แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลำใหม่
1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม
โครงการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุก เพื่อลดภาวะคลอดก่อนกำหนด ประจำปี 2566ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลำใหม่
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต.ลำใหม่
ณ ห้องประชุม รพ.สต.ลำใหม่ อ.เมืองยะลา จ.ยะลา
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
การพัฒนาประเทศให้มีการเจริญเติบโต แข็งแกร่ง ยั่งยืนในทุกด้าน ประการสำคัญมุ่งเน้นพัฒนาคนเป็นหลัก เพื่อให้ได้คุณภาพชีวิตที่ดีอย่างมีศักยภาพจะต้องเริ่มต้นตั้งแต่ปฏิสนธิในครรภ์เพราะเด็กเป็นรากฐานที่สำคัญในการพัฒนาให้เป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต โดยมารดาและเด็กจะได้รับการดูแลและส่งเสริมสุขภาพตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด หลังคลอด เมื่อเกิดมาแล้วต้องได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสมเพื่อให้เติบโตสมวัยและเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพต่อไปในอนาคต แต่ปัจจุบัน ข้อมูลอนามัยแม่และเด็กของตำบลลำใหม่ ยังมีปัญหาหลายอย่างที่ต้องได้รับการแก้ไข เช่น พฤติกรรมการดูแลด้านสุขภาพที่ไม่ถูกต้องของหญิงตั้งครรภ์ สามี ญาติ ในขณะตั้งครรภ์การฝากครรภ์ไม่ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์คุณภาพ หญิงตั้งครรภ์มารับการฝากครรภ์ครั้งแรกเมื่ออายุครรภ์มากกว่า 12 สัปดาห์ และแม่ตั้งครรภ์อายุน้อยกว่า 20 ปี ปัญหาเหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อสุขภาพทั้งทางกายและจิตใจ ของมารดาที่ตั้งครรภ์ ส่งผลให้มารดาที่ตั้งครรภ์เจ็บป่วยและคลอดก่อนกำหนด ทารกที่คลอดมีสุขภาพไม่แข็งแรง และมีน้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่า 2,500 กรัม ซึ่งสาเหตุเกิดอาจเกิดจากหญิงตั้งครรภ์มีภาวะซีด หญิงตั้งครรภ์ดูแลตนเองในเรื่องโภชนาการอาหารไม่ดีนักในขณะตั้งครรภ์ หรือมีปัญหาทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม ซึ่งมีสาเหตุมาจากการคลอดก่อนกำหนด การมีภาวะทุพโภชนาการของมารดา และปัญหาหญิงตั้งครรภ์มีภาวะเสี่ยง ซึ่งมีสาเหตุมาจากการแต่งงานตั้งแต่อายุยังน้อยและไม่ได้คุมกำเนิดและปัญหาการฝากครรภ์ครั้งแรกเมื่ออายุครรภ์ มากกว่า 12 สัปดาห์ และการฝากครรภ์ไม่ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ จากสภาพปัญหาการดำเนินงานจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือและการมีส่วนร่วมดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหา ประกอบกับหนังสือจังหวัดยะลา ด่วนที่สุด ที่ ยล 0023.2/ว 509 ลงวันที่ 18 มกราคม 2566 แจ้งนโยบายของกระทรวงมหาดไทย โดยแจ้งว่า คณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล ในฐานะคณะกรรมการอำนวยการโครงการเครือข่ายสุขภาพมารดาและทารกเพื่อครอบครัวไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมงกุฎราชกุมาร ได้ดำเนินโครงกาสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุก เพื่อลดภาวะคลอดก่อนกำหนด เพื่อลดอุบัติการณ์การคลอดก่อนกำหนด จึงให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รับทราบนโยบายและซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติของกระทรวงมหาดไทยเพื่อขับเคลื่อนการดำเนิน โครงการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุก เพื่อลดภาวะคลอดก่อนกำหนด โดยองค์การบริหารส่วนตำบลลำใหม่ มีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึง (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 ตามมาตรา 67 (6) และพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 หมวด 2 มาตรา 16 (10) และ (19) องค์การบริหารส่วนตำบลลำใหม่ ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาที่เกิดขึ้นในหญิงตั้งครรภ์ เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในหญิงตั้งครรภ์ และให้ทารกที่คลอดมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง มีการเจริญเติบโตของสมองและร่างกายเหมาะสมตามวัย เติบโตเป็น ทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า และเป็นอนาคตที่สำคัญของประเทศชาติต่อไป จึงได้จัดทำโครงการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุก เพื่อลดภาวะคลอดก่อนกำหนดตำบลลำใหม่ ประจำปี พ.ศ.2566 ขึ้น
ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น : 13/03/2023
กำหนดเสร็จ : 30/09/2023
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1. อัตราการคลอดก่อนกำหนดลดลง ร้อยละ 50 จากอัตราการคลอดก่อนกำหนดในปี 2565
2. หญิงตั้งครรภ์ได้รับความรู้และสามารถดูแลสุขภาพได้อย่างเหมาะสม
3. หญิงตั้งครรภ์คลอดอย่างปลอดภัยและลูกเกิดรอด