กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แนวทางดำเนินงาน/วิธีการสำคัญ

stars
แนวทางดำเนินงาน : การพัฒนาทักษะส่วนบุคคล
label_important
วิธีการสำคัญ
1. สร้างการสื่อสารในช่องทางต่าง ๆ หลากหลายรูปแบบ ที่สอดคล้องกับวัยและวิถีการทำงานของกลุ่มอาชีพต่างๆ เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจเรื่องสุขภาพจิต การส่งเสริมสุขภาพจิต การคัดกรองเบื้องต้นทางสุขภาพจิต การรับคำปรึกษา เช่น เสียงตามสายส่งเสริมสุขภาพจิตในชุมชน วิทยุท้องถิ่น คลิปสั้น
2. เผยแพร่ช่องทางการเข้าถึงแหล่งช่วยเหลือด้านสุขภาพจิตให้ทุกคนเข้าถึงได้
3. เสริมทักษะการตรวจเช็คตัวเองด้านสุขภาพจิต ทักษะการจัดการความเครียด การให้คำปรึกษา การเสริมพลังสุขภาพจิต
4. รณรงค์ลดการใช้แอลกอฮอล์และสารออกฤทธิ์ทางประสาทที่เป็นอันตรายในชุมชน
5. การให้ความรู้ครอบครัว ชุมชนในการส่งเสริมสุขภาพจิตคู่ชีวิต และลูกหลาน การป้องกันการใช้ความรุนแรงในครอบครัว ในผู้หญิงและเด็ก
6. ให้ความรู้ครูในการส่งเสริมสุขภาพจิต การงดใช้ความรุนแรงในโรงเรียนทุกรูปแบบ ทั้งการทำโทษ การทะเลาะเบาะแว้งในกลุ่มนักเรียน
7. พัฒนาเนื้อหาในหลักสูตรของโรงเรียน ในการฝึกทักษะชีวิตและบูรณาการพลังสุขภาพจิตในหลักสูตรของโรงเรียน
8. เพิ่มกิจกรรมและการเรียนรู้แก่ผู้สูงอายุ และผู้ดูแลเพื่อป้องกันและจัดการภาวะสมองเสื่อม
stars
แนวทางดำเนินงาน : การเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็ง
label_important
วิธีการสำคัญ
1. พัฒนาศักยภาพชุมชนในการเก็บข้อมูล ใช้ข้อมูล วางแผน พัฒนาโครงการเพื่อส่งเสริมสุขภาพจิต
2. ค้นหาผู้ที่มีความผิดปกติทางสุขภาพจิตและให้การช่วยเหลือตั้งแต่เนิ่นๆ ได้แก่ ความเครียด ความสุข พลังสุขภาพจิต การเบื่อหน่ายหมดไฟ โรคซึมเศร้า การเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย
3. เสริมความตระหนักความเข้าใจทางด้านสุขภาพจิตเพื่อลดการตีตราและการ เลือกปฏิบัติต่อบุคคลและครอบครัวที่มีความผิดปกติทางจิต
4. ส่งเสริมและเพิ่มโอกาสในการเข้าสังคมแก่ผู้ที่มีความผิดปกติทางจิต
5. เน้นการเสริมพลังชุมชนให้มีความรอบรู้ด้านสุขภาพจิต การดูแลเบื้องต้น และ การส่งต่อในเครือข่าย
stars
แนวทางดำเนินงาน : การสร้างสภาพแวดล้อมเอื้อที่ต่อสุขภาพจิต
label_important
วิธีการสำคัญ
1. จัดที่พักผ่อนในหน่วยงาน สถานประกอบการ และในชุมชน
2. จัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพจิตในหน่วยงาน สถานประกอบการ และในชุมชน เช่น การจัดแข่งกีฬา การจัดงานสังสรรค์วันปีใหม่ การจัดงานประเพณีสงกรานต์ การจัดเต้นลีลาศเพื่อสุขภาพ การจัดร้องเพลงคาราโอเกะ
3. ใช้ศิลปะ ดนตรี เพื่อส่งเสริมสุขภาพจิต เช่น ดนตรีในสวน ศิลปะในสวน นิทรรศการศิลปะเพื่อสุขภาพจิต
4. นำโปรแกรมการส่งเสริมและดูแลสุขภาพจิตไปใช้ในที่ทำงาน ทำให้เกิดองค์กรแห่งความสุข
5. ลดการใช้สารเคมี เพื่อป้องกันการเป็นพิษต่อระบบประสาท การทำร้ายตัวเอง และการฆ่าตัวตาย
stars
