กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะลุโบะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอาหารปลอดภัยในเดือนรอมฎอนตำบลตะลุโบะ ปีงบประมาณ 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะลุโบะ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะลุโบะ

ตำบลตะลุโบะ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

อาหารเป็นหนึ่งในปัจจัยที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตการบริโภคอาหารที่ไม่สะอาดเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคภัยไข้เจ็บ โดยมีเชื้อโรคและสารปนเปื้อนหลายชนิดที่เป็นอันตรายถึงชีวิต หลักสำคัญในการเลือกรับประทานอาหารนอกเหนือจากรสชาติอาหารแล้วสิ่งที่ต้องคำนึงและพิจารณาควบคู่ไปด้วย คือ คุณค่าตามหลักโภชนาการคุณภาพความสะอาดและปราศจากสารปนเปื้อน การบริโภคอาหารเพื่อให้ได้อาหาร ที่สะอาดปลอดภัยมีคุณค่าตามหลักโภชนาการและปราศจากสารปนเปื้อนนั้นจำเป็นต้องมีระบบการดูแลควบคุมตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหารทุกกระบวนการฉะนั้นเพื่อให้ประชาชนสามารถจัดหาอาหารที่สะอาดปลอดภัยมาบริโภคได้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงจำเป็นต้องมีระบบการดูแลควบคุมตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหาร และดำเนินการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่วไปสามารถรับทราบข้อมูลและเข้าถึงการบริโภคอาหารที่สะอาดและปลอดภัยได้
เดือนรอมฎอนเป็นเดือนแห่งการถือศีลอดมีจุดมุ่งหมายเพื่อแสดงออกถึงความศรัทธา ซื่อสัตย์ มุ่งหวังความใกล้ชิดกับองค์อัลเลาะห์ และเป็นการย้ำเตือนให้ชาวมุสลิมระลึกถึงความลำบากของบุคคลที่ด้อยโอกาสกว่า ดังนั้นในเดือนนี้มุสลิมจะถือศีลอด โดยการไม่รับประทานอาหาร เริ่มตั้งแต่แสงอรุณของวันใหม่ขึ้นไปจนพระอาทิตย์ลับขอบฟ้าตลอดทั้งเดือนรอมฎอน และสิ่งสำคัญในการละศีลอดก็คือ เรื่องอาหาร ที่จะบริโภคจะมีการจำหน่ายอาหารอย่างมากมาย แผงจำหน่ายอาหารจึงเป็นสถานที่จำหน่ายอาหารที่ประชาชนทั่วไป นิยมหาซื้ออาหารปรุงสำเร็จมาบริโภค เนื่องจากมีความสะดวก รวดเร็ว และมีราคาประหยัด ซึ่งอาหารเหล่านั้น อาจมีการปนเปื้อนจากเชื้อโรคและสิ่งสกปรก ก่อให้เกิดโรคแก่ผู้บริโภคได้ ดังนั้น เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับประทานอาหารที่สะอาด และปลอดภัย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะลุโบะ จึงได้จัดทำอาหารปลอดภัยในเดือนรอมฎอน ตำบลตะลุโบะ ปีงบประมาณ ๒๕๖๖ ขึ้นเพื่อเป็นการเฝ้าระวังและประกันคุณภาพของอาหาร และเป็นการพัฒนาสร้างความรู้แก่ผู้ประกอบการและผู้บริโภคให้ตระหนักถึงความสำคัญของการเลือกซื้ออาหารที่เหมาะสมอันจะส่งผลให้ประชาชนได้บริโภคอาหารที่สะอาดและปลอดภัย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ประกอบจำหน่ายอาหารในเดือนรอมฏอนมีความรู้เรื่องสุขาภิบาลอาหาร และตระหนักถึงพิษภัยของสารปนเปื้อนในอาหาร

ร้อยละ 80 ผู้ประกอบการมีความรู้เรื่องสุขาภิบาลอาหาร และตระหนักถึงพิษภัยของสารปนเปื้อนในอาหาร

0.00 80.00
2 เพื่อตรวจประเมินมาตรฐานแผงจำหน่ายอาหารในเดือนรอมฏอนให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานแผง จำหน่ายอาหาร

ร้อยละ 70 แผงจำหน่ายอาหารในเดือนรอมฏอนในพื้นที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน

0.00 70.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 40
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารในเดือนรอมฏอน

ชื่อกิจกรรม
อบรมผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารในเดือนรอมฏอน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าอบรม จำนวน ๔0
    คนๆละ 50.-บาท  จำนวน 1 มื้อ      เป็นเงิน ๒,0๐0.-บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าอบรมร้านอาหารและแผงจำหน่ายอาหาร จำนวน ๔๐ คนๆละ  35.-บาท  จำนวน  2 มื้อ                            เป็นเงิน 2,๘๐0.-บาท
  • ค่าชุดทดสอบตรวจหาโคลิฟอร์มแบคทีเรีย SI-2
    จำนวน ๖ ชุด ชุดละ ๑,๐00  บาท   เป็นเงิน ๖,๐๐0.-บาท
  • ค่าคู่มือผู้ประกอบการจำหน่ายอาหาร ในเดือนรอมฏอน จำนวน  ๔๐ ชุดๆละ ๕0.-บาท        เป็นเงิน ๒,๐๐0.-บาท
  • ค่าไวนิลขนาด ๑ x ๓ เมตร          เป็นเงิน 900.-บาท
  • ค่าป้ายอาหารปลอดภัย จำนวน 40 ป้ายๆละ 1๕0 บาท                                              เป็นเงิน ๖,0๐0.-บาท รวมเป็นเงิน 19,700-บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้เกี่ยวกับสุขาภิบาลอาหารและพิษภัยของสารปนเปื้อนในอาหาร

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
19700.00

กิจกรรมที่ 2 ตรวจบ้านและแผงผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารในเดือนรอมฏอน

ชื่อกิจกรรม
ตรวจบ้านและแผงผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารในเดือนรอมฏอน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าวัสดุ เครื่องเขียนและอุปกรณ์ ในการตรวจบ้านและแผงผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารในเดือนรอมฎอน เป็นเงิน ๒,000.-บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับเจ้าหน้าที่และอสม. ที่ออกตรวจบ้านและแผงผู้ประกอบการจำหน่ายอาหาร ในเดือนรอมฏอน จำนวน 1๐ คนๆละ  35.-บาท  จำนวน 5 มื้อ  เป็นเงิน 1,750.-บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ประกอบการได้รับคำแนะนำในการประกอบอาหาร

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3750.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 23,450.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนในเขตพื้นที่เป้าหมายได้บริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัยปราศจากสารเคมีและสิ่งปนเปื้อน
2. แผงจำหน่ายอาหารในเดือนรอมฏอน ที่เข้าร่วมโครงการฯ มีการปรับปรุงและพัฒนาแผงจำหน่ายอาหารตนเองและประเมินผ่าน Clean Food Good Taste
3. เพื่อให้ผู้ประกอบการร้านอาหาร มีความเข้าใจในงานคุ้มครองผู้บริโภคและตระหนักถึงความปลอดภัยของบริโภค


>