กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมห่างไกลโรคเรื้อรัง ตำบลเขาขาว อำเภอละงู จังหวัดสตูล

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว

อสม.ตำบลเขาขาว

นางสาวซีตีลานี ยาประจัน
นางสาวนิตยาดินเตบ
นางชนิดาองสารา
นางเสาวนีย์ รอดเสน
นางสุนีย์ ศรีอ่อน

อสม.ตำบลเขาขาว

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสุรา , แผนงานยาสูบ , แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

16.42
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

8.20

กลุ่มโรค NCDs เป็นโรคอันดับหนึ่งที่ทำให้คนไทยป่วย พิการ และเสียชีวิต ในปี 2556 พบว่าคนไทยที่เสียชีวิตร้อยละ 71 มีสาเหตุจากโรคเอ็นซีดีสำคัญ ได้แก่ 1) โรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง 2) โรคเบาหวาน 3) โรคมะเร็ง 4) โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง ซึ่งผู้ที่เสี่ยงเป็นโรคเอ็นซีดีจะมีกลุ่มอาการทางเมตาบอลิกเกิดขึ้น คือ ไขมันสูงความดันโลหิตสูง 3) น้ำตาลในเลือดสูง และน้ำหนักเกิน/อ้วน การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เกิดจากการมีพฤติกรรมเสี่ยงที่สำคัญ เช่น การบริโภคยาสูบ การดื่มแอลกอฮอล์ การบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม การมีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ การส่งเสริมมาตรการ 3 อ 2 ส (อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์ เลิกยาสูบ เลิกสุรา) ในกลุ่มเสี่ยงต่อโรค NCDs รวมถึงประชาชนวัยทำงาน จะช่วยลดโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรค NCDs โดยเฉพาะเบาหวาน ความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจและหลอดเลือด ได้ ทั้งนี้ประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปมีความเสี่ยงมากกว่ากลุ่มที่อายุน้อย ในพื้นที่ ตำบลเขาขาว มีประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป จำนวน 2740 คน มีกลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสเป็นโรคและกลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 450 , 193 คน เพื่อลดการเกิดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงในพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาขาวจึงจัดทำโครงการ ปรับพฤติกรรม 3 อ. 2 ส. (อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์ เลิกยาสูบ เลิกสุรา)

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายเกิดความตระหนักและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3 อ. 2 ส.

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 20
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 140
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงาน และ ทำแผนการจัดกิจกรรมให้กลุ่มเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงาน และ ทำแผนการจัดกิจกรรมให้กลุ่มเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดประชุมคณะทำงาน แกนนำอสม.ทุกหมู่บ้าน รวม 20 คน

  1. ค่าอาหารว่างผู้เข้ารับการอบรมมื้อละ 25 บาท 1 มื้อ จำนวน 20 คน เป็นเงิน 500 บาท

  2. ค่าป้ายโครงการเป็นเงิน 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 มีนาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

คณะทำงานเข้าร่วมประชุม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1000.00

กิจกรรมที่ 2 จัดโปรแกรมการป้องกันโรค กลุ่มโรค NCDs

ชื่อกิจกรรม
จัดโปรแกรมการป้องกันโรค กลุ่มโรค NCDs
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดโปรแกรมการป้องกันโรคเบาหวานโรคความดันโลหิตสูงในชุมชนทุกหมู่บ้านโดยจัดกิจกรรมหมู่บ้านละ 1 วัน7หมู่บ้าน รวม7วัน

  1. ค่าอาหารกลางวันผู้เข้ารับการอบรมคนละ 75 บาทจำนวน 140 คนเป็นเงิน 10,500 บาท

  2. ค่าอาหารว่างผู้เข้ารับการอบรมมื้อละ 25 บาท 2 มื้อ จำนวน 140 คนเป็นเงิน 7,000 บาท

  3. ค่าวิทยากรวันละ 5 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาทจำนวน 4 วัน เป็นเงิน 12,000 บาท

หมายเหตุ สามารถถั่วเฉลี่ยได้ทุกรายการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
29500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 30,500.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. กลุ่มเสี่ยง สามารถปฏิบัติตนตามหลัก 3 อ. 2 ส. (อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์ เลิกยาสูบ เลิกสุรา) ลดการเป็นผู้ป่วยรายใหม่กลุ่มโรค NCDs


>