กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลาโละ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม พิชิตความดันเบาหวาน ด้วยวิถีมุสลิม บ้านพงยือติ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลาโละ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านอูยิ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านอูยิ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

กระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายเร่งรัดระบบการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้ทัดเทียมกับพื้นที่อื่นๆปัจจุบันโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ถือเป็นโรคที่เป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขอย่างหนึ่งที่มีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกภาคส่วนโดยเฉพาะทีมงานสาธารณสุขร่วมกับภาคประชาชน และกลุ่มแกนนำต่างๆต้องร่วมกันดูแลสุขภาพตนเองให้ห่างไกลจากอุบัติการณ์ ของโรคไม่ติดต่อหรือโรคที่เกิดจากพฤติกรรม โดยเฉพาะการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน ซึ่งต้องได้รับการควบคุม เพราะถ้าหากปล่อยให้โรคดังกล่าวเรื้อรังอยู่นานๆโดยไม่ได้รับการรักษามักจะเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆตามมา เช่น โรคหัวใจ โรค ไต ตา เท้า หลอดเลือดสมอง เป็นต้น จะเกิดขึ้นรุนแรง หรือรวดเร็วเพียงใดขึ้นอยู่กับความรุนแรงและระยะของโรค
บ้านพงยือติ หมู่ที่ 9 ตำบลลาโละ อำเภอรือเสาะ มีจำนวนประชากร 491 คน จำนวน 108 หลังคาเรือน มีประชาชนกลุ่มเสี่ยงด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง อายุ 35 ปี ขึ้นไป 187 ราย ได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 172 ราย คิดเป็นร้อยละ 91.98 คัดกรองโรคเบาหวานจำนวน 172 ราย คิดเป็นร้อยละ 91.98 พบว่ามีประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูงต่อโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 41 ราย และประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูงต่อโรคเบาหวานจำนวน 9 ราย มีผู้ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน จำนวน 25 ราย โรคความดันโลหิสูง จำนวน19 รายโรคเบาหวานจำนวน๖ ราย ทั้งนี้เกิดจากผู้ป่วยมีการดูแลสุขภาพของตนเองทั้งด้านการบริโภค การออกกำลังกาย การจัดการด้านอารมณ์และการรับประทานยายังไม่เหมาะสมและถูกต้องอันเนื่องมาจากขาดความต่อเนื่องการติดตามและการดูแลของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ตลอดจนขาดการส่งเสริมให้ผู้ป่วยเกิดการพึ่งตนเองในการดูแลสุขภาพ ซึ่งถือเป็นกิจกรรมหนึ่งในการที่จะกระตุ้นให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถดูแลสุขภาพของตนเองได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมดังนั้นการส่งเสริมให้ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการแก้ไข้ปัญหาสุขภาพของชุมชนเอง เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะเสริมสร้างให้ชุมชนมีศักยภาพและมีความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยในชุมชน จากสภาพปัญหาดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านอูยิ ร่วมกับภาคีเครือข่าย แกนนำชุมชน ผู้นำศาสนา คณะกรรมการมัสยิด อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตัวแทนกลุ่มต่างๆ จากภาคประชาชน จึงได้จัดโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม พิชิตความดันเบาหวาน ด้วยวิถีมุสลิม บ้านพงยือติ ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชน ครอบครัวและชุมชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเองได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมและสามารถเป็นแบบบอย่างในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้หมู่บ้าน และชุมชนอื่นๆต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานมีความรู้ในการดูแลสุขภาพของตนเองได้อย่างถูกต้อง

ร้อยละประชาชนกลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานมีความรู้และสามารถดูแลสุขภาพของตนเองได้อย่างถูกต้อง

80.00
2 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยมีพฤติกรรมที่เหมาะสมในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงโรคเบาหวานและโรคแทรกซ้อนได้

ร้อยละประชาชนกลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยมีพฤติกรรมที่เหมาะสมในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงโรคเบาหวานและโรคแทรกซ้อน

50.00
3 มีหมู่บ้านตนแบบในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดเสี่ยง ลดโรค และภาวะแทรกซ้อนของโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานด้วยวิถีมุสลิม

มีหมู่บ้านตนแบบในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดเสี่ยง ลดโรค และภาวะแทรกซ้อนของโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานด้วยวิถีมุสลิม อย่างน้อย 1 หมู่บ้าน

