กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าข้าม

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการลูกหลานปลอดภัย พ่อแม่ใส่ใจวัคซีน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าข้าม

อาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 4

ตำบลท่าข้าม อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กเป็นเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะเด็กวัยก่อนเรียนซึ่งเป็นประชากรที่มีความสำคัญและเป็นอนาคตของชาติ ทั้งนี้เพราะเด็กในวัยนี้เป็นระยะที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วทั้งร่างกายและสติปัญญา ประกอบกับนโยบายของงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคโดยยึดถือการได้รับบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของเด็ก เด็กทุกคนในประเทศไทยควรได้รับวัคซีนพื้นฐานครบตามเกณฑ์กำหนดของกระทรวงสาธารณสุข ฉะนั้นการเร่งรัดติดตามให้ประชากรกลุ่มเป้าหมายทุกคนได้รับการบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคให้ครอบคลุมตามแผนที่วางไว้จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องดำเนินการครอบคลุมระดับสูงที่สุดและมีความต่อเนื่องตลอดไป เพื่อป้องกันการเกิดโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนให้ได้มากที่สุด จากการสำรวจข้อมูลและผลการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลปะนาเระ ประจำปีงบประมาณ 2565ปรากฏว่าเด็กอายุ 0-5 ปี ได้รับวัคซีนครอบคลุมคิดเป็นร้อยละ 74.64 (เป้าหมายที่กำหนดไว้คือร้อยละ 90 ยกเว้นวัคซีนหัด หัดเยอรมัน คางทูม ต้องครอบคลุมร้อยละ 95) ในการนี้จึงต้องเร่งรีบให้วัคซีนตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้เพื่อความปลอดภัยจากโรคระบาดที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน
ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมายตามแผนฯจากรายงานอัตราความครอบคลุมวัคซีนขั้นพื้นฐานพบว่า เด็ก 0-5 ปี ในเขตรับผิดชอบของศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลปะนาเระ ได้รับวัคซีนไม่ครอบคลุม จึงจำเป็นต้องดำเนินการเร่งรัด ติดตาม ค้นหาเด็กตามกลุ่มเป้าหมายให้มารับการฉีดวัคซีนทุกคนเพื่อการป้องกันโรคที่อาจจะเกิดขึ้นกับประชากรกลุ่มอายุดังกล่าว

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2023

กำหนดเสร็จ 31/08/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ชี้แจงให้ความรู้เรื่องการฉีดวัคซีนในกลุ่มเป้าหมาย

ชื่อกิจกรรม
ชี้แจงให้ความรู้เรื่องการฉีดวัคซีนในกลุ่มเป้าหมาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 มีนาคม 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
18300.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 18,300.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็ก 0-5 ปีมีความรู้และเห็นความสำคัญของการฉีดวัคซีนตามเกณฑ์
2. จำนวนเด็ก 0-5 ปีมารับการฉีดวัคซีนตามเกณฑ์มากขึ้น
3. เด็ก 0-5 ปีที่ไม่มารับวัคซีนตามนัดได้รับการติดตามจากเจ้าหน้าที่และอสม.
4. ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลและติดตามให้เด็ก0-5ปีมารับวัคซีนตามเกณฑ์


>