แนวทางดำเนินงาน : การพัฒนานโยบายสาธารณะ
label_important
วิธีการสำคัญ
1. กำหนดข้อตกลงร่วมกันในชุมชนในการไม่ล้อเลียนหรือตีตราผู้มีปัญหาทางด้านสุขภาพจิต
2. กำหนดนโยบายองค์กรเอกชนและในชุมชน ให้มีระบบการให้คำปรึกษา การส่งต่อช่วยเหลือผู้มีปัญหาทางสุขภาพจิต และการสร้างสภาพแวดล้อมและบรรยากาศที่เอื้อต่อสุขภาพจิตที่ดี เช่น ห้องพักผ่อน ห้องน้ำชาในที่ทำงาน ห้อง ออกกำลังกาย สวนพักผ่อน
stars
แนวทางดำเนินงาน : การปรับระบบ กลไก และกระบวนการ
label_important
วิธีการสำคัญ
1. พัฒนาแกนนำในชุมชน เพื่อถ่ายทอดและเป็นผู้นำเรื่องสุขภาพจิต การให้คำปรึกษา ทักษะเบื้องต้นในการดูแลผู้มีปัญหาทางสุขภาพจิต การคัดกรองการเจ็บป่วยทางจิตและการส่งต่อที่เหมาะสม
2. การเปิดสายด่วนให้คำปรึกษาเมื่อมีเรื่องไม่สบายใจโดยอาสาสมัคร พยาบาลเกษียณ สำหรับประชาชนทั่วไปที่ต้องการคำปรึกษา
3. สร้างเครือข่าย องค์กร หน่วยงานต้นแบบให้มีความสามารถในการขับเคลื่อนงานด้านสุขภาพจิต
4. เปลี่ยนระบบการดูแลสุขภาพจิตจากเชิงสถาบันเป็นพื้นที่ของชุมชน เน้นการเสริมพลังชุมชนให้มีความรอบรู้ด้านสุขภาพจิต การดูแลเบื้องต้น และการส่งต่อในเครือข่าย
5. พัฒนาระบบการส่งต่อปัญหาสุขภาพจิตในชุมชน ระบบการฝึกการช่วยเหลือเบื้องต้นผู้มีปัญหาทางสุขภาพจิตสำหรับอาสาสมัคร ระบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชฉุกเฉินสำหรับ อสม., รพ.สต. ระบบการให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิต ทั้งออนไลน์และออนไซต์
6. พัฒนาระบบ เพื่อนช่วยเพื่อน สำหรับเยาวชน 16-25 ปี ในการให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิตและยาเสพติด ความรอบรู้ด้านสุขภาพจิต แหล่งการให้การช่วยเหลือ และส่งต่อ
7. จัดตั้งเครือข่ายสุขภาพจิตภาคประชาชนและองค์กรต่างๆในชุมชนในการให้คำปรึกษาปัญหาสุขภาพจิต
8. พัฒนาเครือข่ายสุขภาพจิตในชุมชน ให้สถาบันวิชาการบูรณาการร่วมมือกับสถาบัน ให้บริการทางสุขภาพจิต สนับสนุนการทำงานด้านสุขภาพจิตสำหรับหน่วยงาน ในท้องถิ่น เช่น รพ.สต. หน่วยงานบริการสุขภาพของท้องถิ่น อปท.
stars
แนวทางดำเนินงาน : การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการระบบอาหารในชุมชน
label_important
วิธีการสำคัญ
• การเพิ่มที่ผลิตอาหารในบ้าน โรงเรียน หรือสถานที่สาธารณะในชุมชน
• การใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการเพิ่มพื้นที่อาหารปลอดภัยในระดับครัวเรือน /ชุมชน หน่วยงานเช่นโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
• การเพิ่มพื้นที่เกษตรอินทรีย์หรือเกษตรปลอดภัยในชุมชน
• การปรับงานอนามัยสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำเนินงานอาหารปลอดภัยและสุขาภิบาลอาหาร
• การใช้บริบท วัฒนธรรม ภูมิปัญญาทางด้านอาหาร เพื่อการจัดการระบบอาหารในชุมชน
• การทำระบบกระจาย หรือเชื่อมโยงผลผลิต (matching model) โดยการเชื่อมโยงอาหารจากผู้ผลิตไปยังหน่วยงานเช่น โรงเรียน ศูนย์เด็กเล็ก ร้านอาหาร หรือผู้บริโภค

