กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการส่งเสริมการมีส่วนร่วมภาคประชาชนและเยาวชนในการป้องกันปัญหายาเสพติด (ตัวอย่าง)

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมการมีส่วนร่วมภาคประชาชนและเยาวชนในการป้องกันปัญหายาเสพติด (ตัวอย่าง)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว

คณะกรรมการหมู่บ้าน หมู่ที่...

1................
2...............
3...............
4..............
5..............

หมู่ที่......ตำบลเขาขาว อำเภอละงู จังหวัดสตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสิ่งเสพติด , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ด้วยปัจจุบันสถาณการณ์การเผยแพร่ระบาดของยาเสพติด ยังคงระดับความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง รัฐบาลจึงกำหนดให้การป้องกันและแก้ไขยาเสพติด เป็นแนวนโยบายที่สำคัญและเร่งด่วนในการบริหารราชการแผ่นดิน โดยยึดหลัก "ผู้เสพ คือ ผู้ป่วยที่ต้องได้รับการบำบัดรักษา ผู้ค้า คือ ผู้ที่ต้องได้รับโทษตามกระบวนการยุติธรรม" ซึ่งกำหนดให้เร่งรัดปราบปรามการค้ายาเสพติด และป้องกันไม่ให้กลุ่มเสี่ยงเข้าไปเป็นเหยื่อของยาเสพติด โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคม ให้ร่วมดำเนินการในลักษณะบูรณาการ ควบคู่กับมาตรการทางกฎหมาย ซึ่งจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของยาเสพติดในประเทศไทย พบว่ามีเด็กและเยาวชน จำนวนไม่น้อยที่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด ทั้งเกิดจากความตั้งใจ และเกิดจากการหลงผิดโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ อีกทั้งยังมีปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่จะทำให้เด็กและเยาวชน มีโอกาสเข้าไปติดยาเสพติดเพิ่มมากขึ้นอีก เช่น เด็กและเยาวชน เป็นวัยที่ต้องการเรียนรู้ อยากลอง ต้องการเรียกร้องความสนใจ การสร้างการยอมรับ กล้าทำในสิ่งที่ท้าทาย การชักจูง และการหลอกลวง เป็นต้น ดังนั้น เด็กและเยาวชนจำเป็นต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างเพียงพอ ต้องได้รับการถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องและการรู้โทษที่ร้ายแรงของสิ่งเสพติดอย่างเหมาะสม การรู้จักการหลีกเลี่ยงสิ่งเสพติด และสิ่งสำคัญคือการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเด็กและเยาวชน โดยผนึกกำลังทุกภาคส่วน ให้ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผิดชอบ และร่วมแรงร่วมใจเป็นพลังของแผ่นดิน ที่จะต่อสู้เพื่อเอาชนะปัญหายาเสพติด

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็ก เยาวชน และประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโทษของยาเสพติด

ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมกิจกรรม มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโทษของยาเสพติด

50.00 80.00
2 เพื่อให้เด็ก เยาวชน และประชาชนได้รับรู้สถาณการณ์ยาเสพติดภายในชุมชนของตนเองและสังคมภายนอกและสามารถปฏิบัติตนให้ห่างไกลยาเสพติดได้

ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมกิจกรรม ได้รับรู้สถาณการณ์ยาเสพติดภายในชุมชนของตนเองและสังคมภายนอกและสามารถปฏิบัติตนให้ห่างไกลยาเสพติดได้

50.00 80.00
3 เพื่อสร้างเครือข่ายแนวร่วมเด็ก เยาวชน และประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด

ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมกิจกรรม สร้างเครือข่ายแนวในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด

50.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น

กำหนดเสร็จ

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมชี้แจ้งคณะทำงาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมชี้แจ้งคณะทำงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่าง 1 มื้อ มื้อละ 25 บาท จำนวน 20 คน เป็นเงิน 500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
13 มีนาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีหน้าที่ในการรับผิดชอบ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
500.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้เรื่องยาเสพติด

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เรื่องยาเสพติด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประชุมหารือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อวางแผนการดำเนินงาน

  2. เขียนโครงการและนำเสนอโครงการ เพื่อของบประมาณดำเนินโครงการ

  3. ชี้แจงรายละเอียดโครงการและกำหนดการให้กลุ่มเป้าหมาย

  4. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  5. ดำเนินกิจกรรมตามที่กำหนด

  6. สรุปผลการดำเนินงาน

ค่าใช้จ่าย

  • ค่าตอบแทนวิทยากรฝึกอบรม จำนวน 6 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเเงิน 3,600 บาท

  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อๆ ละ 75 บาท จำนวน 50 คน เป็นเงิน 3,750 บาท

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 2 มื้อๆ ละ 25 บาทจำนวน 50 คน เป็นเงิน 2,500 บาท

  • ค่าป้ายไวนิลโครงการ จำนวน 1 ป้ายๆละ 500 บาท เป็นเงิน 500 บาท

  • ค่าวัสดุอุปกรณ์ประกอบการอบรมแฟ้ม สมุด ปากกา ฯลฯ จำนวน 50 ชุดๆละ 30 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11850.00

กิจกรรมที่ 3 รณรงค์ต่อต้านยาเสพติด

ชื่อกิจกรรม
รณรงค์ต่อต้านยาเสพติด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 1 มื้อๆ ละ 25 บาทจำนวน 50 คน เป็นเงิน 1,250 บาท

  • ค่าป้ายไวนิลรณรงค์ประชาสัมพันธ์ จำนวน 3 ป้ายๆละ 500 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท

  • ค่าแผ่นพับความรู้ด้านยาเสพติด จำนวน 200 แผ่นๆ15 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5750.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 18,100.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็ก เยาวชน และประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโทษของยาเสพติดอย่างเหมาะสม
2. เด็ก เยาวชน และประชาชน ได้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับยาเสพติดในโรงเรียน สามารถใช้เป็นข้อมูลในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดได้อย่างเหมาะสม ลดปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดเข้ามาในโรงเรียน นักเรียนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหายาเสพติด และสามารถปฏิบัติตนให้ห่างไกลยาเสพติดได้
3. สร้างเครือข่ายความร่วมมือในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ทั้งในโรงเรียนและชุมชน


>