กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาลูปัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสร้างแรงจูงใจ เพื่อสตรีร่วมใจป้องกันมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม... ประจำปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาลูปัง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกาลูปัง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคมะเร็งเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยทำให้เกิดการสูญเสียชีวิตของประชาชนและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเป็นจำนวนมากโรคมะเร็งเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งในประเทศไทย จากข้อมูลสถิติสาธารณสุขปี พ.ศ.2546(สถาบันมะเร็งแห่งชาติ, 2548) พบว่าอัตราตายจากโรคมะเร็งของประชากรไทยมีแนวโน้มสูงขึ้นและโรคมะเร็งที่พบมากที่สุดในประเทศไทยได้แก่มะเร็งตับมะเร็งปอดมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมตามลำดับสำหรับสตรีไทยโรคมะเร็งปากมดลูกมีอุบัติการณ์สูงเป็นอันดับหนึ่งของโรคมะเร็งทุกชนิด (สถาบันมะเร็งแห่งชาติ, 2548) นอกจากนี้ยังพบว่า การตรวจวินิจฉัยและให้การรักษาผู้ที่มีความผิดปกติของปากมดลูกตั้งแต่ระยะก่อนเป็นมะเร็งตามขั้นตอน ที่ถูกต้องเหมาะสมสามารถลดอุบัติการณ์และอัตราการตายของโรคมะเร็งปากมดลูกได้เนื่องจากมะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่สามารถตรวจพบได้ตั้งแต่เซลล์เริ่มผิดปกติโดยการทำPapsmearหรือVIA (VisualInspectionofcervixwithAceticacid)ประกอบกับการดำเนินโรคเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไปและสามารถรักษาให้หายขาดได้โดยการรักษาตามระบบและการจี้เย็น (Cryotherapy)ปีงบประมาณ2553 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้เห็นความสำคัญของปัญหาจึงให้การสนับสนุนงบประมาณการดำเนินงานโครงการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกแก่กระทรวงสาธารณสุข โดยมอบให้สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ดำเนินโครงการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธีPapsmearและVIA ในสตรีไทยอายุ30-60ปีกำหนดเกณฑ์ตัวชี้วัด ร้อยละของสตรี 30-60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกสะสม ปีงบประมาณ2565ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
ในปี 2561-2565จังหวัดยะลาได้ดำเนินการคัดกรองค้นหาโรคมะเร็งปากมดลูกมีผลงานสะสม 5ปี (2561–2565) เป้าหมาย 87,685 คน ได้รับการตรวจคัดกรอง 18,588 คนคิดเป็นร้อยละ 21.23ไม่ผ่านเกณฑ์ตัวชี้วัด อำเภอรามัน มีเป้าหมาย 15,783 คน
ผลงานการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก 4,200 ราย คิดเป็นร้อยละ 26.61ไม่ผ่านเกณฑ์ตัวชี้วัด
ตำบลกาลูปัง มีเป้าหมาย 585 คนมีผลการดำเนินงานสามารถคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรี อายุ 30-60 ปี สะสมตั้งแต่ ปี 2561-2565 จำนวน 132 ราย คิดเป็นร้อยละ 22.56ผลการตรวจ ปกติจำนวน 132 ราย คิดเป็นร้อยละ 98.95 พบเชื้อราในช่องคลอด จำนวน 2 ราย คิดเป็นร้อยละ 01.05 ได้ส่งต่อพบแพทย์โรงพยาบาลรามัน
ผลการดำเนินงานสามารถคัดกรองมะเร็งเต้านม อายุ30-70 ปีดังนี้ กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 710 รายคัดกรองมะเร็งเต้านม จำนวน 271 รายคิดเป็นร้อยละ 38.17 ผลการตรวจ ปกติ จำนวน 271 รายคิดเป็นร้อยละ 38.17ผิดปกติจำนวน 2 ราย คิดเป็นร้อยละ 01.32 ได้ส่งต่อพบแพทย์โรงพยาบาลรามัน เพื่อรับการรักษาที่ต่อเนื่องต่อไป ต่อเนื่อง ในสตรีที่ตรวจพบความผิดปกติของเต้านม ผลการวินิจฉัย พบว่าเป็นซีสต์ (ก้อนไขมัน ) จำนวน 1 ราย ได้รับการวินิจฉัยเป็นมะเร็งเต้านม 1 ราย รับการรักษาได้รับการรักษาและอยู่ภายใต้ความดูแลของแพทย์ โรงพยาบาลยะลาอย่างต่อเนื่อง
