กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาลูปัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเด็กฉลาดสุขภาพดีต้องได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ ประจำปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาลูปัง

รพ.สต.กาลูปัง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดให้ เด็กที่มีอายุ 0 – 5ปี ต้องได้รับวัคซีนขั้นพื้นฐานครบตามเกณฑ์ เพื่อป้องกันโรคภัยไข้เจ็บที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน แต่ปัจจุบันพบว่าในหลายพื้นที่ของจังหวัดยะลา โดยเฉพาะในเขตอำเภอรามัน อัตราความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุขซึ่งมีสาเหตุมาจากปัจจัยหลายประการ ทั้งทางด้านบริบทของพื้นที่ความเชื่อ ทัศนคติ ฯลฯ โดยพบว่าเด็กที่มีอายุ 0 – 5 ปี ที่ได้รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์ จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคติดต่อต่างๆ ได้มากกว่า เช่น โรคคอตีบ โรคไอกรน บาดทะยัก โปลิโอ ไข้สมองอักเสบ หัด เป็นต้น ซึ่งโรคเหล่านี้หากเกิดขึ้น ความรุนแรงและอัตราการเสียชีวิตค่อนข้างสูง โดยเฉพาะโรคคอตีบ ทำให้ ตัวชี้วัดและเป้าหมายตามยุทธศาสตร์สาธารณสุข จังหวัดยะลา ปี 2565ได้กำหนดให้มีความครอบคลุมการให้บริการวัคซีนในเด็กอายุ 0 - 5 ปี ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90ยกเว้น mmr ร้อยละ95 แต่จากข้อมูลการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในเด็กวัย 0 - 5 ปี ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล กาลูปัง ในปีงบประมาณ 2563พบว่า เด็ก 0 – 1 ปี ได้รับวัคซีนครบชุดเฉลี่ยร้อยละ 62.0และเด็กอายุ 2 ปี ได้รับวัคซีนครบชุดเฉลี่ยร้อยละ70.5 และเด็กอายุ 3 ปี ได้รับวัคซีนครบชุดเฉลี่ยร้อยละ63.6 และเด็กอายุ 5 ปี ได้รับวัคซีนครบชุดเฉลี่ยร้อยละ 80จากการทำเวทีประชาคมด้านสาธารณสุขประจำปีงบประมาณ 2563 ปัญหาความครอบคลุมการรับวัคซีนในเด็ก 0 – 5 ปี เป็นปัญหาหนึ่งซึ่งชุมชนให้ความสำคัญ พบว่า สาเหตุหลักที่ผู้ปกครองไม่นำบุตรมาฉีดวัคซีน เนื่องจากหลังฉีดแล้วเด็กมีไข้ ทำให้ผู้ปกครองไม่สามารถไปทำงานตามปกติได้ และผู้ปกครองขาดความตระหนัก ขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกาลูปังจึงได้จัดทำโครงการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคตามเกณฑ์ ในเด็กอายุ 0 – 5 ปี โดยใช้กระบวนการหลัก คือ การสร้างการมีส่วนร่วมขององค์กรในชุมชน การพัฒนาองค์ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็ก 0 – 5 ปี ในเรื่องโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน การพัฒนาระบบบริการในคลินิกเด็กดี ตลอดจนการติดตามเคาะประตูบ้านเพื่อฉีดวัคซีนในเด็กที่ผู้ปกครองไม่ยอมพามาฉีดวัคซีน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจ ในการได้รับวัคซีนอย่างถูกต้อง 2. เพื่อให้เด็ก0-5ปีได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ95 3. เพื่อให้อสม.มีความรู้ และมีศักยภาพ ในการประชาสัมพันธ์แก่ชาวบ้านโดยการให้สุขศึกษาที่ถูกต้อง

เด็ก0-5ปีได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ที่กำหนด

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 70
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 . การสำรวจข้อมูลสุขภาพ การจัดทำทะเบียนและฐานข้อมูลสุขภาพ,การตรวจคัดกรอง ประเมินภาวะสุขภาพ และการค้นหาผู้มีภาวะเสี่ยง,การเยี่ยมติดตามดูแลสุขภาพ,การรณรงค์/ประชาสัมพันธ์/ฝึกอบรม/ให้ความรู้,การส่งเสริมการได้รับวัคซีนป้องกันโรคตามวัย

ชื่อกิจกรรม
. การสำรวจข้อมูลสุขภาพ การจัดทำทะเบียนและฐานข้อมูลสุขภาพ,การตรวจคัดกรอง ประเมินภาวะสุขภาพ และการค้นหาผู้มีภาวะเสี่ยง,การเยี่ยมติดตามดูแลสุขภาพ,การรณรงค์/ประชาสัมพันธ์/ฝึกอบรม/ให้ความรู้,การส่งเสริมการได้รับวัคซีนป้องกันโรคตามวัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ขั้นเตรียมการ     1.เขียนโครงการและกำหนดแผนปฏิบัติงาน และติดต่อประสานงานกับองค์การบริหารส่วนตำบล กาลูปัง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา     2. ติดต่อประสานงานกับองค์การบริหารส่วนตำบลกาลูปัง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา            3.ประชาสัมพันธ์โครงการ ขั้นดำเนินการ     1. .การสำรวจข้อมูลสุขภาพ การจัดทำทะเบียนและฐานข้อมูลสุขภาพของเด็ก0-5ปี     2. การตรวจคัดกรองเด็กที่ไม่ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์     3. ติดตามเยี่ยมเชิงรุกโดยทีมภาคีเรือข่ายในเด็กที่ได้รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์           4. อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับประโยชน์ที่ได้รับวัคซีนและโทษที่ไม่ได้รับวัคซีน     ขั้นประเมินผล     สรุปและรายงานผลการดำเนินการ จากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพ.....ตำบลกาลูปัง.........................................
จำนวน .......10,000............................ บาท (....หนึ่งหมื่นบาทถ้วน....................) รายละเอียด  ดังนี้     6.1  ค่าค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 70 คนๆ ละ2 มื้อ25 บาท    เป็นเงิน  ....3,500.............  บาท     6.2  ค่าอาหารกลางวันจำนวน 70 คนๆ ละ 1 มื้อ70 บาท          เป็นเงิน  .....4,900............  บาท     6.3  ค่าวิทยากร  1 ท่าน 400 บาท/ ชม *4 ชม            เป็นเงิน  .....1,600.............  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. เด็ก0-5ปีได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ที่กำหนด
  2. อสม.มีความรู้และศักยภาพในการประชาสัมพันธ์ในการได้รับวัคซีนที่ถูกต้อง 3.ผู้ปกครองเด็ก0-5ปี  มีความรู้โทษของการไม่ได้รับวัคซีนและประโยชน์ของการได้รับวัคซีนที่ถูกต้อง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็ก0-5ปีได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ที่กำหนด
2. อสม.มีความรู้และศักยภาพในการประชาสัมพันธ์ในการได้รับวัคซีนที่ถูกต้อง
3.ผู้ปกครองเด็ก0-5ปีมีความรู้โทษของการไม่ได้รับวัคซีนและประโยชน์ของการได้รับวัคซีนที่ถูกต้อง


>