กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ถนน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ อย.น้อย ใส่ใจสุขภาพ ในโรงเรียน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ถนน

โรงเรียนบ้านดูวา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

อาหารเป็นส่วนหนึ่งในปัจจัยสี่ที่สำคัญของมนุษย์ การบริโภคอาหารก็เพื่อทำให้ร่างกายเจริญเติบโตและดำรงชีวิตอยู่โดยปกติสุข ในการบริโภคอาหารไม่ควรจะคำนึงถึงเพียงแต่ความอร่อยเท่านั้น สิ่งที่สำคัญที่จะต้องพิจารณาควบคู่กันไป คือ ความสะอาดของอาหาร และความปลอดภัยในการบริโภค ในปัจจุบันมีการเพิ่มจำนวนของประชากรอย่างรวดเร็ว การผลิตอาหารจำเป็นต้องอาศัยวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีมากมายในการผลิตอาหาร เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค จึงเกิดเป็นร้านอาหาร ตลาด ห้างสรรพสินค้า และโรงงานผลิตอาหาร ซึ่งการดำเนินงานผลิตอาหารนั้นจำเป็นต้องอาศัยหลักการสุขาภิบาลอาหาร เพื่อให้ได้อาหารที่สะอาด ปลอดภัย และมีความน่าบริโภค เพราะมิเช่นนั้นแล้วอาจจะเกิดปัญหาโรคภัยไข้เจ็บอันเนื่องมาจากการบริโภคอาหาร การได้รับอาหารที่มีคุณภาพ สะอาด ปลอดภัย เป็นปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชนในประเทศ ทำให้มีพลังสร้างสรรค์ความเจริญต่างๆให้แก่ประเทศชาติได้ จึงต้องมีการควบคุม กำกับ ดูแลความปลอดภัย อาหารเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมนุษย์ทุกคนหากผู้บริโภคอาหารปรุงอาหารด้วยตนเองก็มั่นใจได้ว่าอาหารมีความปลอกภัย ในระดับหนึ่ง แต่ส่วนใหญ่นิยมซื้ออาหารนอกบ้านมารับประทาน ทำให้ไม่สามารถมั่นใจได้ว่า อาหารมีความปลอดภัยเพียงพอทำให้เกิดความเสี่ยงมากกว่า
ในปัจจุบันมีพ่อค้าแม่ค้าที่เอาเปรียบผู้บริโภคโดยนำวัตถุดิบที่มีคุณภาพต่ำมาประกอบอาหาร หรือมีการเติมสารห้ามใช้ในอาหารบางอย่างลงไป เช่น บอแรกซ์ โซเดียมไฮโดรซัลไฟล์ เป็นต้น รวมทั้งมีการปรุงอาหารอย่างไม่ถูกสุขลักษณะ ไม่สะอาดเหมาะสม ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้บริโภคได้ ดังนั้นหากผู้บริโภคขาดความรู้ ความเข้าใจ อย่างเพียงพอในเรื่องความปลอดภัยของอาหาร ก็จะทำให้ไม่สามารถเลือกซื้อหรือเก็บรักษาอาหารได้อย่างถูกต้อง และไม่สามารถดูแลปกป้องตนเองจากพิษภัยของอาหารที่ไม่ปลอดภัยได้โรงเรียนบ้านดูวา ได้ตระหนักถึงความสำคัญของเด็กและเยาวชนที่อยู่ในวัยเรียน จึงจัดทำโครงการ อย.น้อย ใส่ใจสุขภาพ ในโรงเรียน ขึ้นด้วยเห็นว่าเด็กเป็นกำลังที่สำคัญของประเทศชาติ หากปลูกฝังให้มีพฤติกรรม การบริโภคที่เหมะสมแล้วจะช่วยลดปัญหาทางด้านสาธารณสุขในอนาคตซึ่งเด็กเป็นผู้กระตือรือร้น และเป็นผู้ที่มีศักยภาพในตัวเองสามารถชี้นำเพื่อนและผู้ปกครอง ให้สนับสนุนการดำเนินงานที่ดีอย่างได้ผลเพื่อนำศักยภาพของเด็กมาใช้ให้เกิดประโยชน์

