กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แนวทางดำเนินงาน/วิธีการสำคัญ

stars
แนวทางดำเนินงาน : การแก้ปัญหาสาธารณสุขเบื้องต้นแก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วม
label_important
วิธีการสำคัญ
- แกนนำสาธารณสุขและเจ้าหน้าที่ ลงสำรวจประชาชนที่ได้รับผลกระทบและแนะนำการป้องกันโรค
- สนับสนุนเวชภัณฑ์และอุปกรณ์สำหรับการป้องกันโรค
- แกนนำสาธารณสุขและเจ้าหน้าที่ลงเยี่ยมติดตามและประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ
- การปรับสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการไม่เป็นโรคติดต่อที่มาจากภาวะน้ำท่วม
stars
แนวทางดำเนินงาน : การแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้มาลาเรียระบาด
label_important
วิธีการสำคัญ
- แกนนำสาธารณสุข(อสม.) เยาวชน และเจ้าหน้าที่ ลงสำรวจทำลายลูกน้ำยุงก้นปล่อง (หยอดทรายอะเบต,ปล่อยปลาหางนกยูง คว่ำภาชนะที่มีน้ำขัง) สัปดาห์ละ 1 ครั้ง
- การปรับสภาพแวดล้อมจุดเสี่ยงต่อการเพาะพันธุ์ยุงก้นปล่อง เช่น ขยะ หรือมีการสะสมของภาชนะน้ำขังจำนวนมาก โดย แกนนำสาธารณสุข(อสม.) เยาวชน
- จ้างเหมาพ่นยุงครัวเรือนที่มีผู้ป่วยรัศมี 100 เมตร พ่น 2 ครั้งห่างกัน 1 สัปดาห์
- การตรวจคัดกรองประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่สงสัยมีเชื้อมาลาเรียด้วยชุดทดสอบเบื้องต้น และนำเข้าสู่ระบบการรักษาของโรงพยาบาล
- การรณรงค์ประชาสัมพันธ์เพื่อให้เกิดความตระหนักของประชาชนผ่านป้ายไวนิลและสื่อต่างๆ
stars
แนวทางดำเนินงาน : การแก้ปัญหาสาธารณสุขเบื้องต้นแก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากหมอกควันไฟใหม้ป่า
label_important
วิธีการสำคัญ
- แกนนำสาธารณสุขและเจ้าหน้าที่ ลงสำรวจประชาชนที่ได้รับผลกระทบและแนะนำการป้องกันโรค
- สนับสนุนหน้ากากอนามัยเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อทางเดินหายใจ
stars
แนวทางดำเนินงาน : การแก้ปัญหาเพือแก้ปัญหาเด็กเล็กที่ได้รับผลกระทบจากภาวะโรคมือเท้าปากระบาด
label_important
วิธีการสำคัญ
- ให้ความรู้และแนะนำการป้องกันโรคแก่ผู้ปกครองเด็กเล็ก และในศูนย์เด็กเล็ก
- ปรับสภาพแวดล้อมที่ลดปัญหาการระบาด เช่น การล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ การล้างมือบ่อยๆ ไม่ใช้แก้วน้ำดื่มร่วมกัน เป็นต้น
- ผู้ปกครองและเจ้าหน้าที่ปรับปรุงทำความสะอาดโรงเรียนเด็กเล็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กป้องกันการระบาด
stars
แนวทางดำเนินงาน : การแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด
label_important
วิธีการสำคัญ
- แกนนำสาธารณสุข(อสม.) เยาวชน และเจ้าหน้าที่ ลงสำรวจทำลายลูกน้ำยุงลาย (หยอดทรายอะเบต,ปล่อยปลาหางนกยูง คว่ำภาชนะที่มีน้ำขัง) สัปดาห์ละ 1 ครั้ง
- การปรับสภาพแวดล้อมจุดเสี่ยงต่อการเพาะพันธุ์ยุงลาย เช่น ขยะ หรือมีการสะสมของภาชนะน้ำขังจำนวนมาก โดย แกนนำสาธารณสุข(อสม.) เยาวชน
- จ้างเหมาพ่นยุงครัวเรือนที่มีผู้ป่วยรัศมี 100 เมตร พ่น 2 ครั้งห่างกัน 1 สัปดาห์
- การรณรงค์ประชาสัมพันธ์เพื่อให้เกิดความตระหนัก
stars
