กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แป้น

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการรณรงค์กำจัดหนูนาป้องกันโรคฉี่หนูตำบลแป้น อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี ปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แป้น

คณะกรรมการหมู่บ้าน หมู่ที่ 6 บ้านแป้น

ณ ศาลาพ้อ หมู่ที่ 6 บ้านแป้น ตำบลแป้น อำเภอสายบุรี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ตามสถานการณ์โรคติดต่อในพื้นที่ตำบลแป้น อำเภอสายบุรี พบว่าด้วยลักษณะภูมิประเทศ ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบลุ่ม การใช้ประโยชน์ที่ดินส่วนมากจะใช้ปลูกพืชยืนต้น เช่น ยางพารา ไม้ผล เกษตรกรรม ทำนา ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ในพื้นที่ ประกอบอาชีพเกษตรกรรมทำนา ซึ่งมีปัญหาสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรค คือ หนูนาที่มีจำนวนมาก อาจทำให้เกิดโรคฉี่หนูได้ และที่ผ่านมาในต้นปี พ.ศ. 2566 ประชาชนในตำบลแป้นมีคนเป็นโรคฉี่หนูแล้วจำนวน 1 ราย (ข้อมูลจาก รพ.สต.แป้น 27 กุมภาพันธ์ 2566) ซึ่งประชาชนในพื้นที่ตำบลแป้นส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเสี่ยง คือกลุ่มเกษตรกรที่ทำนา ทำสวน อีกทั้งการมีหนูนาจำนวนมาก สร้างปัญหาให้กับชุมชนตำบลแป้น สร้างความเสียหายแก่พืชผลทางการเกษตร เช่น ข้าว ปาล์มน้ำมัน ดังนั้นคณะกรรมการหมู่บ้าน หมู่ที่ 6 บ้านแป้นจึงเห็นสมควรให้มีการควบคุมป้องกันโรคฉี่หนู โดยการให้ความรู้ การรณรงค์กำจัดหนูนาในชุมชน รวมทั้งเพื่อใช้ภูมิปัญญาชุมชนนำหนูนาทำเมนูอาหารสุขภาพ ลดปัญหาโภชนาการในเด็กและคนมีปัญหาทุพโภชนการในชุมชน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1. เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ตำบลแป้น มีความรู้เรื่องการป้องกันและควบคุมโรคฉี่หนู
2. มีแผนและกิจกรรมป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคฉี่หนูในประชาชนในตำบลแป้น
3. เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงและกำจัดสัตว์นำโรคในพื้นที่น้ำขัง ทุ่งนา หมู่ 5 หมู่ 6 หมู่ 7 และหมู่ 8 ตำบลแป้น

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 200
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2023

กำหนดเสร็จ 31/03/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 รณรงค์กำจัดหนูนาป้องกันโรคฉี่หนูตำบลแป้น อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี ปี 2566

ชื่อกิจกรรม
รณรงค์กำจัดหนูนาป้องกันโรคฉี่หนูตำบลแป้น อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี ปี 2566
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. จัดประชุมให้ความรู้เรื่องโรคฉี่หนู
    • ค่าตอบแทนวิทยากร 600 บาท * 2 ชั่วโมง 3 คนเป็นเงิน3,600 บาท
    • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อๆ ละ 50 บาท × 200 คนเป็นเงิน10,000บาท
    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม มื้อๆ ละ 25 บาท× 2 มื้อ× 200 คนเป็นเงิน10,000บาท
  2. ค่าตอบแทนการกำจัดสัตว์พาหะนำโรค หนูตัวละ 8 บาท และหางหนู หางละ 5 บาท เป็นเงิน15,400 บาท
  3. ค่าสนับสนุนการจัดบูธ ประกวดนวัตกรรมการป้องกันโรคฉี่หนู ตำบลแป้น3,000บาท
    • ชนะเลิศรางวัล1,000 บาท
    • รองชนะเลิศอันดับ 1 รางวัล800บาท
    • รองชนะเลิศอันดับ 2 รางวัล600บาท
    • รางวัลชมเชย 2 รางวัล ๆ ละ300 บาท
  4. ประกวดเมนูอาหารสุขภาพ จากหนูนา3,000บาท
    • ชนะเลิศรางวัล1,000 บาท
    • รองชนะเลิศอันดับ 1 รางวัล800บาท
    • รองชนะเลิศอันดับ 2 รางวัล600บาท
    • รางวัลชมเชย 2 รางวัล ๆ ละ300 บาท
  5. ค่าจัดทำป้ายไวนิลโครงการจำนวน 1 ป้ายเป็นเงิน1,000บาท
  6. ค่าเครื่องเสียงและการจัดเวที โต๊ะ เต้นท์เป็นเงิน4,000บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 50,000บาท(เงินห้าหมื่นบาทถ้วน)
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 31 มีนาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
50000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 50,000.00 บาท

หมายเหตุ :
ค่าใช้จ่ายทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ไม่มีผู้ป่วยด้วยโรคฉี่หนู ในประชาชนทั่วไปในตำบลแป้น
2. ลดจำนวนประชากรหนูนา ในพื้นที่ทุ่งนาที่สร้างความเสียหายต่อผลผลิตทางการเกษตร
3. เกิดความรัก ความสามัคคีที่ดีต่อกัน ในชุมชนตำบลแป้น


>