ด้วยเหตุนี้ ทางโรงพยาบาลสงเสริมสุขภาพตำบลกาลูปัง ได้เห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการดำเนินโครงการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธีPapsmearเพื่อส่งเสริมให้สตรีอายุ30-60 ปี ได้มีทักษะความรู้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อเฝ้าระวังการเกิดการเกิดมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมในกลุ่มเสี่ยง 2. สตรีรายที่มีผลการตรวจผิดปกติได้รับการส่งต่อการรักษาต่อไป 3. เพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม
  1. ร้อยละ 20 ของสตรีที่มีอายุ 30-60 ปี ได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูก
  2. ร้อยละ 70 ของสตรีที่มีอายุ 30-70 ปี ได้รับการตรวจมะเร็งเต้านม
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 148
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การสำรวจข้อมูลสุขภาพ การจัดทำทะเบียนและฐานข้อมูลสุขภาพ,การตรวจคัดกรอง ประเมินภาวะสุขภาพ และการค้นหาผู้มีภาวะเสี่ยง,การเยี่ยมติดตามดูแลสุขภาพ,การรณรงค์/ประชาสัมพันธ์/ฝึกอบรม/ให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
การสำรวจข้อมูลสุขภาพ การจัดทำทะเบียนและฐานข้อมูลสุขภาพ,การตรวจคัดกรอง ประเมินภาวะสุขภาพ และการค้นหาผู้มีภาวะเสี่ยง,การเยี่ยมติดตามดูแลสุขภาพ,การรณรงค์/ประชาสัมพันธ์/ฝึกอบรม/ให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ขั้นตรียมการ
  2. จัดทำโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติ
  3. จัดเตรียมสตรีกลุ่มเป้าหมาย อายุ 30 – 60  ปี
  4. ประชุมชี้แจงโครงการแก่ อสม. / ผู้นำสตรี / ผู้นำชุมชน เพื่อประชาสัมพันธ์โครงการ
  5. ประสานงานวิทยากร
  6. จัดเตรียมสื่อการสอนได้แก่ โมเดล แผ่นพับ โปสเตอร์ 2 .ขั้นดำเนินการ         1. จัดนิทรรศการเรื่องโรคมะเร็งปากมดลูก / มะเร็งเต้านม
  7. จัดอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายโรคมะเร็งปากมดลูก / มะเร็งเต้านม จำนวน 148 คน
  8. สอนกลุ่มเป้าหมายตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง และประเมินทักษะการตรวจโดยเจ้าหน้าที่
  9. ติดตามและแนะนำให้คำปรึกษาแก่กลุ่มเป้าหมายเกี่ยวกับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก/มะเร็งเต้านม
  10. ตรวจมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี Pap smear
    1. ขั้นประเมินผล
  11. จากรายงานผลการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม จากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ
  12. จากรายงานผล HDC  เว็บไซต์ของสาธารณสุขจังหวัดยะลา
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. สตรีอายุ 30 – 60 ปี มีความรู้ความเข้าใจเรื่องการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเต้านม
  2. สตรีอายุ 30 – 60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ด้วยวิธี Pap smear ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20
  3. อัตราป่วย และเสียชีวิตจากโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมลดลง ร้อยละ 20
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. สตรีอายุ 30 – 60 ปี มีความรู้ความเข้าใจเรื่องการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเต้านม
2. สตรีอายุ 30 – 60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ด้วยวิธี Pap smear ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20
3. อัตราป่วย และเสียชีวิตจากโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมลดลง ร้อยละ 20


>