กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปุยุด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการกำจัดขยะปรับปรุงสิ่งแวดล้อมป้องกันโรคติดต่อ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปุยุด

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

พื้นที่ตำบลปูยุด อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ปริมาณขยะของครัวเรือนทั้งหมดในชุมชนต่อวัน

 

5,100.00

ประเทศไทยกำลังเผชิญกับปัญหาการกำจัดขยะที่นับวันจะทวีความรุนแรงขึ้นตลอดเวลา และยังไม่สามารถหาทางออกที่ดีได้ แม้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะพยายามหาวิธีการกำจัด และ ของเสียอันตรายจากบ้านเรือนเป็นปัญหาสำคัญ ครัวเรือนเป็นแหล่งกำเนิด ของของเสีย อันตรายจากชุมชนประมาณ ๑ ใน ๔ ของทั้งหมด ซึ่งจากปัญหาขยะดังกล่าวส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพมากขึ้นเช่นกัน โรคภัยที่เกิดจากขยะมูลฝอยได้แก่ โรคระบบทางเดินอาหาร โรคจากสัตว์แมลง โรคจากการติดเชื้อ โรคภูมิแพ้ โรคปวดศีรษะคลื่นไส้และอาเจียนเกิดจากกลิ่นเน่า โรคมะเร็งเนื่องจากได้รับสารพิษต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน และผลกระทบต่อระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย
พื้นที่ ตำบลปูยุด เป็นพื้นที่ที่มีอุบัติการณ์จากโรคที่เกิดจาขยะมูลฝอย จากข้อมูลปีที่ผ่านมา ที่ผ่านมามีผู้ป่วยจากโรคที่เกิดจากขยะมูลฝอย ดังนี้คือ การติดเชื้อของทางเดินหายใจส่วนบนแบบเฉียบพลันอื่น ๆ ปี พ.ศ. ๒๕๖๔ จำนวน ๓๓๖ ราย ปี พ.ศ.๒๕๖๕ จำนวน ๓๘๕ ราย และปี พ.ศ. ๒๕๖๖(ตั้งแต่ ต.ค. ๒๕๖๕-ม.ค. ๒๕๖๖) จำนวน ๒๕๓ ราย โรคอักเสบติดเชื้อของผิวหนังและเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง ปี พ.ศ. ๒๕๖๔ จำนวน ๔๑ ราย ปี พ.ศ.๒๕๖๕ จำนวน ๕๔ ราย และปี พ.ศ. ๒๕๖๖ (ตั้งแต่ ต.ค. ๒๕๖๕-ม.ค. ๒๕๖๖) จำนวน ๓๐ ราย ข้อมูลรายโรคที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรม การล้างมือ ปี พ.ศ. ๒๕๖๔ จำนวน ๔๕๘ ราย ปี พ.ศ. ๒๕๖๕ จำนวน ๔๙๘ ราย และ ปี ๒๕๖๖(ตั้งแต่ ต.ค. ๒๕๖๕-ม.ค. ๒๕๖๖) จำนวน ๓๐๐ ราย เป็นต้น
ดังนั้น กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลปูยุด ได้เล็งเห็นปัญหาโรคภัยที่เกิดจากขยะเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องได้รับการแก้ไขต่อไป เพื่อป้องกันไม่ให้ประชาชนในพื้นที่เกิดโรคจากขยะมูลฝอย จึงต้องมีการจัดการแหล่งขยะที่ถูกสุขลักษณะเพื่อการป้องกันโรค โดยการสร้างความเข้าใจ ความตระหนักของประชาชน ภายใต้ความร่วมมือของชุมชนอย่างจริงจัง นำไปสู่การป้องกันโรคภัยที่จะเกิดจากขยะได้ จึงจัดทำโครงการกำจัดขยะปรับปรุงสิ่งแวดล้อมป้องกันโรคติดต่อ ในตำบลปูยุด ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อป้องกันโรคของประชาชนและเยาวชนในตำบลปูยุดจากขยะมูลฝอย

มีระบบการจัดการขยะมูลฝอย และประชาชนเป็นโรคภัยจากขยะมูลฝอยลดลง สามารถดูแล ป้องกันตนเองและคนในครอบครัวได้

0.00
2 . เพื่อให้ประชาชนและเยาวชนในตำบลปูยุด มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการคัดแยกขยะจากแหล่งกำเนิดขยะโดยคัดแยกขยะออกเป็นขยะอินทรีย์ ขยะทั่วไป ขยะรีไซเคิล และขยะอันตราย และการใช้ประโยชน์จากขยะแต่ละประเภท

 

0.00
3 เพื่อรณรงค์และขยายผลสู่การสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนและเยาวชนในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมเกิดและบูรณาการความร่วมมือในการจัดการสิ่งแวดล้อมของท้องถิ่น สอดคล้องหลักการของเมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืน

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50
กลุ่มวัยทำงาน 50
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 31/03/2023

กำหนดเสร็จ 31/07/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมผู้เข้าร่วมโครงการ เรื่องความรู้และการจัดการขยะการควบคุมโรค ไข้เลือดออกด้วยหลัก ๕ ป. และการจัดการขยะและการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมภายในบ้านให้เหมาะสม

ชื่อกิจกรรม
อบรมผู้เข้าร่วมโครงการ เรื่องความรู้และการจัดการขยะการควบคุมโรค ไข้เลือดออกด้วยหลัก ๕ ป. และการจัดการขยะและการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมภายในบ้านให้เหมาะสม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ “กำจัดขยะปรับปรุงสิ่งแวดล้อมป้องกันโรค” ขนาด 1.5 x 3 เมตรจำนวน 10 ผืน ตารางเมตรละ 300 บาทเป็นเงิน 13,500 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ในการอบรมผู้เข้าร่วมโครงการ เรื่องความรู้และการจัดการขยะการควบคุมโรค ไข้เลือดออกด้วยหลัก ๕ ป. และการจัดการขยะและการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมภายในบ้านให้เหมาะสมจำนวน 100 คน ๆ ละ 30 บาท/มื้อ จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 6,000 บาท
  • ค่ากล่องตะแกรงเหล็ก สำหรับใส่ขยะรีซเคิล ชนิดขวดต่างๆ จำนวน 7 ชุดๆละ 3,000 บาท
    เป็นเงิน 21,000 บาท
    • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 1 คน ๆ ละ 5 ชั่วโมง ๆ ละ 600บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
  • ค่าวัสดุในการอบรมฯ เป็นเงิน 4,500 บาท
  • ค่ากระเป๋าผ้าสำหรับผู้เข้าร่วมอบรมฯ ใบละ 150 บาท จำนวน 100 ใบ เป็นเงิน 15,000 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 70,000 บาท (เงินเจ็ดหมื่นบาทถ้วน)
ระยะเวลาดำเนินงาน
31 มีนาคม 2566 ถึง 31 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
70000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 70,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑ อัตราป่วยด้วยโรคจากขยะมูลฝอยในชุมชนลดลงเมื่อเปรียบเทียบย้อนหลัง ๓ ปี
๒ มีชุมชนตัวอย่าง แหล่งเรียนรู้กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ การคัดแยกขยะ และ ขยะแลกบุญ
๓ ประชาชนสุขภาพดีด้วยการจัดการสิ่งแวดล้อมในบ้าน ในชุมชนและพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ


>