แนวทางดำเนินงาน : แก้ปัญหาการมีพฤติกรรมเสี่ยง เพศสัมพันธ์
label_important
วิธีการสำคัญ
1. ให้ความรู้ด้านเพศศึกษาและทักษะชีวิต แก่กลุ่มเด็กเยาวชน ผู้ปกครองและกลุ่มที่มีความเสี่ยง
2. กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน สร้างแกนนำ/เครือข่าย
3. สร้างพื้นที่ทำกิจกรรมด้านสร้างสรรค์ผ่านกิจกรรมศิลปะ กีฬา เป็นต้น
4. การทำสื่อ ประชาสัมพันธ์
5. คลินิคแก้ปัญหาครอบครัว ช่วยให้แนวทางดำเนินชีวิต, กลไกการให้คำปรึกษา
6. ส่งเสริมการใช้หลักศาสนา ในการดำเนิชีวิต
stars
แนวทางดำเนินงาน : แก้ปัญหาเยาวชนที่มีเสี่ยงต่อการเป็นนักสูบหน้าใหม่ และมีภาวะเสี่ยงต่อสารเสพติด เช่น กระท่อม เฮโรอีน ยาบ้า เป็นต้น
label_important
วิธีการสำคัญ
1. จัดตั้งทีมเฝ้าระวัง สำรวจและค้นหากลุ่มเสี่ยงหรือพื้นที่เสี่ยงต่อการมั่วสุมของเด็กและเยาวชนในชุมชน
2. จัดทีมอาสาสมัครเพื่อการคัดกรอง (กลุ่มเสี่ยง กลุ่มสูบ) และการบำบัดอย่างย่อในชุมชน
3. การจัดกิจกรรมส่งเสริมการสร้างสมรรถนะแห่งตน/ทักษะชีวิตในการหลีกเลี่ยงสิ่งยั่วยุ /ทักษะการจัดการความเครียดและการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
4. การจัดกิจกรรมส่งเสริมการเห็นคุณค่าแห่งตน/การใช้เวลาว่าง/การสร้างประโยชน์ให้กับชุมชน
5. การค้นหาและทำฐานข้อมูลของผู้สูบในชุมชนที่ต้องการเลิก หรือ พยายามเลิกแล้วไม่สำเร็จ
6. การดำเนินงานเชิงรุก เช่น การจัดตั้งหน่วยบริการช่วยเลิกตระเวนบริการในชุมชน
7. การพัฒนาศักยภาพทีมผู้รับผิดชอบงานด้านการติดตามเยี่ยมเยียนผู้มารับบริการเลิกยาสูบให้สามารถเลิกได้สำเร็จ
8. การจัดบริการส่งต่อผู้สูบที่ไม่สามารถบำบัดได้ในชุมชนไปยังหน่วยบริการสุขภาพในพื้นที่
stars
แนวทางดำเนินงาน : ลดการใช้ยาปฏิชีวนะ(ยาฆ่าเชื้อ)
label_important
วิธีการสำคัญ
1. การสร้างความรู้และทักษะการดูแลสุขภาพจากโรคหวัด
2. แกนนำอาสาสมัครด้านรู้เท่าทัน อ่านฉลากยาเป็น
3. การใช้สมุนไพรทดแทนการใช้ยาปฏิชีวนะ(ยาฆ่าเชื้อ)
4. ร้านชำสีขาว คุ้มครองผู้บริโภค
stars
แนวทางดำเนินงาน : ส่งเสริมให้เยาวชนชายมุสลิมขลิบปลายหุ้มหนังอวัยวะเพศ ถูกต้องตามหลักการแพทย์
label_important
วิธีการสำคัญ
การจัดบริการขลิบปลายหุ้มหนังอวัยวะเพศ ถูกต้องตามหลักการแพทย์
stars
แนวทางดำเนินงาน : ลดปัญหาสารเคมีทางการเกษตรตกค้างในกระแสเลือดระดับอันตราย
label_important
วิธีการสำคัญ
1. การตรวจดูสารพิษตกค้างในกระแสเลือด
2. การแนะนำวิธีป้องกันสารเคมีทางการเกษตรและการใช้สารจากธรรมชาติทดแทนสารเคมี
3. การตั้งและดำเนินกิจกรรมกลุ่มเกษตรกรผักปลอดสารพิษ
4. การตรวจเฝ้าระวังสารพิษตกค้างในผัก โดยชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข/ชมรม อย.น้อย
5. ประกาศหมู่บ้านปลอดการใช้สารเคมีทางการเกษตร
6. การพัฒนาศักยภาพผู้บริโภคให้สามารถลดหรือเลี่ยงผักที่มีสารเคมีตกค้างทางการเกษตร
7. การปลูกผักปลอดสารพิษในเขตที่อยู่อาศัย
stars
แนวทางดำเนินงาน : การแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด
label_important
วิธีการสำคัญ
- แกนนำสาธารณสุข(อสม.) เยาวชน และเจ้าหน้าที่ ลงสำรวจทำลายลูกน้ำยุงลาย (หยอดทรายอะเบต,ปล่อยปลาหางนกยูง คว่ำภาชนะที่มีน้ำขัง) สัปดาห์ละ 1 ครั้ง
