กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปูโยะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการในเด็กอายุ 0- 72 เดือน ประจำปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปูโยะ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปูโยะ

ตำบลปูโยะ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กที่มีภาวะทุพโภชนการ

 

2.46

จากการดำเนินงานการเฝ้าระวังภาวะทุพโภชนาการเด็ก 0-72 เดือน ปี พ.ศ. 2563 - 2565 ของตำบลปูโยะ พบเด็กมีปัญหาภาวะทุพโภชนาการร้อยละ9.48, 5.05 และ 2.46 ตามลำดับ อย่างไรก็ตามแม้จากรายงานขนาดของปัญหาจะลดลง แต่ยังต้องมีการเฝ้าระวังและส่งเสริมภาวะโภชนาการในเด็ก อายุ0-72 เดือน เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางด้านร่างกายสติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคมของเด็กการดำเนินการดังกล่าวจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือของผู้ปกครอง ครอบครัวและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังและส่งเสริมภาวะโภชนาการในเด็ก อายุ 0-72 เดือน ดังกล่าว
จากสภาพปัญหาดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปูโยะ จึงได้จัดทำโครงการแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการและส่งเสริมสุขภาพในเด็ก 0-72 เดือน ขึ้นเพื่อสร้างความตระหนักให้ครอบครัวและชุมชน ได้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและพัฒนางานด้านสาธารณสุขอย่างต่อเนื่อง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเสริมสร้างความรู้และความเข้าใจแก่ผู้ปกครองเด็กอายุ 0-72 เดือน

ร้อยละของผู้ปกครองเด็กอายุ 0-72 เดือน มีความรู้

80.00 1.00
2 เพื่อให้เด็กอายุ 0-72 เดือน ได้รับการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ

ร้อยละเด็กที่ได้รับการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ

90.00 1.00
3 เพื่อ่ให้เด็กอายุ 0-72 เดือน มีน้ำหนักต่ออายุ ตามเกณฑ์

ร้อยละของเด็กอายุ 0-72 เดือนมีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑณ์ไม่เกิน ไม่เกินเกณฑ์ที่กำหนด

7.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 25
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 70
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็กอายุ 0-72 เดือน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็กอายุ 0-72 เดือน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 70 คน x 25 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน 3,500 บาท
    • ค่าอาหารกลางวันจำนวน 70 คนx 50บาทx 1 มื้อเป็นเงิน 3,500 บาท
    • ค่าวัสดุในการจัดอบรมเป็นเงิน 2,450 บาท
    • ค่าวิทยากร จำนวน 1 คน จำนวน 6 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท -ป้ายโฟมบอร์ดความรู้เกี่ยวกับภาวะโภชนาการ ในเด็กอายุ 0 - 72 เดือน ขนาด 68 x 190ซม. จำนวน 2 ชุด ชุดละ 900บาท เป็นเงิน 1800 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ปกครองเด็กอายุ 0-72 เดือน มีความรู้เพิ่มขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14850.00

กิจกรรมที่ 2 2. กิจกรรมจัดหาอาหารที่มี ประโยชน์ต่อเด็กน้ำหนักค่อน ข้างน้อยและน้อยกว่าเกณฑ์

ชื่อกิจกรรม
2. กิจกรรมจัดหาอาหารที่มี ประโยชน์ต่อเด็กน้ำหนักค่อน ข้างน้อยและน้อยกว่าเกณฑ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่านมสเตอร์ริไลน์ขนาด 180 ml/กล่อง จำนวน 25 คนๆ ละ 90 กล่อง ๆ ละ 10 บาท เป็นเงิน 22,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กที่ได้รับนมมีภาวะโภชนการที่ดีขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
22500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 37,350.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ปกครองเด็กอายุ 0-72 เดือน มีความรู้ เพิ่มขึ้น
2. เด็ก 0-72 เดือนได้รับการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ
3. ปัญหาภาวะทุพโภชนาการในเด็ก 0-72 เดือน ลดลง


>