กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ภูเขาทอง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการให้ความรู้และตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก,มะเร็งเต้านม

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ภูเขาทอง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลภูเขาทอง

1. นายวีระศักดิ์ สุโพธิ์
2. นางน้ำฝน เทียมเลิศ
3. นางสุนันทา ทับชา
4. นางอรนงค์ รักษคุณ
5. นางณัฐฑิตา นรพิมพ์

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลภูเขาทอง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนอายุ 30 - 70 ปี ในพื้นที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม

 

8.00

ในปัจจุบันโรคมะเร็งปากมดลูกเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของประเทศไทย ซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ การควบคุมโรคมะเร็งปากมดลูก ต้องมีการค้นหา โดยการตรวจหาเซลล์มะเร็งให้พบตั้งแต่อยู่ในระยะเริ่มแรก และในระยะก่อนเป็นมะเร็ง ซึ่งสามารถรักษาให้หายได้ และเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการรักษาในระยะลุกลาม และจากการศึกษาขององค์การอนามัยโลก ได้พบว่าการคัดกรองด้วยการทำ pap smear ในสตรีกลุ่มอายุ 30 – 70 ปี ทำให้ช่วยลดอัตราการเกิดโรคและอัตราการตายจากโรคมะเร็งปากมดลูกได้ สำหรับโรคมะเร็งเต้านมในสตรีไทย พบว่าสตรีทุก 16 คนมีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมได้1 คนแม้ว่ามะเร็งเต้านม ทำให้เกิดความสูญเสียและเป็นสาเหตุการตายในอัตราที่สูง แต่ก็เป็นโรคที่สามารถรักษาได้ และการพยากรณ์โรคค่อนข้างดี ถ้าสามารถตรวจพบและให้การรักษาในระยะเริ่มแรก ซึ่ง 80 เปอร์เซ็นต์ของมะเร็งเต้านม สามารถตรวจพบได้โดยการตรวจเต้านมด้วยตนเองเป็นประจำทุกเดือน เพื่อค้นหาความผิดปกติของเต้านม ซึ่งเป็นวิธีที่ได้รับการแนะนำให้ปฏิบัติมากที่สุด เนื่องจากเป็นวิธีที่ไม่ยุ่งยาก สามารถปฏิบัติได้ง่ายด้วยตนเอง โดยไม่ต้องอาศัยเครื่องมือพิเศษใดๆช่วยในการตรวจ ประหยัดเวลา ไม่เสียค่าใช้จ่าย จากสถิติของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่าร้อยละ 60 ของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่มารับการรักษาเมื่อระยะของโรคลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลืองแล้ว ทั้งนี้เนื่องมาจากสตรีเหล่านี้ไม่เคยตรวจเต้านมด้วยตนเอง รวมทั้งการขาดความรู้ ความเชื่อมั่น ในการตรวจเต้านม

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ประชาชนหญิงอายุ 30 – 70 ปีได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมครอบคลุมทุกราย

ประชาชนหญิงอายุ 30 – 70 ปีได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมครอบคลุมทุกราย

8.00 10.00
2 2. เพื่อให้ประชาชนหญิงอายุ 30- 70 ปี ได้รับความรู้เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม

ประชาชนหญิงอายุ 30- 70 ปี  ได้รับความรู้เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม

8.00 10.00
3 3. เพื่อให้กลุ่มที่พบว่ามีภาวะผิดปกติได้รับการรักษาที่ถูกต้องและอย่างทันท่วงที

กลุ่มที่พบว่ามีภาวะผิดปกติได้รับการรักษาที่ถูกต้อง

8.00 10.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 50
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 03/04/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการให้ความรู้และตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก,มะเร็งเต้านม

ชื่อกิจกรรม
โครงการให้ความรู้และตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก,มะเร็งเต้านม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ประชุมเจ้าหน้าที่รพ.สต.ภูเขาทองและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเพื่อสำรวจกลุ่มเป้าหมาย และชี้แจง วัตถุประสงค์ 2.สำรวจกลุ่มเป้าหมายที่ยังไม่รับการคัดกรอง โดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 3. จัดทำโครงการเสนอขอสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลภูเขาทอง 4. จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ตลอดจนจัดเตรียมสถานที่สำหรับจัดกิจกรรม 5. ประชาสัมพันธ์ ให้กลุ่มเป้าหมายให้เข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม 6. จัดกิจกรรมคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ในกลุ่มอายุ 30- 70 ปี พร้อมแจ้งผลการคัดกรองให้กลุ่มเป้าหมายทราบ 7. สรุป จัดทำทะเบียนกลุ่มที่พบความผิดปกติมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม และส่งต่อกลุ่มผิดปกติเข้าสู่ระบบส่งต่อของโรงพยาบาลสุคิริน เพื่อให้ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง 10. ติดตาม ประเมินผลการดำเนินโครงการ และ ติดตามกลุ่มที่ผิดปกติต่อไป 1.1 กิจกรรมย่อย ให้ความรู้/ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ค่าวิทยากรเหมาจ่ายเป็นเงิน 1,800 บาท (1 คน x 600 บาท x 5 ชม.) ค่าอาหารกลางวัน..50..บ.x..100..คน x 1 มื้อ = 5,000บ. ค่าอาหารว่าง...25..บ.x100 คน x 2 มื้อ = 5,000บ. ค่าป้ายโครงการ 500 บ. x 1 ผืน = 500 บ. รวม...................12,300................บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 เมษายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ประชาชนอายุ 30 - 70 ปี ในพื้นที่ได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมทุกปี
  2. ได้รับความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายในชุมชน ในการดูแลสุขภาพประชาชนร่วมกัน
  3. ประชาชนกลุ่มผิดปกติได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและเหมาะสม
  4. อัตราป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมรายใหม่ลดลง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12300.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 12,300.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

สามารถตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมเพื่อค้นหาผู้ป่วยให้ได้รับการรักษาตั้งแต่ในระยะแรก ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที


>