- การปรับสภาพแวดล้อมจุดเสี่ยงต่อการเพาะพันธุ์ยุงลาย เช่น ขยะ หรือมีการสะสมของภาชนะน้ำขังจำนวนมาก โดย แกนนำสาธารณสุข(อสม.) เยาวชน
- จ้างเหมาพ่นยุงครัวเรือนที่มีผู้ป่วยรัศมี 100 เมตร พ่น 2 ครั้งห่างกัน 1 สัปดาห์
- การรณรงค์ประชาสัมพันธ์เพื่อให้เกิดความตระหนัก
stars
แนวทางดำเนินงาน : ระยะที่ 1 การป้องกันการระบาดของโควิด-19
label_important
วิธีการสำคัญ
1. การสร้างความรู้ ความเข้าใจ การจัดการความรู้และนวัตกรรมและการสื่อสารเรื่องโควิด-19
1.1 การเผยแพร่สื่อป้องกันโรคโควิค-19 ให้เข้าถึงประชาชนในชุมชน เช่น สื่อเอกสารจากเว็ปไซด์ไทยรู้สู้โควิด โดย สสส.หนังสั้น คลิปสั้น ที่เป็นสื่อเข้าใจง่าย เป็นภาษาท้องถิ่นและคนทั่วไปเข้าใจง่ายนำไปปฏิบัติได้ถูกต้อง
1.2 ประชาสัมพันธ์ดูแลตนเองเพื่อป้องกันโควิด-19 ผ่านการจัดรายการวิทยุชุมชน การใช้เสียงตามสาย เพื่อรณรงค์และกระตุ้นให้คนทั่วไปได้ตระหนักในการป้องกันตนเองจากโควิด-19
1.3 เผยแพร่คู่มือคำแนะนำในการจัดการโควิด-19 แจกจ่ายตามสถานที่ ได้แก่ คู่มือการป้องกันและจัดการโควิด-19 ในที่สาธารณะ (ตลาด สถานีขนส่ง) ในศาสนสถาน ในบ้าน ในชุมชน และในกรณีการจัดงานพิธีต่างๆ เช่น งานศพ ตัวอย่างสื่อ ได้แก่ ตลาดปลอดภัย ลดเสี่ยงโควิด-19 พ่อค้าแม่ค้า เจ้าของตลาด และผู้ปฏิบัติงานในตลาด
1.4 เผยแพร่สื่อคู่มือ โปสเตอร์ สำหรับประชาชน โดยใช้ภาษาท้องถิ่น เข้าใจง่าย ในการปฏิบัติเพื่อป้องกันโควิด-19 เช่น การล้างมือ 7 ท่า นานอย่างน้อย 20 วินาที ตามที่กรมอนามัยแนะนำ การใส่-ถอดหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า การผลิตหน้ากากผ้า การสังเกตอาการเบื้องต้นและการตัดสินใจไปพบแพทย์ การปฏิบัติตนเมื่อกลับมาจากพื้นที่เสี่ยง การจัดการขยะอุปกรณ์ปนเปื้อน เช่น หน้ากากอนามัย สำหรับชุมชน
1.5 เผยแพร่คู่มือ สื่อ การป้องกันโควิด-19 ตามหลักศาสนา การเยียวยาจิตใจในผู้ป่วยผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิต
1.6 สร้างความรู้ ความเข้าใจให้เกิดการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้สูงอายุ ที่เป็นกลุ่มเสี่ยง ให้ทานอาหารครบห้าหมู่ มีกิจกรรมทางกายให้เพียงพอ เข้มงวดในการสวมใส่หน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า ล้างมือบ่อย ๆ ทุก ครึ่ง -1 ชั่วโมง รวมทั้งการงดเหล้าและบุหรี่
1.7 รณรงค์ส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายในบ้านที่เหมาะสมในแต่ละกลุ่มวัย การลดเหล้าหรือบุหรี่ เพื่อช่วยเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรง มีภูมิต้านทาน ผ่านสื่อออนไลน์
1.8 เตรียมความพร้อมของประชาชนในพื้นที่ต่อการให้ข้อมูลที่เป็นจริงกับเจ้าหน้าที่แพทย์เมื่อมีการเดินทางกลับมาจากพื้นที่เสี่ยงหรือสัมผัสกับผู้ป่วย
1.9 อบรมให้ความรู้การป้องกันโรคทั้งระดับปัจเจกบุคคล ครอบครัว และชุมชน การจัดทำหน้ากากอนามัยและเจลล้างมือ รวมทั้งการทำความสะอาดบ้านและพื้นที่ที่มีคนใช้บ่อย ด้วยน้ำยาล้างห้องน้ำ หรือน้ำยาซักผ้าขาว ซึ่งสามารถฆ่าเชื้อโรคได้เท่ากับแอลกอฮอล์ 70%
