กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กะรุบี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ เด็กกะรุบีฟันดี ทุกที่ทุกวัย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กะรุบี

กลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลกะพ้อ อำเภอกะพ้อ จังหวัดปัตตานี

เด็กในโรงเรียนประถมศึกษา เขตกะรุบี,เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เขตกะรุบี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากผลการสำรวจสภาวะช่องปากเด็กอายุ 3 ปี, 6 ปี และ 12 ปี ในตำบลกะรุบี พบว่า เด็กอายุ 3 ปี มีฟันน้ำนมผุ คิดเป็นร้อยละ 9.38, ส่วนเด็กอายุ 6 ปี ซึ่งเป็นช่วงอายุที่ฟันแท้เพิ่งขึ้น ก็มีฟันแท้ผุคิดเป็นร้อยละ 10.52, สำหรับเด็กอายุ 12 ปี มีฟันแท้ผุคิดเป็นร้อยละ 57.89 ซึ่งมากกว่าค่าเฉลี่ยของจังหวัดปัตตานี ที่เด็กอายุ 12 ปี มีฟันแท้ผุร้อยละ 51.02 จะเห็นได้ว่าเด็กกะรุบีมีฟันแท้ผุตอนอายุ 12 ปี เพิ่มขึ้นถึง 5 เท่า เมื่อเทียบกับตอนอายุ 6 ปี
นอกจากนี้ จากการสำรวจเด็กที่ศึกษาที่โรงเรียนบ้านกะรุบี และโรงเรียนบ้านวังกะพ้อ “เพียรอนุสรณ์” พบว่าเด็กส่วนใหญ่ซึ่งเป็นเด็กกะรุบีไม่ได้แปรงฟันเลย ทั้งในตอนเช้าและตอนเย็น ทางโรงพยาบาลกะพ้อ ร่วมกับโรงเรียนทั้งสองจัดกิจกรรมแปรงฟันหลังอาหารกลางวันขึ้น เพื่อให้เด็กกะรุบีมีโอกาสได้แปรงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์บ้าง อย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง แต่เนื่องจากข้อจำกัดด้านการเงินของผู้ปกครองเด็กและของโรงเรียน ทำให้เกิดความลำบากและขัดข้องในการจัดหาอุปกรณ์ ได้แก่ แปรงสีฟัน และยาสีฟัน เพื่อให้เด็กใช้สำหรับการแปรงฟันหลังอาหารกลางวัน ทำให้กิจกรรมดังกล่าวมีการหยุดชะงักไปบางช่วง ทางโรงพยาบาลกะพ้อจึงใคร่ขอการสนับสนุนจากทางองค์การบริหารส่วนตำบลกะรุบี ในการจัดหาแปรงสีฟันและยาสีฟัน ให้เด็กกะรุบีใช้สำหรับแปรงฟันหลังอาหารกลางวันในโรงเรียนต่อไป
สำหรับเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อบต.กะรุบี ซึ่งเป็นเด็กวัย 2-5 ขวบ ก็พบปัญหาเรื่องไม่ได้แปรงฟันเลย ทั้งในตอนเช้าและตอนเย็นเช่นกัน ทางโรงพยาบาลกะพ้อ จึงร่วมกับศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อบต.กะรุบี จัดกิจกรรมแปรงฟันหลังอาหารกลางวันขึ้น รวมถึงจะจัดส่งทันตแพทย์และ/หรือทันตาภิบาล รวมถึงผู้ช่วยทันตแพทย์ ออกไปให้บริการตรวจฟัน และเคลือบฟลูออไรด์ให้แก่เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กด้วย เพื่อให้เด็กกะรุบีกลุ่มนี้มีสุขภาพฟันที่แข็งแรงขึ้น และมีฟันผุลดลง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1. เพื่อให้เด็กในโรงเรียนประถมศึกษา เขตกะรุบี สามารถแปรงฟันหลังอาหารกลางวันได้อย่างมีคุณภาพ
2. เพื่อให้เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เขตกะรุบี สามารถแปรงฟันหลังอาหารกลางวันได้อย่างมีคุณภาพ
3. เพื่อให้เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เขตกะรุบี ได้รับการตรวจฟัน และเคลือบฟลูออไรด์ป้องกันฟันผุ

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 96
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 415
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมในโรงเรียนประถมศึกษาเขตกะรุบี

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมในโรงเรียนประถมศึกษาเขตกะรุบี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าวัสดุและอุปกรณ์  จำนวนเงิน   20,576.00 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ร้อยละ 80 ของเด็กในโรงเรียนประถมศึกษา เขตกะรุบี มีการแปรงฟันหลังอาหาร
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20576.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมแปรงฟันหลังอาหารกลางวันในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอย่างมีคุณภาพ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมแปรงฟันหลังอาหารกลางวันในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอย่างมีคุณภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าวัสดุและอุปกรณ์จำนวน 4,776.00บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ร้อยละ 80 ของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เขตกะรุบี มีการแปรงฟันหลังอาหารกลางวัน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4776.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมตรวจฟัน และเคลือบฟลูออไรด์ป้องกันฟันผุ ให้แก่เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมตรวจฟัน และเคลือบฟลูออไรด์ป้องกันฟันผุ ให้แก่เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าวัสดุและอุปกรณ์  จำนวน   2,001.30 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 80 ของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เขตกะรุบี ได้รับการตรวจฟัน และเคลือบฟลูออไรด์ป้องกันฟันผุ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2001.30

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 27,353.30 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็กในโรงเรียนประถมศึกษา เขตกะรุบี ร้อยละ 80 สามารถแปรงฟันหลังอาหารกลางวันอย่างมีคุณภาพ
3. เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เขตกะรุบี ร้อยละ 80 สามารถแปรงฟันหลังอาหารกลางวันอย่างมีคุณภาพ
3. เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เขตกะรุบี ร้อยละ 80 ได้รับการตรวจฟัน และเคลือบฟลูออไรด์ป้องกันฟันผุ


>