กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการส่งเสริมการเรียนรู้วิธีป้องกันการจมน้ำในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลปูยุด

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปุยุด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมการเรียนรู้วิธีป้องกันการจมน้ำในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลปูยุด

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปุยุด

ศูนย์พัฒนาเด้กเล็กตำบลปูยุด องค์การบริหารส่วนตำบลปูยุด

ตำบลปูยุด อำเภอเมืองจังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การจมน้ำเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับ 1 ของเด็กไทยอายุต่ำกว่า 15 ปี ซึ่งสูงมากกว่าการเสียชีวิตจากโรคติดเชื้อและโรคไม่ติดเชื้อ และสูงมากกว่าอุบัติเหตุจากการจราจรถึง 2 เท่า เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีมักเกิดจาก การเผอเรอชั่วขณะของผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็ก เช่น รับโทรศัพท์ เปิด-ปิด ประตูบ้าน ทำกับข้าวซึ่งบางครั้งไม่คิดว่า แหล่งน้ำในภาชนะในบ้านจะทำให้เด็กจมน้ำได้เนื่องจากเด็กเล็กมีการทรงตัวไม่ดีจึงทำให้ล้มในท่าศีรษะทิ่มลมได้ จึงมักพบเด็กจมน้ำสูงในแหล่งน้ำภายในบ้าน หรือรอบ ๆ บ้าน เช่น ถังน้ำ กะละมัง แอ่งน้ำ บ่อน้ำ (เด็กสามารถจมน้ำเสียชีวิตได้ในแหล่งน้ำที่มีระดับความสูงเพียง 1-2 นิ้ว) เด็กอายุตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไปเด็กเริ่มโตและซน จะเริ่มออกไปเล่นนอกบ้าน การจมน้ำสูง มักเกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของเด็ก การที่เด็กว่ายน้ำไม่เป็น และการช่วยเหลือที่ไม่ถูกวิธี โดยส่วนใหญ่จะเห็นว่าเด็กวัยนี้จะเสียชีวิตพร้อมกันครั้งละหลาย ๆ คน เนื่องจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของเด็ก พอเห็นเพื่อนหรือน้องตกน้ำคิดว่าตัวเองว่ายน้ำเป็นจึงกระโดดลงไปช่วย แต่สุดท้ายจะกอดคอกันเสียชีวิต แหล่งน้ำที่พบเด็กจมน้ำคือแหล่งน้ำตามธรรมชาติ เช่น บ่อขุดเพื่อการเกษตร คลอง แม่น้ำ บึง
จากข้อมูลดังกล่าว ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลปูยุดร่วมกับกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลองค์การบริหารส่วนตำบลปูยุดได้เล็งเห็นถึงความสำคัญวิธีป้องกันการจมน้ำในเด็กปฐมวัย จึงได้จัดโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ วิธีป้องกันการจมน้ำในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลปูยุดขึ้น เพื่อให้ผู้ปกครองและเด็ก ได้รับรู้ตระหนักถึงอันตรายและวิธีการป้องกันมิให้เกิดความสูญเสียจากการจมน้ำ และสามารถเอาตัวรอดได้เมื่อเกิดสถานการณ์อันตรายจากน้ำ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 50
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 56
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 03/07/2023

กำหนดเสร็จ 31/08/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรุ้

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรุ้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าวิทยากร 5 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาทเป็นเงิน 3,000 บ.
  2. ค่าอาหารพร้อมเครื่องดื่มผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 106 คน คนละ 70 บาท จำนวน 1 มื้อเป็นเงิน 7,420 บ.
  3. ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 106 คนคนละ 30 บาทจำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 6,360 บ.
  4. ค่าวัสดุในการจัดอบรม เป็นเงิน 5,320 บาท
  5. ค่าป้ายไวนิลขนาด 1.2 x3 จำนวน 1 ผืนเป็นเงิน 1,080 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
3 กรกฎาคม 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
23180.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 23,180.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ปกครอง ครูผู้ดูแลด็กมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการเฝ้าระวัง วิธีปฏิบัติและวิธีป้องกันเด็กจมน้ำ
2. ผู้ปกครอง ครูผู้ดูแลเด็ก ได้เห็นความสำคัญของประเด็นปัญหาเด็กเสียชีวิตจากการจมน้ำ
3. สร้างทักษะให้กับเด็กในการช่วยเหลือตนเอง สามารถเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำ และผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กสามารถช่วยเหลือผู้ที่ประสบภัยจากการจมน้ำได้


>