วิธีการ

1. การส่งเสริมให้สมาชิกในชุมชนปลูกพืชผักสวนครัวรั้วกินได้ หรือการส่งเสริมการทำสวนผักในเมืองในพื้นที่ๆ เป็นชุมชนเมือง เพื่อเพิ่มการเข้าถึงอาหารปลอดภัยแก้ปัญหาอาหารโภชนาการและอาหารปลอดภัย
2. ส่งเสริมการทำเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน ในโรงเรียนเพื่อแก้ปัญหาการขาดอาหาร เช่นการปลูกผัก นาข้าว การเลี้ยงไก่ไข่ เลี้ยงปลา ฯลฯ
3. ส่งเสริมการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรอินทรีย์มาใช้ในระบบอาหารของครัวเรือน ชุมชน
4. การใช้เมนูอาหารที่เหมาะสมกับทุกช่วงวัยในศูนย์เด็กเล็ก โรงเรียน และชุมชน
5. การปรับปรุงสุขาภิบาลอาหารในโรงครัว โรงเรียน/ศูนย์เด็กเล็ก/ร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหารในพื้นที่
6. การพัฒนาตลาด (ตลาดปลอดภัย/ตลาดสีเขียว/ตลาดอินทรีย์/ตลาดน่าซื้อ ตลดออนไลน์ ฯลฯ ของชุมชน)
7. การส่งเสริมการบริโภคโดยใช้เมนูอาหารพื้นบ้าน เมนูอาหารเป็นยา เมนูชูสุขภาพ ผักสมุนไพรเพื่อสุขภาพ เพื่อการส่งเสริมป้องกันโรค
stars
แนวทางดำเนินงาน : การพัฒนาทักษะส่วนบุคคล
label_important
วิธีการสำคัญ
• การพัฒนาศักยภาพของคนในชุมชน ให้มีความรู้ ทักษะ ความสามารถในการจัดการอาหารในชุมชน
• การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคตามกลุ่มวัย (วัยเด็ก/วัยเรียน.วันทำงาน/วัยสูงอายุ)

วิธีการ

1. การพัฒนาศักยภาพครู ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็ก ด้านอาหารในโรงเรียนและชุมชน เช่นการอบรมโปรแกรม Menu Thai School Lunch
2. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคในกลุ่มเป้าหมายที่มีปัญหาเช่น เด็ก/ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง/ผู้สูงอายุ ฯลฯ เช่น การส่งเสริมการบริโภค ผัก ผลไม้
3. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคในครัวเรือน /โรงเรียน/ศูนย์เด็กเล็ก และชุมชน เช่น ลด หวาน มัน เค็ม ลดการบริโภคน้ำหวานน้ำอัดลม
4. การฝึกทักษะการปรุง การใช้ตำรับอาหารพื้นบ้านที่เป็นยา อาหารเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ
5. การสร้างบุคคล ครัวเรือน ต้นแบบ (Role model)
6. การส่งเสริมความรอบรู้เรื่องสุขภาพ (Health literacy) ความรอบรู้เรื่องอาหาร (food literacy)
stars
แนวทางดำเนินงาน : การปรับระบบ กลไก
label_important
วิธีการสำคัญ
• การพัฒนาระบบเฝ้าระวังเรื่องการจัดการอาหารในชุมชน
• การพัฒนาระบบคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหาร
• การจัดตั้งชมรม กลุ่ม เครือข่ายต่างๆ ในชุมชนเพื่อการจัดการอาหาร
• การใช้กลไกคณะกรรมการอาหารปลอดภัยระดับจังหวัดในการดำเนินงานอาหารปลอดภัย