1.10 พัฒนาระบบแอพลิเคชั่น เว็ปเพจการซื้อขายสินค้าออนไลน์ การควบคุมราคา และมาตรฐานคุณภาพสินค้าด้านโภชนาการ
2. การพัฒนาทักษะส่วนบุคคล พัฒนาขีดความสามารถของเครือข่ายและชุมชนในการจัดการโควิด-19
2.1 การพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง ทีมอสม. ชรบ. อปพร. ให้มีทักษะที่จำเป็น เช่น การวัดไข้ การสังเกตอาการป่วยเบื้องต้น การให้คำปรึกษาแนะนำคนในชุมชนต่อการป้องกันโควิด-19 การช่วยเหลือและการปฐมพยาบาลเบื้องต้น การให้คำปรึกษาเบื้องต้นสำหรับผู้มีปัญหาสุขภาพจิต และการสร้างความเข้าใจกับคนในชุมชนให้รู้ว่าโควิด-19 ไม่ได้น่ากลัวและน่ารังเกียจ แต่รักษาหายได้ เพื่อให้กำลังใจผู้ป่วยโดยไม่แบ่งแยก
2.2 จัดทำระบบการส่งต่อผู้ป่วยโควิด-19 ให้ถึงมือแพทย์เร็วที่สุด โดยเริ่มจากผู้ป่วยเริ่มสงสัยตัวเองและไปพบแพทย์ การจัดการรถรับส่งในกรณีผู้ป่วยที่เดินทางลำบากไม่มีรถยนต์ส่วนตัว หรือไม่มีญาติพี่น้อง
2.3 พัฒนาศักยภาพเยาวชนและผู้ที่สนใจทั่วไปจัดทำสื่อสารสนเทศที่เกี่ยวกับการป้องกันโควิด-19 เช่น การทำคลิปวิดีโอ การทำเสื้อ การจัดการประชุมออนไลน์ เพื่อรณรงค์และกระตุ้นให้ผู้คนตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกันตนเองจากโควิด-19 และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปถ่ายทอดให้กับคนอื่นได้
2.4 อบรมเชิงปฏิบัติการให้เครือข่ายต่าง ๆ ในชุมชนเตรียมการเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารในช่วงโควิด-19 เรื่องการปลูกผัก เพาะพันธุ์พืชผักไว้ทานเอง การเลี้ยงสัตว์ไว้บริโภค การแปรรูปสินค้าและอาหารสด การถนอมอาหาร และการเตรียมให้มีอาหารไว้ในครัวเรือน การทำอาชีพเสริม รวมทั้งการจัดการด้านการเงินในระดับครัวเรือนและชุมชน
3. การสร้างสภาพ แวดล้อมที่เอื้อต่อการป้องกันโควิด-19 และการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
3.1 การจัดเตรียมสถานที่กลางในหมู่บ้านหรือตำบล หรือสถานประกอบการลักษณะห้องพัก รีสอร์ทที่สมัครใจเข้าร่วม เพื่อกักตัวกลุ่มเสี่ยง และผู้สัมผัสใกล้ชิด
3.2 การทำความสะอาดพื้นที่สาธารณะ เช่น ตลาดสด ห้องน้ำสาธารณะ ศาสนสถาน เพื่อฆ่าเชื้อโรค และจัดตั้งเจลแอลกอฮอล์ล้างมือหรืออ่างล้างมือและสบู่ไว้ในบริเวณพื้นที่ส่วนกลาง
3.3 การปรับรูปแบบตลาด แหล่งจำหน่ายสินค้า ให้มีระยะห่างของร้านค้า ผู้ขาย-ผู้ซื้อ อย่างน้อย 1-2 เมตร สร้างวินัยการมีระยะห่างเข้าแถวซื้อสินค้า วัดไข้ก่อนเข้าตลาด หรือจัดทำตลาดออนไลน์
3.4 การหาจิตอาสา ที่สมัครใจในการช่วยเหลืองานโควิด-19 และการบริจาคอาหาร อุปกรณ์ สิ่งของที่จำเป็นเพื่อสนับสนุนคนทำงาน กลุ่มเปราะบาง ผู้ยากจน
3.5 จัดทำโครงการ matching model (การพัฒนาระบบตลาดครบวงจร) จับคู่ผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย ผู้บริโภค ช่วยพัฒนาการผลิตให้มีคุณภาพ การจำหน่ายที่ได้ราคา จัดทำตลาดกลางในหมู่บ้านเป็นแหล่งกระจายสินค้า
3.6 พัฒนาศักยภาพแกนนำ คณะกรรมการกองทุนฯ ในการใช้เทคโนโลยีการสื่อสาร การประชุมผ่านออนไลน์
4. การสร้างนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการป้องกันโควิด-19
