กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ดอนรัก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายในเยาวชนมุสลิมตำบลดอนรัก ประจำปีงบประมาณ 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ดอนรัก

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต.ดอนรัก

ตำบลดอนรัก อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ตามที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้กำหนดหลักเกณฑ์การดำเนินงานและบริการจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ หน่วยงานสาธารณสุข หรือหน่วยงานอื่น และสนับสนุนส่งเสริมให้กลุ่มหรือองค์กรประชาชนดำเนินกิจกรรมด้านสาธารณสุขระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ และเนื่องจากพื้นที่รับผิดชอบของกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเขต 12 สงขลา มีความเป็นบริบทเฉพาะที่ต่างจากพื้นที่ทั่วไป ในด้านสังคมวัฒนธรรม ตลอดจนความเชื่อทางศาสนา ซึ่งการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย (การเข้าสุนัต) คือ การทำความสะอาดร่างกายที่ต้องตัดแต่งเพื่อขจัดความสกปรก และเหตุผลทางการแพทย์เกี่ยวกับเรื่องนี้ ท่านนบีมูฮำหมัด (ซล.) ได้ให้โอวาทไว้ดังนี้ ธรรมชาติ 5 สิ่ง (ในร่างกายมนุษย์) ที่ต้องได้รับการตกแต่ง คือการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ ขจัดขนในร่มผ้า ตัดเล็บและการตกแต่งหนวดเคราการตัดหนังหุ้มปลายอวัยวะสืบพันธุ์ของเพศชาย เพื่อความสะอาดเป็นสำคัญ จากงานวิจัยพบว่า การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย สามารถลดความเสี่ยงการติดเชื้อ HIV ได้ร้อยละ 50 – 60 เนื่องจากผิวหนังบริเวณนี้ จะมีต่อมซึ่งจะสร้างสารที่เรียกว่า smegma หรือขี้เปียก หากมีหนังหุ้มไม่สามารถเปิดออกล้างได้ จะทำให้สารดังกล่าวคั่ง ซึ่งจะก่อให้เกิดกลิ่น การติดเชื้อ รวมเกิดมะเร็งที่องคชาติได้ (นพ.อนุพงศ์ ชิตวรากร) นอกจากนี้การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย ผู้ขลิบจะลดโอกาสเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น ซิฟิลิส แผลริมอ่อน และลดความเสี่ยงของมะเร็งองคชาติ และถ้าหากขลิบในเด็กทารก ก็จะลดโอกาสเกิดการติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะในเด็กได้ด้วย ผู้หญิงที่เป็นคู่ของผู้ชายที่ขลิบจะลดความเสี่ยงของการเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และลดอัตราเสี่ยงการเกิดมะเร็งปากมดลูกด้วย จากบริบทพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ พบว่า การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย หรือ “คีตาล” (ภาษาอาหรับ) หรือ “ทำสุนัต” (ภาษามลายู) มักทำกับหมอบ้าน หรือ โต๊ะมูเด็ง จากความเชื่อและประเพณีของชุมชน โดยผู้ปกครองเด็กเชื่อว่า “การทำกับแพทย์จะทำให้อวัยวะเพศไม่แข็งแรง” “การทำกับโต๊ะมูเด็งเป็นประเพณีที่คนเฒ่าคนแก่ทำกัน” เป็นต้น ซึ่งที่ผ่านมาพบว่า การทำสุนัตกับโต๊ะมูเด็ง มักจะมีเหตุการณ์เลือดออกมาก (bleeding) ทำให้เกิดภาวะช็อคหรือการติดเชื้อ เช่น ติดเชื้อตับอักเสบ เชื้อ HIV จากการใช้เครื่องร่วมกันโดยไม่ได้ล้างทำสะอาดอย่างถูกวิธี ดังนั้น กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลดอนรัก ได้เล็งเห็นความสำคัญของการทำขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย หรือสุนัข ในกลุ่มเด็กและเยาวชนในพื้นที่ โดยแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ที่มีความรู้ ทักษะด้านการขลิบหนังหุ้มปลายแบบปราศจากเชื้อ เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้รับบริการที่ปลอดภัยและมีคุณภาพยิ่งขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อบริการทำขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายแก่เด็กและเยาวชน ในพื้นที่รับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลดอนรรัก เพื่อลดภาวะเสี่ยงการติดเชื้อ และภาวะเลือดออกมาก (bleeding)

ร้อยละของเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการ ได้รับบริการขลิบหนังหุ้มปลายอยวัยวะเพศชายแก่เด็กและเยาวชนมุสลิมในพื้นที่ตำบลดอนรรัก เพื่อลดภาวะเสี่ยงการติดเชื้อ และภาวะออกเลือดมาก (bleeding)และลดโอกาสการเกิดมะเร็งอวัยวะเพศชายในอนาคต