วิธีการ

1. การพัฒนาระบบการจัดการข้อมูลภาวะโภชนาการในศูนย์เด็กเล็กและในโรงเรียน
2. การใช้โปรแกรม Menu Thai School Lunch เพื่อจัดการอาหารในศูนย์เด็กเล็กและโรงเรียน
3. การติดตามภาวะโภชนาการของคนในชุมชน โดยเฉพาะ กลุ่มเด็กและผู้สูงอายุ
4. การสนับสนุนชมรม กลุ่ม เครือข่ายต่างๆ ในชุมชนเพื่อการจัดการอาหาร เช่น กลุ่มเกษตรกรปลอดสารพิษ.เกษตรอินทรีย์ กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มเครื่องแกง กลุ่มสัจจะออมทรัพย์ ฯลฯ
stars
แนวทางดำเนินงาน : การเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชน
label_important
วิธีการสำคัญ
• ชุมชนสามารถจัดการข้อมูลอาหารและโภชนาการได้
• ชุมชนสามารถจัดทำแผนชุมชนด้านระบบอาหารแบบมีส่วนร่วม ตั้งแต่การจัดทำข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล จัดเวทีคืนข้อมูล กำหนดแผนงาน โครงการร่วมกัน ปฏิบัติร่วมกัน และร่วมติดตามประเมินผล

วิธีการ

1. พัฒนาแกนนำและผู้ที่เกี่ยวข้อง ให้สามารถเก็บข้อมูล การจัดทำข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล จัดเวทีคืนข้อมูล
2. การทำแผนชุมชน การทำแผนท้องถิ่น การจัดทำโครงการหรือกิจกรรมร่วมกับชุมชน
3. สนับสนุนให้ชุมชนที่ส่วนร่วมในการทำกิจกรรมเพื่อการมีและเข้าถึงอาหาร ทำให้มีอาหารปลอดภัยบริโภค และบริโภคที่ถูกต้อง มีโภชนาการที่สมวัย
stars
แนวทางดำเนินงาน : การพัฒนานโยบายสาธารณะด้านอาหารในชุมชน
label_important
วิธีการสำคัญ
• เกิดธรรมนูญสุขภาพ เรื่องระบบอาหาร
• เกิดกติกาหรือข้อตกลงร่วมเรื่องระบบอาหาร
• เกิดมาตรการของชุมชนและท้องถิ่นเรื่องระบบอาหาร

วิธีการ

1. การกำหนดนโยบายชุมชนเรื่องการไม่ขายเครื่องดื่มน้ำหวาน ขนมขบเคี้ยวในบริเวณ ใกล้หรือในศูนย์เด็กเล็กและโรงเรียน
2. นโยบายชุมชนปลอดน้ำอัดลม เหล้า สุรา ในงานเลี้ยง งานบุญ งานประเพณี
3. ข้อตกลงชุมชนให้คนในชุมชนปลูกผักปลอดสารพิษไว้รับประทานเองในครัวเรือน
4. การกำหนดมาตรการ ข้อตกลงร่วม กฏ กติกาของชุมชน ในการลดการใช้สารเคมีในภาคเกษตร
5. การกำหนดมาตรการ ข้อตกลงร่วม กฏ กติกาของชุมชน ในการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ ที่เป็นแหล่งอาหารของชุมชน
6. นโยบายบายการนำอาหารสุขภาพไปถวายพระ (ปิ่นโตเพื่อสุขภาพ)
7. การส่งเสริมให้เกิดธรรมนูญลุ่มน้ำ ธรรมนูญป่าชุมชน เพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