กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าข้าม

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการชาวท่าข้ามร่วมใจ ป้องกันโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าข้าม

ศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลปะนาเระ

ตำบลท่าข้าม อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยเฉพาะโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน นับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาวะสุขภาพของประชาชน และต้องเสียค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขในการรักษาเป็นจำนวนมาก โดยข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (WHO) พบว่าในประชากรอายุ 30-79 ปี ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง 1.3 พันล้านคน สำหรับประเทศไทยมีแนวโน้มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จากการสำรวจประชากรในปี 2562- 2563 พบว่าประชากรอายุ 18 ปีขึ้นไป เป็นโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 13 ล้านคน ในจำนวนนี้ 7 ล้านคน ไม่ทราบว่าตัวเองป่วย หากผู้ป่วยมีภาวะความดันโลหิตสูงเป็นระยะเวลานานและไม่ได้รับการรักษา ความรุนแรงของโรคจะเพิ่มขึ้น ทั้งนี้หากได้รับการรักษาตั้งแต่เริ้มต้น และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต จะสามารถควบคุมโรคได้ (ข้อมูลจาก: กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค วันที่17 พฤษภาคม 2565 ) สำหรับข้อมูลโรคเบาหวาน กรมควบคุมโรค ระบุว่าปีที่ผ่านมามีผู้ป่วยโรคเบาหวานทั่วโลก 537 ล้านคน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และคาดว่าในปี 2573 จะมีผู้ป่วยโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นเป็น 643 ล้านคน โรคเบาหวานมีส่วนทำให้เสียชีวิตสูงถึง 6.7 ล้านคน หรือเสียชีวิต 1 ราย ในทุกๆ 5 วินาที สำหรับประเทศไทยพบอุบัติการณ์โรคเบาหวานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้น 3 แสนคนต่อปี มีผู้ป่วยโรคเบาหวานในระบบทะเบียน 3.3 ล้านคนมีผู้เสียชีวิตจากโรคเบาหวานทั้งหมด 16,388 คน (ข้อมูลจาก : กองโรคไม่ติดต่อ /สำนักสื่อสารความเสี่ยงฯกรมควบคุมโรค วันที่13 พฤศจิกายน 2565 )
จากการดำเนินงานโรคไม่ติดต่อเรื้อรังตำบลท่าข้าม ปัจจุบันมีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานทั้งหมด จำนวน 239 คน และ104 คนตามลำดับ (ที่มา:ทะเบียนโรคเรื้อรังปี2565) การคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง เป้าหมาย 610 คน ได้รับการคัดกรอง 552 คน เป็นกลุ่มเสี่ยงจำนวน 158 คน สงสัยป่วย 13 คน ได้รับการวินิจฉัยป่วยรายใหม่ 4 คน การคัดกรองโรคเบาหวานเป้าหมาย 821 คน ได้รับการคัดกรอง 758 คน เป็นกลุ่มเสี่ยง 372 คน สงสัยป่วย 5 คน (ที่มา:HDC 30 กันยายน 2565 ) นอกจากนี้จากการลงพื้นที่ติดตามกลุ่มสงสัยโรคเบาหวานปฏิเสธการพบแพทย์ จำนวน 3 คน และสามารถติดตามมาพบแพทย์และวินิจฉัยโรคเบาหวานแล้ว1 คน และในปี2566 อยู่ระหว่างดำเนินการคัดกรองและติดตามกลุ่มสงสัยป่วยมาพบแพทย์
ศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลปะนาเระ เห็นความสำคัญของการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน การส่งเสริมให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน สามารถดูแลตนเองได้ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้กลุ่มเสี่ยงและสงสัยป่วย ตลอดจนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองได้อย่างเหมาะสม ป้องกันการเกิดโรครายใหม่ ช่วยลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง และลดอัตราตายในกลุ่มป่วยเน้นการเพิ่มศักยภาพของชุมชน ในการจัดการสุขภาพตามวิถีชีวิตและบริบทชุมชน จึงได้จัดโครงการชาวท่าข้ามร่วมใจ ป้องกันภัยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 20
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2023

กำหนดเสร็จ 31/08/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ฝึกปฏิบัติการวัดความดันโลหิต ฝึกปฏิบัติการตรวจน้ำตาลในเลือด ติดตามเยี่ยมบ้านกลุ่มเสี่ยง

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 11,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนเป้าหมายเห็นความสำคัญและเข้าถึงการบริการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานเพิ่มมากขึ้น
2.กลุ่มเสี่ยง/สงสัยป่วยความดันโลหิตสูง เบาหวาน ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3อ. 2ส. และสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตสูง ระดับน้ำตาลในเลือดได้ และได้รับการดูแลติดตามอย่างต่อเนื่อง และส่งต่ออย่างเหมาะสมตามมาตรฐานวิชาชีพ


>