กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลำใหม่

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันและลดความเสี่ยงเด็กจมน้ำ (ทีมผู้ก่อการดี) ประจำปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลำใหม่

สำนักปลัด อบต.ลำใหม่

ณ สระว่ายน้ำ ศูนย์ปฏิบัติการสำนักงานตำรวจแห่งชาติส่วนหน้า (ศปก.ตร.สน) จังหวัดยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สถานการณ์ในปัจจุบันของประเทศไทยพบว่าการจมน้ำเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของเด็กไทยที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี จากข้อมูลของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พบว่าระบบรายงานผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากการจมน้ำ Drowning Report กองป้องกันการบาดเจ็บ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 14 กันยายน 2565 มีรายงานเหตุการณ์การจมน้ำ จำนวน 184 เหตุการณ์ โดยผู้เสียชีวิตทั้งหมด 174 ราย พบมากในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี แหล่งน้ำที่เกิดเหตุการณ์ เช่น คลอง แม่น้ำ แหล่งน้ำที่ใช้ในเกษตรกรรม ทะเล สระว่ายน้ำ ตามลำดับ ส่วนปัจจัยที่ทำให้เสียชีวิตจากการจมน้ำ ได้แก่ ว่ายน้ำไม่เป็น ไม่มีทักษะการเอาชีวิตรอด ลงเล่นน้ำโดยไม่แจ้งผู้ปกครองดูแลใกล้ชิดตลอดเวลา ไม่มีป้ายเตือน ไม่มีสิ่งกีดขวาง โดยเฉพาะช่วงปิดเทอมผู้ปกครองส่วนใหญ่จะให้พี่ดูแลน้องหรือผู้สูงอายุดูแลเด็ก และมักจะพบว่าในช่วงปิดภาคเรียน (มีนาคม-พฤษภาคม) ของทุกปี เป็นช่วงที่มีสถิติเด็กจมน้ำมากที่สุด

สำหรับพื้นที่ในเขตรับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลลำใหม่ ถึงแม้จะไม่มีการเกิดเหตุเด็กจมน้ำเสียชีวิตในปีที่ผ่านมา แต่จากสภาพของพื้นที่ในแต่ละชุมชนซึ่งมีแหล่งน้ำที่อาจจะทำให้เกิดเหตุได้นั้น ดังนั้นเพื่อให้เด็กในพื้นที่มีทักษะในการว่ายน้ำ การเอาตัวรอดในขณะกำลังจมน้ำ การช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำอย่างถูกต้องและปลอดภัย สำนักปลัด อบต.ลำใหม่ เสนอโครงการป้องกันและลดความเสี่ยงเด็กจมน้ำ (ทีมผู้ก่อการดี) ประจำปี 2566 เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ เพื่อดำเนินการจัดทำโครงการดังกล่าว ต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อป้องกันปัญหาเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี เสียชีวิตจากการจมน้ำ

ร้อยละ 100 ของเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ไม่เสียชีวิตจากการจมน้ำ

0.00
2 เพื่อให้เด็กกลุ่มเสี่ยงมีทักษะการว่ายน้ำ และทักษะในการเอาตัวรอดในน้ำ

เด็กกลุ่มเสี่ยงมีทักษะการว่ายน้ำ และทักษะในการเอาตัวรอดในน้ำ ร้อยละ 90

0.00
3 เพื่อให้ทีมผู้ก่อการดีเป็นเครือข่ายในการป้องกันและช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำ

ร้อยละ 100 ของทีมผู้ก่อการดีเป็นเครือข่ายในการป้องกันและช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำได้

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 20
กลุ่มวัยทำงาน 10
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 17/04/2023

กำหนดเสร็จ 31/07/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมบรรยายให้ความรู้ และฝึกปฏิบัติ

ชื่อกิจกรรม
อบรมบรรยายให้ความรู้ และฝึกปฏิบัติ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.อบรมให้ความรู้ -การปฐมพยาบาลและการช่วยเหลือคนจมน้ำเบื้องต้น - สาธิตการปฐมพยาบาลคนจมน้ำ (กรณียังมีชีพจร) - สาธิตการปฐมพยาบาลคนจมน้ำ (กรณีไม่มีชีพจร) - ช่องทางการแจ้งเหตุ

ค่าใช้จ่าย :
-ค่าป้ายโครงการ ขนาด 1 X 3 เมตร จำนวน 1 ผืน เป็นเงิน 1,050 บาท

-ค่าวัสดุอุปกรณ์การฝึกอบรม (สมุด ปากกา ประเป๋าเอกสาร) จำนวน 30 ชุดๆ ละ 80 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท

-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (ผู้เข้าอบรม/จนท.โครงการ/วิทยากร) จำนวน 34 คนๆ ละ 30 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 1,020 บาท

-ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดิ่ม (ผู้เข้าอบรม/จนท.โครงการ/วิทยากร) จำนวน 34 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 60 บาท เป็นเงิน 2,040 บาท

-ค่าวิทยากร (ภาคทฤษฎี) จำนวน 3 ชม.ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท

2.ภาคปฏิบัติ - ฝึกทักษะการลอยตัวในน้ำ - การหาสิ่งช่วยชีวิตที่มีอยู่รอบตัว - การเข้าช่วยเหลืออย่างถูกวิธี (ตะโกน โยน ยื่น)

-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (ผู้เข้าอบรม/จนท.โครงการ/วิทยากร) จำนวน 35 คนๆ ละ 30 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 1,050 บาท

-ค่าวิทยากร (ภาคปฏิบัติ) จำนวน 2 คน / 2 ชม.ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท

-ค่าป้ายแจ้งเตือนการลงเล่นน้ำในแหล่งน้ำที่เสี่ยงพร้อมโครงป้าย (ขนาด 1*1 เมตร /เสาสูง 2 เมตร) จำนวน 5 ป้ายๆ ละ 857 บาท เป็นเงิน 4,285 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
13 มีนาคม 2566 ถึง 31 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16045.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 16,045.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ลดปัญหาเด็กกลุ่มเสี่ยง (อายุต่ำกว่า 15 ปี) เสียชีวิตจากการจมน้ำ
2.เด็กกลุ่มเสี่ยงมีทักษะการว่ายน้ำและทักษะในการเอาชีวิตรอดในน้ำ
3.ทีมผู้ก่อการดีเป็นเครือข่ายในการป้องกันและช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำ


>