กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นานาค

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการดูแลหญิงหลังคลอดด้วยวิธีการแพทย์แผนไทย ปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นานาค

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนานาค

๑. นางละมัยยูโซะ
๒.นางสาวณธัญหะยีดือราแม
๓.นายอิสมะแอมะซง
๔.นางสาวนูรีซัน แวจิ
๕.นางสาวนูรีซันสาเม๊าะ

ตำบลนานาคอำเภอตากใบจังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ครอบครัวเป็นหน่วยของสังคมที่เล็กที่สุดของมนุษย์ การดูแลสุขภาพของบุคคลในครอบครัวเป็นสิ่งสำคัญ เพราะจะนำไปสู่การพัฒนาสังคมการดูแลสุขภาพเริ่มตั้งแต่การปฏิสนธิจนเป็นผู้สูงอายุ หญิงหลังคลอดเป็นบุคคลในครอบครัวกลุ่มหนึ่งที่มีความสำคัญเพราะเป็นกลุ่มที่ต้องเลี้ยงดูทารกอีกทั้งยังมีหน้าที่เป็นแม่บ้านคอยดูแลบุคคลอื่นๆในครอบครัว โดยหญิงหลังคลอดส่วนใหญ่มักมีอาการปวดหลัง เนื่องจากการนั่งให้นมลูกนานๆ อีกทั้งยังพบว่าหญิงหลังคลอดยังมีการเลือกรับระทานที่ไม่เหมาะสม ทำให้มดลูกเข้าอู่ช้าซึ่งกลุ่มเหล่านี้มักมีอาการปวดหลังเรื้อรังตามมา หากมีวิธีที่ช่วยบรรเทาหรือลดอาการเจ็บปวด จะช่วยให้การดำเนินชีวิตเป็นไปอย่างราบรื่น อีกทั้งเป็นการลดภาระและค่าใช้จ่ายในการรักษาของญาติหรือผู้ดูแล ดังนั้นรพ.สต.นานาคจึงเล็งเห็นความสำคัญของหญิงหลังคลอดและได้ตระหนักถึงปัญหาที่จะเกิดขึ้นตามมาหากกลุ่มต่างๆมีอาการที่รุนแรงตามมา ซึ่งอาจส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวันหรือเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆตามมา

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1.เพื่อฟื้นฟูและปรับสมดุลสุขภาพของมารดาหลังคลอดตามแนวทางการแพทย์แผนไทย
2.เพื่อส่งเสริมการพึ่งพาตนเองโดยการให้ความรู้เรื่องการอยู่ไฟหลังคลอด 5 ขั้นตอน คือการนวดการประคบสมุนไพรการทับหม้อเกลือการนั่งถานและการเข้ากระโจมให้กับหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลัง
คลอดตำบลนานาค

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 133
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการอยู่ไฟหลังคลอดและสาธิตการทำลูกประคบและพิมเสนน้ำ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการอยู่ไฟหลังคลอดและสาธิตการทำลูกประคบและพิมเสนน้ำ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1)ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 2 มื้อ ๆ ละ 25 บาท  จำนวน  133 คนเป็น 6,650.- บาท 2) ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อ ๆ ละ 50 บาท  จำนวน 133 คน เป็นเงิน 6,650.- บาท
3) ค่าวัสดุ/อุปกรณ์จัดทำสมุนไพร จำนวน 10,500  บาท รวมเป็นเงิน 23,800.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ร้อยละ 100 ของหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดสามารถเข้าถึงการบริการแพทย์แผนไทย 2.หญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด  มีความรู้เรื่องการอยู่ไฟหลังคลอด  5 ขั้นตอน คือการนวด  การประคบสมุนไพร  การทับหม้อเกลือ การนั่งถาน  และการเข้ากระโจม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
23800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 23,800.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.อาการไม่พึงประสงค์ในหญิงหลังคลอดลดลง
2.หญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดมีการถ่ายทอดองค์ความรู้ ให้แก่บุคคลในครอบครัวและชุมชน
3.หญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดสามารถใช้สมุนไพรที่มีอยู่ในชุมชนในการดูแลตนเองและคนรอบข้าง


>