กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลลำไพล

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

เด็กบ้านลำเปาเติบโตสมวัย ปลอดภัยสมบูรณ์

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลลำไพล

โรงเรียนบ้านลำเปา

1. นางสาวฐานียาพรหมพัฒน์
2. นางสุวิมลอุไรรัตน์
3. นายเวคถิ่นเรืองสิน
4. นางสาวนภาภัสไพรบูรณ์
5. นายธวัชชัยนุ้ยสีรุ่ง

โรงเรียนบ้านลำเปาอำเภอเทพาจังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ปัญหาจากโภชนาการที่ไม่เหมาะสม ได้แก่ ภาวการณ์เจริญเติบโตไม่สมวัยจาการขาดสารอาหาร ภาวะโภชนาการเกิน การขาดสารไอโอดีน ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก โดยมีสาเหตุที่สำคัญจากการไม่ได้รับอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่ครบถ้วน

 

0.00

โภชนาการเป็นเรื่องของการกิน “อาหาร” ที่ร่างกายเรานำ “สารอาหาร” จากอาหารไปใช้ประโยชน์
และดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุข อาหารและโภชนาการเป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งต่อสุขภาพ และคุณภาพชีวิตของประชากรในวัยต่างๆ ในวงจรของมนุษย์ทุกเพศ ทุกวัยทั้ง เด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุโดยเฉพาะเด็กช่วงอายุ
4 -12 ปี เป็นวัยรากฐานของการพัฒนาการเจริญเติบโต ทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา เป็นวัยที่มีความสำคัญที่สุดในการวางพื้นฐานเพื่อยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิต เป็นระยะที่ร่างกายและสมองมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว จำเป็นต้องได้รับการเลี้ยงดูอย่างดีที่สุดเพื่อส่งเสริมการพัฒนารอบด้าน อาหารและโภชนาการที่ดีเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กทุกเพศ ทุกวัย ปัญหาทางโภชนาการที่พบบ่อยในเด็กวัยนี้ ได้แก่ ภาวการณ์เจริญเติบโตไม่สมวัยจาการขาดสารอาหาร ภาวะโภชนาการเกิน การขาดสารไอโอดีน ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก โดยมีสาเหตุที่สำคัญจากการไม่ได้รับอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่ครบถ้วน ทำให้ร่างกายไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควร นอกจากนี้ยังเกิดจากพฤติกรรมการกินของเด็กที่มีผลต่อการกำหนดนิสัย และบุคลิกภาพของเด็กในอนาคต โดยการสะสมพฤติกรรมนี้เกิดขึ้นตั้งแต่มื้อแรกในชีวิต พฤติกรรมการกินต่าง ๆ ที่พ่อแม่หรือคนเลี้ยงดูได้กำหนดให้เด็ก ซึ่งมีผลต่อนิสัยการกินของเด็กในอนาคต ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ช่วยกันดูแลเอาใจใส่ เรื่องอาหารการกินหรือโภชนาการของเด็ก ผู้ปกครอง ครู และผู้ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เพื่อช่วยให้เด็กมีอาหารการกินที่ดี มีคุณค่าทางอาหารและได้ปริมาณที่ครบถ้วน ส่วนใหญ่เด็กมีปัญหาเรื่องความผอม ไม่สมสัดส่วน ซึ่งมีความจำเป็นที่ต้องดูแล แก้ไข เอาใจใส่เด็กกลุ่มนี้ให้มีภาวะโภชนาการที่ดีต่อไป โดยทางโรงเรียนส่งเสริมให้นักเรียนชั้นอนุบาล 1 ถึง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน205 คน ทำกิจกรรมปลูกผักปลอดสารพิษภายในโรงเรียน โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และนำผลผลิตที่ได้มาประกอบอาหารเช้า ส่วนผลผลิตที่เหลือนำมาขายให้กับผู้ปกครอง
ในชุมชน ดังนั้นโรงเรียนจึงจัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อส่งเสริมให้นักเรียนได้รับความรู้และฝึกทักษะในการทำงานด้านการอาชีพเบื้องต้น และสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้กับชีวิตของตนเองและพัฒนาอาชีพต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้นักเรียน ครู และผู้ปกครอง รู้จักเลือกบริโภคอาหาร และวิธีการประกอบอาหารที่ปลอดภัย

 