100.00

กระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายเร่งรัดระบบการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้ทัดเทียมกับพื้นที่อื่นๆปัจจุบันโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ถือเป็นโรคที่เป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขอย่างหนึ่งที่มีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกภาคส่วนโดยเฉพาะทีมงานสาธารณสุขร่วมกับภาคประชาชน และกลุ่มแกนนำต่างๆต้องร่วมกันดูแลสุขภาพตนเองให้ห่างไกลจากอุบัติการณ์ ของโรคไม่ติดต่อหรือโรคที่เกิดจากพฤติกรรม โดยเฉพาะการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน ซึ่งต้องได้รับการควบคุม เพราะถ้าหากปล่อยให้โรคดังกล่าวเรื้อรังอยู่นานๆโดยไม่ได้รับการรักษามักจะเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆตามมา เช่น โรคหัวใจ โรค ไต ตา เท้า หลอดเลือดสมอง เป็นต้น จะเกิดขึ้นรุนแรง หรือรวดเร็วเพียงใดขึ้นอยู่กับความรุนแรงและระยะของโรค
บ้านพงยือติ หมู่ที่ 9 ตำบลลาโละ อำเภอรือเสาะ มีจำนวนประชากร ๔๙๑ คน จำนวน 108 หลังคาเรือน มีประชาชนกลุ่มเสี่ยงด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง อายุ 35 ปี ขึ้นไป 187 ราย ได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 172 ราย คิดเป็นร้อยละ 91.98คัดกรองโรคเบาหวานจำนวน 172 ราย คิดเป็นร้อยละ 91.98 พบว่ามีประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูงต่อโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 41 ราย และประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูงต่อโรคเบาหวานจำนวน 9 ราย มีผู้ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน จำนวน 25ราย โรคความดันโลหิสูง จำนวน 19รายโรคเบาหวานจำนวน6 ราย ทั้งนี้เกิดจากผู้ป่วยมีการดูแลสุขภาพของตนเองทั้งด้านการบริโภค การออกกำลังกาย การจัดการด้านอารมณ์และการรับประทานยายังไม่เหมาะสมและถูกต้องอันเนื่องมาจากขาดความต่อเนื่องการติดตามและการดูแลของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ตลอดจนขาดการส่งเสริมให้ผู้ป่วยเกิดการพึ่งตนเองในการดูแลสุขภาพ ซึ่งถือเป็นกิจกรรมหนึ่งในการที่จะกระตุ้นให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถดูแลสุขภาพของตนเองได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมดังนั้นการส่งเสริมให้ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการแก้ไข้ปัญหาสุขภาพของชุมชนเอง เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะเสริมสร้างให้ชุมชนมีศักยภาพและมีความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยในชุมชน จากสภาพปัญหาดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านอูยิ ร่วมกับภาคีเครือข่าย แกนนำชุมชน ผู้นำศาสนา คณะกรรมการมัสยิด อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตัวแทนกลุ่มต่างๆ จากภาคประชาชนบ้านพงยือติ จึงได้จัดโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม พิชิตความดันเบาหวาน ด้วยวิถีมุสลิม ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชน ครอบครัวและชุมชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเองได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมและสามารถเป็นแบบบอย่างในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้หมู่บ้าน และชุมชนอื่นๆต่อไป

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 75
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการแก่กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการแก่กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าประชุมจำนวน75 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน3,750 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าประชุม จำนวน 75 คนๆ ละ 2 มื้อๆ ละ 25 บาทเป็นเงิน3,750 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7500.00

กิจกรรมที่ 2 จัดเวทีแลกเปลี่ยนรู้แก่กลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน

ชื่อกิจกรรม
จัดเวทีแลกเปลี่ยนรู้แก่กลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าประชุมจำนวน75 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน3,750 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าประชุม จำนวน 75 คนๆ ละ 2 มื้อๆ ละ 25 บาทเป็นเงิน3,750 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานมีความรู้ ความเข้าใจและสามารถดูแลสุขภาพของตนเองได้อย่างถูกต้อง
2. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือด มีพฤติกรรมที่เหมาะสมในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงโรคเบาหวานและโรคแทรกซ้อน
3..มีหมู่บ้านตนแบบในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดเสี่ยง ลดโรค และภาวะแทรกซ้อนของโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานด้วยวิถีมุสลิม


>