4.1 จัดทำข้อตกลง ธรรมนูญ มาตรการชุมชน ที่คนในชุมชนทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมกันจัดทำขึ้น
4.2 มีมาตรการและด่านคัดกรอง ป้องกันโควิด-19 ในชุมชน จัดทำข้อตกลง social distancing การรักษาระยะห่างทางสังคมอย่างน้อย 1 เมตร
4.3 จัดทำแผนฟื้นฟูชุมชนเพื่อบรรเทาผลกระทบทั้งระยะต้น ระยะกลาง และระยะยาว
4.4 ทบทวนกองทุนต่าง ๆ ที่มีอยู่ในชุมชน และจัดตั้งกองทุนสวัสดิการช่วยเหลือในช่วงที่ไม่มีรายได้ และพักชำระหนี้ทั้งดอกเบี้ยและเงินต้นของกองทุนในชุมชน
5. ปรับระบบบริการสุขภาพ สร้างกลไกความร่วมมือขององค์กร หน่วยงาน เครือข่ายผู้มีส่วนได้เสียในการจัดการโควิด-19
5.1 สร้างเครือข่าย องค์กร หน่วยงาน ผู้นำชุมชน อสม. อาสาสมัคร จัดตั้งเป็นคณะกรรมการเฝ้าระวัง คัดกรอง และติดตามค้นหากลุ่มเสี่ยงในชุมชน
5.2 สำรวจและจัดทำฐานข้อมูลกลุ่มเสี่ยง ผู้ป่วย และผู้สัมผัสเพื่อเตรียมความพร้อมและวางแผนรับมือกับโรค โควิด-19
5.3 จัดทำแผนชุมชนในการป้องกันโควิด-19
5.4 สร้างหรือพัฒนาแอพพลิเคชั่นที่มีอยู่เพื่อเชื่อมโยงการทำงานร่วมกัน ทั้งด้านการเฝ้าระวังการระบาด การสร้างความมั่นคงทางอาหารในชุมชน เช่น ระบบแอพฯ NIEMS-Care เพื่อเฝ้าระวังการระบาดระดับครัวเรือน โดยประชาชนรายงานสถานะสุขภาพประจำวัน ทีมตำบลสามารถเห็นข้อมูลครัวเรือนว่าอยู่ในสถานะเขียว เหลือง ส้ม แดง; ระบบแอพฯ greens mile เพื่อใช้เป็นข้อมูลกลางของเกษตรกรที่ทำเรื่องอาหารปลอดภัย เก็บข้อมูลร่วมกัน ดูข้อมูลร่วมกันและวางแผนการผลิตร่วมกันกับพื้นที่ที่อยู่ในโซนใกล้เคียงกัน รวมทั้งใช้เพื่อการแลกเปลี่ยนผลผลิต
5.5 สนับสนุนกลไกทางศาสนา เช่น ชมรมอิหม่ามระดับอำเภอ ในการตีความและสื่อสารนโยบายต่างๆ มาตรการใช้หลักศาสนา คำสั่งจากทางจังหวัด และสำนักจุฬาราชมนตรี สำนักอิสลามประจำจังหวัด ในการป้องกันโควิด-19 ลงสู่การปฏิบัติในพื้นที่ เช่น การประกาศขอความร่วมมือในการงดละหมาดวันศุกร์ งดการละหมาดในช่วงรอมฏอน
5.6. การสร้างเครือข่าย อสม.เพื่อจัดส่งยารักษาต่อเนื่องแก่ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
5.7 การสร้างระบบบริการส่งต่อผู้ป่วยโรคไตเพื่อการเข้าถึงการฟอกไต
stars
แนวทางดำเนินงาน : ระยะที่ 2 การแก้ปัญหาการระบาดของโควิด-19
label_important
วิธีการสำคัญ
1. การสร้างความรู้ ความเข้าใจ การจัดการความรู้และนวัตกรรมและการสื่อสารในการแก้ปัญหาการระบาดของโควิด-19
1.1 เผยแพร่ข้อมูลโควิด-19 เกี่ยวกับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรค-19 อาการ กลุ่มเสี่ยงที่ควรเข้ารับการคัดกรอง การปฏิบัติตนขณะเป็นโควิด-19 พฤติกรรมที่ควรเลี่ยง พฤติกรรมที่ต้องปฏิบัติ การกักตัว การรักษา เพื่อให้คนในชุมชนรับรู้ ตระหนัก แต่ไม่ตระหนก อาจเผยแพร่โดยกลุ่ม อสม./แผ่นพับ/เสียงตามสาย/กลุ่มไลน์ชุมชน/รถแห่
1.2 เผยแพร่ความรู้แก่คนที่ไม่เป็นโรค ในการปฏิบัติตนที่เหมาะสมกับผู้ป่วย และหลังจากที่ผู้ป่วยได้รับการรักษาจนหายแล้ว (ไม่ตื่นตระหนก และไม่แสดงออกถึงการรังเกียจ) โดยทีม อสม./แผ่นพับ/เสียงตามสาย/กลุ่มไลน์/รถแห่
1.3 สร้างความรู้ความเข้าใจให้กับชุมชน ต่อการเข้ามาของคนที่มาจากพื้นที่เสี่ยงสูงแล้วต้องมากักตัวในพื้นที่ ไม่ให้รังเกียจหรือต่อต้านการเข้าพื้นที่ อาจใช้การประชุมออนไลน์ เพื่อให้ความรู้และรับฟังความเห็นและข้อเสนอแนะของคนในชุมชนด้วย