0.00
2 2. เพื่อเพิ่มพื้นที่ในการปลูกผักปลอดสารพิษในโรงเรียนและชุมชน

 

0.00
3 3. เพื่อให้นักเรียนโรงเรียนบ้านลำเปามีภาวะโภชนาการที่ดีขึ้น

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 205
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงาน ครู บุคลากรและกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนบ้านลำเปา

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงาน ครู บุคลากรและกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนบ้านลำเปา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครงการและระดมความคิดแนวทางการดำเนินโครงการ 1. ครูและบุคลากรโรงเรียนบ้านลำเปา 27 คน * ค่าอาหารว่าง 25 บาท เป็นเงิน 675 บาท 2. คณะกรรมการสถานศึกษา 9 คน * ค่าอาหารว่าง 25 บาท เป็นเงิน 225 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

คณะครู บุคลากร และกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนบ้านลำเปา มีความเข้าใจเกี่ยวกับรายละเอียดของโครงการมากขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1440.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการบริโภคที่ถูกสุขลักษณะ

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการบริโภคที่ถูกสุขลักษณะ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารที่ถูกสุขลักษณะแก่นักเรียนและผู้ปกครอง จำนวน  250 คน 1.อาหารว่างและเครื่องดื่ม 250 ชุด * ชุดละ 25 บาท รวมเป็นเงิน 6,250 บาท 2.ค่าเอกสาร 250 ชุด * ชุดละ 10 บาท รวมเป็นเงิน 2,500 บาท 3.ค่าวิทยากร 2 ชั่วโมง x ชั่วโมงละ 600 บาท รวมเป็นเงิน 1,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ปกครองและนักเรียนเกิดความเข้าใจเกี่ยวกับการบริโภคอาหารที่ถูกสุขลักษณะมากยิ่งขึ้น นักเรียนได้ทำกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน คือ พัฒนาการด้านร่างกาย พัฒนาการด้านสติปัญญา พัฒนาการด้านอารมณ์ และพัฒนาการด้านสังคม ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9950.00

กิจกรรมที่ 3 การเพาะเห็ดนางฟ้า

ชื่อกิจกรรม
การเพาะเห็ดนางฟ้า
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ครูผู้รับผิดชอบนำนักเรียนชั้น ป.5 จำนวน 24 คน 2.เชิญวิทยากรที่มีความรู้เกี่ยวกับการเพาะเห็ดมาให้ความรู้เกี่ยวกับการเพาะ ดูแลและวิธีการเก็บเกี่ยวผลผลิต 3.จัดหาอุปกรณ์ในการทำโรงเรือนเพาะเห็ด จำนวน 1 โรงเรือน และก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้า จำนวน 500 ก้อน 4.นำก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้ามาจัดวางบริเวรที่เตรียมไว้ 5.ดูแล บันทึก ติดตาม สังเกตการเจริญเติบโต พร้อมทั้งบันทึกผล 6.เก็บเกี่ยวตามระยะเวลาเพื่อนำไปทำเป็นอาหารกลางวัน

1.สิเหรง ขนาด 2.50 เมตร จำนวน 40 ตับ * ราคาตับละ 30 บาท  รวมเป็นเงิน 1,200 บาท 2.ก้อนเชื้อ จำนวน 500 ก้อน * ราคาก้อนละ 10 บาท รวมเป็นเงิน 5,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.นักเรียนได้รับความรู้เกี่ยวกับการเพาะเห็ดนางฟ้า 2.นักเรียนได้ใช้ทักษะการสังเกต การเจริญเติบโตและสามารถเก็บเกี่ยวได้ตามเวลา 3.นักเรียนเกิดความภาคภูมิใจในการมีส่วนร่วมของกิจกรรมในครั้งนี้ 4.สามารถนำผลผลิตมาประกอบเป็นอาหารกลางวัน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6200.00

กิจกรรมที่ 4 ปุ๋ยหมักชีวภาพ

ชื่อกิจกรรม
ปุ๋ยหมักชีวภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ครูผู้รับผิดชอบรวมกลุ่มนักเรียนชั้น ม.1-3 จำนวน 28 คน 2.เชิญวิทยากรที่มีความรู้เรื่องการปุ้ยหมักชีวภาพมาให้ความรู้ และทำปุ๋ยหมักชีวภาพ

