้น
2. ผู้ปกครองเด็กอายุ 0-5 ปี ให้ความสำคัญในการพาบุตรหลานไปรับบริการฉีดวัคซีนตรงตามนัดทุกครั้ง
3. เด็กอายุ 0-5 ปี มีส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วนเพิ่มขึ้น
4.เด็กอายุ 0-5 ปี พัฒนาการที่สมวัยทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจและสังคม
5.เด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี ได้รับการตรวจฟันและเคลือบฟลูออไรด์วานิช


>