1.4 สร้างความเข้าใจกับครอบครัวที่มีสมาชิกเดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยงสูง ต่อการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง เช่น การให้คนที่เดินทางมาได้กักตัว การเว้นระยะห่างทางสังคม การจัดเตรียมสิ่งของที่จำเป็นสำหรับใช้ส่วนตัว โดยทีม อสม./แผ่นพับ/เสียงตามสาย/กลุ่มไลน์
1.5 ให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการศพแก่ญาติ กรณีมีการเสียชีวิตด้วยโควิด-19 โดยผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา และ กลุ่มอสม. ร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
2. การพัฒนาทักษะส่วนบุคคล พัฒนาขีดความสามารถของเครือข่ายและชุมชนในการแก้ปัญหาการระบาดของโควิด-19
2.1 จัดกระบวนการให้กลุ่ม หน่วยงานต่างๆ มีแผนมีโครงการควบคุมโควิด-19
2.2 ในการทำโครงการให้มีกระบวนการเก็บข้อมูล วางแผนโดยใช้ข้อมูล นำแผนสู่การปฏิบัติ มีการติดตามประเมินผล (PDCA)
2.3 ให้ความรู้และสนับสนุนต่อแกนนำ/กลุ่ม ให้มีทักษะในการเก็บข้อมูล การจัดทำข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล จัดเวทีคืนข้อมูล
3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการแก้ปัญหาการระบาดของโควิด-19 และการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
3.1 ใช้รูปแบบการติดต่อสื่อสารกับบุคคลอื่นผ่านการโทรศัพท์ การสื่อสารทางไลน์ แทนการติดต่อแบบเผชิญหน้า เพื่อสร้างกำลังใจให้ผู้ป่วยโควิด-19
3.2 การทำกิจกรรมร่วมกันผ่านสื่อต่างๆ เช่น ออกกำลังกายร่วมกันผ่านระบบออนไลน์ รับประทานอาหารร่วมกันผ่านระบบออนไลน์ (Zoom, facebook live, Line, chat)
3.3 ระดมทุนในชุมชนเพื่อช่วยเหลือกลุ่มเสี่ยงที่ถูกกักตัวและผู้ป่วยขณะถูกกักโรค
3.4 ชุมชนให้การช่วยเหลือ ดูแล และเอาใจใส่ครอบครัวที่พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 ตามความเหมาะสม
3.5 จัดสถานที่/พื้นที่กักตัวผู้ป่วยให้เหมาะสม (อาจจะใช้งบประมาณของกองทุนไม่ได้ ให้ใช้งบท้องถิ่น)
3.6 จัดกิจกรรมให้ผู้ป่วยเพื่อลดความเครียดขณะรักษาตัว เช่น การมีกิจกรรมทางกายที่เอื้อต่อผู้ป่วยที่ถูกกักตัวพร้อมๆ กันผ่านการวิดีโอคอล การเปิดกลุ่มสนทนา การประสานให้ญาติที่ไม่เก่งด้านเทคโนโลยีได้คุยกับผู้ป่วย ฯลฯ ทั้งนี้เพื่อลดความเครียดและสร้างกำลังใจ
3.7 ชุมชนช่วยกันจัดหาวัสดุและอุปกรณ์ในการป้องกันโควิด-19 แจกจ่ายคนในพื้นที่ให้เพียงพอ เช่น หน้ากากอนามัย เจลล้างมือ
3.8 รับสมัครจิตอาสาในการดูแลผู้ถูกกักตัว รวมทั้งการระดมทุน รับบริจาคอาหารเพื่อคนยากลำบากที่ไม่สามารถเข้าถึงอาหาร จากผลกระทบจากโควิด-19 ในรูปการตั้งโรงทาน ตู้ปันสุข ในชุมชน
3.9 การทำความสะอาดสถานที่เสี่ยงต่อการมีโควิด-19 ในชุมชน เช่น ตลาดนัด ศาสนสถาน โรงพยาบาล รวมทั้งการกำจัดขยะที่อาจปนเปื้อนโควิด-19 โดยหาข้อมูลได้จากhttps://multimedia.anamai.moph.go.th/
4. การสร้างนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการแก้ปัญหาการระบาดของโควิด-19