1.ถังพลาสติกสำหรับทำปุ้ยหมัก ราคาใบละ 1,200 บาท * 3 ใบ เป็นเงิน 3,600 บาท 2.หัวเชื้อจุลินทรีย์ EM ลิตรละ 150 บาท * 20 ลิตร รวมเป็นเงิน 3,000 บาท 3.ค่าวิทยากร 2 ชั่วโมง * ชั่วโมงงละ 600 บาท รวมเป็นเงิน 1,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนได้ทำปุ๋ยหมักชีวภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7800.00

กิจกรรมที่ 5 การปลูกผักปลอดสารพิษ

ชื่อกิจกรรม
การปลูกผักปลอดสารพิษ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ครูผู้รับผิดชอบรวมกลุ่มนักเรียนชั้น อ.1 – ม.3 จำนวน 205 คน 2.เชิญชาวบ้านที่มีความรู้เรื่องการปลูกผักมาให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการเพาะเมล็ดพันธ์ผัก ดูแลและวิธีการเก็บเกี่ยวผลผลิต 3.จัดหาเมล็ดพันธ์ผัก เช่น ผักบุ้ง ผักกาดขาว ผักกวางตุ้ง แตงกวา ถั่วฝักยาว ผักชี กะเพราะ โหระพา กะหล่ำปลี เป็นต้น 4.จัดเตรียมพื้นที่สำหรับปลูกผักบริเวณภายในโรงเรียน จำนวน 2 ไร่ 5.ดูแลบันทึก ติดตาม สังเกตการเจริญเติบโต พร้อมทั้งบันทึกผล 6.เก็บเกี่ยวตามระยะเวลาเพื่อนำไปจัดทำเป็นอาหารกลางวัน

1.เมล็ดพันธ์ผัก เป็นเงิน 3,000 บาท 2.ดินที่ใช้ในการเพาะปลูก จำนวน 30 กระสอบ * กระสอบละ 35 บาท รวมเป็นเงิน 1,050 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.นักเรียนได้รับความรู้เกี่ยวกับวิธีการปลูกผักปลอดสารพิษ 2.นักเรียนได้ใช้ทักษะในการสังเกตการเจริญเติบโตและสามารถเก็บเกี่ยวได้ตามเวลา 3.นักเรียนเกิดความภาคภูมิใจในการมีส่วนร่วมของกิจกรรมครั้งนี้ 4.สามารถนำผลผลิตมาประกอบเป็นอาหารกลางวัน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4050.00

กิจกรรมที่ 6 กิจกรรมตลาดนัดพอเพียง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมตลาดนัดพอเพียง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ทุกสัปดาห์สุดท้ายของเดือนจะให้นักเรียนนำผลผลิตที่ได้จากโรงเรียน ครัวเรือน หรือชุมชนมาจำหน่ายในตลาดนัด

วัสดุในการทำซุ้ม        รวมเป็นเงิน 8,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้ผักปลอดสารพิษ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8000.00

กิจกรรมที่ 7 แปรรูปอาหาร

ชื่อกิจกรรม
แปรรูปอาหาร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ครูผู้รับผิดชอบ รวมกลุ่มนักเรียนชั้น ป.6 จำนวน 24 คน 2.เชิญชาวบ้านที่มีความรู้ มาให้ความรู้ในการแปรรูปอาหาร 3.จัดหาวัสดุ อุปกรณ์ในการแปรรูปอาหาร

วัสดุอุปกรณ์ในการแปรรูปอาหาร    รวมเป็นเงิน 1,360 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.นักเรียนได้รับความรู้เกี่ยวกับการแปรรูปอาหาร 2.นักเรียนเกิดความภาคภูมใจในการมีส่วนร่วมจากการจัดกิจกรรม 3.นักเรียนนำความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้การแปรรูปอาหารไปใช้ในชีวิตประจำวัน และสามารถสร้างรายได้แก่ครอบครัว

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1360.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 38,800.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจวิธีการปลูกผักปลอดสารพิษและสามารถนำไปปฏิบัติได้ในชีวิตประจำวัน
2. นักเรียนรู้จักเลือกบริโภคอาหารและวิธีประกอบอาหารที่ปลอดภัย
3. นักเรียนมีน้ำหนัก ส่วนสูง เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน
4. โรงเรียนและชุมชนเป็นโรงเรียนปลอดสารพิษ และชุมชนปลอดสารพิษ


>