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1.เพื่อให้กลุ่มนักเรียน อย.น้อย ได้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องอาหารปลอดภัย ผลิตภัณฑ์สุขภาพและการใช้ชุดทดสอบหาสารปนเปื้อนได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย
2.เพื่อให้กลุ่มนักเรียน อย.น้อย สามารถใช้ชุดทดสอบสารปนเปื้อนในอาหาร ได้อย่างถูกต้อง
3.เพื่อให้กลุ่มนักเรียน อย.น้อย สามารถเผยแพร่ความรู้ที่ได้รับไปยังเพื่อนนักเรียนและครอบครัว

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2023

กำหนดเสร็จ 30/08/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องอาหารปลอดภัย ผลิตภัณฑ์สุขภาพและการใช้ชุดทดสอบตรวจหาสารปนเปื้อน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องอาหารปลอดภัย ผลิตภัณฑ์สุขภาพและการใช้ชุดทดสอบตรวจหาสารปนเปื้อน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 2 มื้อๆละ 25 บาท (80x2x25) เป็นเงิน4000 บาท
1.2 แผ่นป้ายไวนิลตกแต่งสถานที่โครงการ 1x3 เมตร จำนวน 1 แผ่น (1x250)เป็นเงิน 750บาท 1.3 ค่าอาหารว่าง อาหารกลางวัน วิทยากร/ครู 20คนๆ ละ 100 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท 1.4 ค่าถ่ายเอกสาร จำนวน 80 ชุดๆละ 40 บาท (80x40)เป็นเงิน 3200 บาท 1.5 ค่าวัสดุ เครื่องเขียนและอุปกรณ์ จำนวน80 ชุดๆละ50บาท (80x50)เป็นเงิน 4000 บาท 1.6 ค่าจัดทำประกาศนียบัตร จำนวน80 ฉบับๆละ19 บาท (80x19)เป็นเงิน 1520 บาท 1.7 ค่ากระเป๋าถุงผ้าจำนวน80 ใบๆละ 40 บาท(80x40)เป็นเงิน 3200 บาท 1.8 ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน5 ชั่วโมงๆละ 500 บาท (5x500) เป็นเงิน 2500 บาท 1.9 ค่าเข้าเล่มสรุปเล่มโครงการ เป็นเงิน 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
21670.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมปฏิบัติการใช้ชุดทดสอบตรวจหาสารปนเปื้อนและตรวจร้านค้า

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมปฏิบัติการใช้ชุดทดสอบตรวจหาสารปนเปื้อนและตรวจร้านค้า
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อชุดสอบ จำนวน ๖ ชนิด                     -สารบอแรกซ์ จำนวน ๑ ชุดๆ ละ ๒๑๔ บาท                     เป็นเงิน ๒๑๔ บาท                     -สารกันรา จำนวน ๑ ชุดๆ ละ ๒๓๕ บาท                         เป็นเงิน ๒๓๕ บาท                     -สารฟอกขาว จำนวน ๑ ชุดๆ ละ ๑๗๐ บาท                     เป็นเงิน ๑๗๐ บาท                     -ฟอร์มาลิน จำนวน ๖ ชุดๆ ละ ๓๐๐บาท                         เป็นเงิน ๓๐๐ บาท                     -น้ำมันทอดซ้ำ จำนวน ๑ ชุดๆ ละ ๙๐๙ บาท                     เป็นเงิน ๙๐๙ บาท                     -โคลิฟอร์มขั้นต้น(Sl-๒) จำนวน ๑ ชุดๆ ละ ๘๐๒ บาท          เป็นเงิน ๘๐๒ บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2630.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 24,300.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.นักเรียน อย.น้อย มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องอาหารปลอดภัย ผลิตภัณฑ์สุขภาพและการใช้ชุดทดสอบสารปนเปื้อนได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย
2.นักเรียน อย.น้อย สามารถใช้ชุดทดสอบสารบ่นเปื้อนในอาหาร ได้อย่างถูกต้อง
3.นักเรียน อย.น้อย สามารถเผยแพร่ความรู้ที่ได้รับไปยังเพื่อนนักเรียนและครอบครัวได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย


>