4.1 สร้างข้อตกลง ความร่วมมือในการงดกิจกรรมการรวมตัว
4.2 สร้างมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) ในกรณีงานชุมชน งานประเพณีตามวิถีปกติใหม่ (New Normal)
4.3 สร้างข้อตกลงกับโรงเรียน/ที่ทำงานในชุมชน หยุดเรียน/หยุดงาน/อนุญาตให้กลุ่มเสี่ยง Work Form Home ได้
4.4 สร้างข้อตกลงในการรวมกลุ่ม ให้สวมหน้ากากอนามัยทุกคน และจัดสถานที่นั่งให้ห่างกันอย่างน้อย 1 เมตร และมีเจลล้างมือบริการ
4.5 มีมาตรการให้การช่วยเหลือเยียวยาผู้ถูกกักตัวและผู้ติดเชื้อโควิด-19 เช่น สนับสนุนของใช้ส่วนตัว อาหารที่มีประโยชน์ ค่าชดเชยการขาดรายได้
4.6 มีมาตรการให้การช่วยเหลือ ดูแล และเอาใจใส่ครอบครัวที่พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 เช่น ผู้ป่วยอยู่กับหลาน ชุมชนควรให้การช่วยเหลือดูแลหลานขณะที่ยายต้องรักษาตัวให้หายจากโรค
4.7 ชุมชนมีมาตรการต้อนรับผู้ป่วยที่หายจากโควิด-19 กลับสู่ชุมชน (ไม่ตีตราผู้ป่วย)

5. ปรับระบบบริการสุขภาพ สร้างกลไกความร่วมมือขององค์กร หน่วยงาน เครือข่ายผู้มีส่วนได้เสียในการแก้ปัญหาการระบาดของโควิด-19
5.1 การทำระบบข้อมูลรายชื่อและจำนวนสถิติผู้ป่วยรายใหม่ ผู้ป่วยสะสม ผู้ป่วยเสียชีวิต และผู้ป่วยที่กลับบ้านได้ รวมทั้งกลุ่มเสี่ยงรอการยืนยัน ของแต่ละวัน แยกตามพื้นที่
5.2 นำข้อมูลที่ได้มาวางแผนแก้ไขโควิด-19 ทำแผนชุมชนในการป้องกัน การแก้ไข และการฟื้นฟู ชุมชนในการจัดทำโมเดลชุมชนจัดการโควิด-19 โดยการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน ทั้งนี้อาจใช้การประชุมออนไลน์
5.3 มีการแบ่งบทบาทการทำงานในลักษณะหมุนเวียนผลัดเปลี่ยนกันไปทำงานเพื่อลดความเครียด เช่น ฝ่ายจัดซื้อของ ฝ่ายสถานที่ การอยู่เวรกลางวัน กลางคืน ฝ่ายสาธารณสุข
5.4 กำกับติดตามและประเมินผลตามแผนงานอย่างใกล้ชิด
5.5 ถอดบทเรียนผลที่เกิดขึ้น ความสำเร็จ ปัญหาอุปสรรค เพื่อปรับปรุงแก้ไข และสร้างโมเดลต้นแบบชุมชนจัดการโควิด-19
stars
แนวทางดำเนินงาน : ระยะที่ 3 การฟื้นฟูและเยียวยาภายหลังการระบาดของโควิด-19
label_important
วิธีการสำคัญ
1. การสร้างความรู้ ความเข้าใจ การจัดการความรู้และนวัตกรรมและการสื่อสารเรื่องโควิด-19
1.1 พัฒนาระบบการสื่อสารกับสาธารณชนอย่างต่อเนื่องและชัดเจน ในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่จำเป็นต้องรู้ รวมถึงวิธีป้องกันไม่ให้โควิด-19 กลับมาแพร่ซ้ำ เผยแพร่โดยกลุ่ม อสม./แผ่นพับ/เสียงตามสาย/กลุ่มไลน์ชุมชน/รถแห่
1.2 สื่อสารแนวคิด ชีวิตวิถีใหม่ (New normal) ให้กับชุมชน ในการสร้างการพึ่งพาตนเองให้อยู่ได้เมื่อมีโรคระบาด การใช้การสื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ต
1.3 สื่อสารความรู้เกี่ยวกับมีพฤติกรรมสุขภาพ เช่น การเพิ่มกิจกรรมทางกายภายในบ้าน การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ลดหวาน ลดเค็ม การไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ ไม่ใช้สารเสพติด
2. การพัฒนาทักษะส่วนบุคคล พัฒนาขีดความสามารถของเครือข่ายและชุมชนในการจัดการโควิด-19
2.1 การรวมกลุ่มของผู้รู้ ปราชญ์ชุมชน ในการพัฒนาทางเลือก การดำเนินชีวิตวิถีใหม่ เพื่อช่วยฟื้นฟูให้สอดคล้องกับบริบทชุมชนและภูมิปัญญาท้องถิ่น