90.00 100.00
2 เพื่อรณรงค์และสร้างความตระหนัก ความเข้าใจ ในการดูแลสุขภาพและป้องกันโรคโดยเฉพาะโรคติดเชื้อ

ร้อยละเยาวชนตำบลดอนรัก มีการรณรงค์และสร้างความตระหนัก ความเข้าใจ ในการดูแลสุขภาพและป้องกันโรค โดยเฉพาะโรคติดเชื้อ

70.00 100.00
3 เพื่อให้เด็กและเยาวชนในพื้นที่รับผิดชอบขอองค์การบริหารส่วนตำบลดอนรัก สามารถเข้าถึงบริการด้านส่งเสริมและป้องกันโรค

ร้อยละเด็กและเยาวชนมุสลิมในเขตพื้นที่ตำบลดอนรัก สามารถเข้าถึงบริการด้านส่งเสริมและป้องกันโรค

90.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 60
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.ประชาสัมพันธ์โครงการ รับสมัครเด็กและเยาวชนเข้าร่วมโครงการและจัดอบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพและการป้องกันโรค

ชื่อกิจกรรม
1.ประชาสัมพันธ์โครงการ รับสมัครเด็กและเยาวชนเข้าร่วมโครงการและจัดอบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพและการป้องกันโรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1กิจกรรมประชาสัมพันธ์โครงการตามจุดสำคัญในชุมชน

1.2กิจกรรมรับสมัครเด็กและเยาวชนเข้าร่วมโครงการ

1.3กิจกรรมอบรมให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพและป้องกันโรค

  • ค่าป้ายไวนิล ขนาด 1X4 เมตร เป็นเงิน 1,000.- บาท

  • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน2 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600.-บาทเป็นเงิน 1,200.- บาท

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (25.-บาทX 60 คน X 2 มื้อ) เป็นเงิน 3,000.- บาท

  • ค่าอาหารกลางวัน (50.- บาท X 60 คน X 1 มื้อ) เป็นเงิน 3,000.- บาท

  • ค่าเช่าเต้นท์ พร้อมเก้าอี้ จำนวน 2 ชุดๆ ละ 1,200.- เป็นเงิน 2,400.-บาท

  • ค่าเช่าเครื่องเสียง จำนวน 1 ชุด เป็นเงิน 2,000.-บาท

รวมเป็นเงิน 12,600 บาท

หมายเหตุ: ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กและเยาวชนตระหนัก และเข้าใจการดูแลสุขภาพเพื่อป้องกันโรคติดเชื้อ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12600.00

กิจกรรมที่ 2 2. บริการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายในเยาวชนมุสลิม

ชื่อกิจกรรม
2. บริการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายในเยาวชนมุสลิม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายในเยาวชนมุสลิม

  • ค่าบริการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะ เพศชาย (จำนวน 1,200.- บาท X 60 คน) เป็นเงิน 72,000.- บาท

  • ค่าผ้าเปลี่ยนสำหรับป้องกันการติดเชื้อ จำนวน 60 ผืน * 80 บาท = 4,800 บาท

รวมเป็นเงิน 76,800.- บาท

หมายเหตุ: ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กและเยาวชนในตำบลดอนรักลดภาวะเสี่ยงจาการติดเชื้อ และภาวะเลือดออกมาก จากการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายเยาวชนมุสลิม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
76800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 89,400.00 บาท

หมายเหตุ :
กิจกรรมเตรียมความพร้อม 1. จัดประชุมคณะกรรมการ และคณะทำงานสุขภาพชุมชนเพื่อวางแผนการดำเนินงานโครงการ 2. ประชาสัมพันธ์ รับสมัครเด็กและเยาวชนมุสลิมเข้าร่วมโครงการ 3. จัดตารางเวลา กำหนดการเพื่อให้บริการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายแก่เด็กและเยาวชนมุสลิม กิจกรรมให้บริการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายในเยาวชนมุสลิม 1. กิจกรรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพ (การป้องกันโรคติดต่อ) แก่เด็กและเยาวชนเป้าหมาย รวมทั้งผู้ปกครอง เพื่อให้เกิดความตระหนักในการป้องกันโรค 2. กิจกรรมขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย (Circumcision)
กิจกรรมการประเมินผล 1. การติดตามและประเมินอาการหลังการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย และความพึงพอใจของผู้ปกครองเด็ก 2. สรุปผลการดำเนินโครงการในภาพรวม

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เด็กและเยาวชนมุสลิมได้รับการทำสุนัต(ขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย)
2.สามารถลดภาวะเสี่ยงของการออกเลือด ภาวะแทรกซ้อน (การอับเสบรุนแรง) และการติดเชื้อ
3.สร้างความตระหนักแก่ผู้ปกครองชุมชนในการป้องกันโรคติดเชื้อ


>