2.2 ส่งเสริมทักษะการประกอบอาชีพเพื่อสร้างรายได้ให้คน ครอบครัว ในชุมชน เช่น การเย็บหน้ากากผ้าการตัดเสื้อ ซ่อมรถ การเกษตรในครัวเรือน เช่น การปลูกผัก เลี้ยงปลา รวมทั้งการวางแผนการเงินของบุคคลและครัวเรือน เพื่อให้มีเงินออมไว้ใช้ในยามวิกฤติ (อาจจะใช้งบประมาณของกองทุนไม่ได้ ให้ใช้งบท้องถิ่น)
2.3 สนับสนุนสมาชิกของครอบครัวที่ถูกเลิกจ้างงานและกลับมาอยู่ในชุมชนให้มีอาชีพด้านการเกษตร มุ่งสู่สมาร์ทฟาร์มเมอร์ เพื่อการพึ่งพาตนเองของชุมชนในอนาคต (อาจจะใช้งบประมาณของกองทุนไม่ได้ ให้ใช้งบท้องถิ่น)
2.4 พัฒนาทีมงานจิตอาสาในการฟื้นฟูสุขภาพชุมชนด้านต่างๆ
2.5 พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการกองทุน กลุ่มต่างๆ ในชุมชน ในการวางแผน ดำเนินการ ติดตามประเมินผลในการจัดการฟื้นฟูสุขภาพชุมชนหลังโรคระบาด รวมทั้งการจัดตั้งหน่วยบรรเทาทุกข์เพื่อปฏิบัติการร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ เอกชน มูลนิธิการกุศลอย่างต่อเนื่อง
2.6 พัฒนาศักยภาพของคนในชุมชน ให้มีความรู้ ทักษะ ความสามารถในการจัดการอาหารปลอดภัยและโภชนาการที่สมวัย
2.7 พัฒนาทักษะแกนนำในชุมชน ในการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ชีวิตวิถีใหม่ เช่น การใช้ห้องประชุมออนไลน์ การทำตลาดออนไลน์ การให้ความรู้ชุมชนในการจัดการการเงิน การทำบัญชีครัวเรือน (รายรับ-รายจ่าย-การออม) เพื่อให้มีความมั่นคงทางการเงินของครัวเรือน สามารถมีเงินออมใช้จ่ายยามวิกฤตได้ (อาจจะใช้งบประมาณของกองทุนไม่ได้ ให้ใช้งบท้องถิ่น)
3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการป้องกันโควิด-19 และการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน (อาจจะใช้งบประมาณของกองทุนไม่ได้ ให้ใช้งบท้องถิ่น)
3.1 การจัดกองทุนหมู่บ้าน เพื่อการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ
3.2 พัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวในชุมชน เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในชุมชน
3.3 ยกระดับและพัฒนาวิสาหกิจชุมชน เพื่อสร้างอาชีพและรายได้ให้กับคนในชุมชนอย่างยั่งยืน
3.4 การจัดทำตลาดออนไลน์ เพื่อสร้างพื้นที่กลางในการซื้อขายสินค้าของคนในชุมชน
3.5 จัดทำโครงการ “ข้าวแลกปลา” เพื่อแลกเปลี่ยนอาหารแทนการซื้อขาย
3.6 การจัดทำครัวกลาง/ครัวรวม ในภาวะวิกฤติ
4. การสร้างนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการป้องกันโควิด-19
4.1 กำหนดข้อตกลงชุมชนให้คนในชุมชนปลูกผักปลอดสารพิษในครัวเรือน
4.2 มาตรการชุมชนในการสนับสนุนการประกอบอาชีพเกษตรกร เพื่อการพึ่งพาตนเองของชุมชนในอนาคต (อาจจะใช้งบประมาณของกองทุนไม่ได้ ให้ใช้งบท้องถิ่น)
5. ปรับระบบบริการสุขภาพ สร้างกลไกความร่วมมือขององค์กร หน่วยงาน เครือข่ายผู้มีส่วนได้เสียในการจัดการโควิด-19
5.1 จัดตั้งทีมเฝ้าระวัง สำรวจและค้นหากลุ่มผู้ได้รับผลกระทบที่ต้องช่วยเหลือฟื้นฟูเยียวยา
5.2 พัฒนาระบบติดตามพฤติกรรมของประชาชนเพื่อระบุความเสี่ยง และควบคุมโรคระบาดในอนาคต เช่น การเดินทาง, การดื่มเหล้า/สูบบุหรี่, การออกกำลังกาย