กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตาแกะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสตรีตั้งครรภ์เมื่อพร้อม ฝากครรภ์ ลดซีด ลดเสี่ยงฯ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตาแกะ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตาแกะ

1.นางแวมารีนีมะแซ
2.นางสาวฟัตฮียะห์ตาแม
3.นายตัลมีซีกาเดร์

ตำบลตาแกะ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ ที่ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์

 

70.00
2 ร้อยละของหญิงฝากครรภ์ที่สามารถฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง

 

50.00
3 ร้อยละของหญิงคลอด ที่ได้รับการตรวจและเยี่ยมหลังคลอด

 

50.00
4 ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ ที่ได้รับการคัดกรองและป้องกันโรคทาลัสซีเมีย

 

50.00
5 ร้อยละของแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นระยะเวลา 6 เดือน

 

80.00
6 ร้อยละของหญิงวัยเจริญพันธุ์ ที่มีภาวะซีด

 

10.00
7 ร้อยละของหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม

 

80.00
8 จำนวนหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีภาวะตั้งครรภ์วัยรุ่น(อายุน้อยกว่า 20 ปี) (คน)

 

20.00

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีภาวะตั้งครรภ์วัยรุ่น

จำนวนหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีภาวะตั้งครรภ์วัยรุ่น(อายุน้อยกว่า 20 ปี) (คน)

20.00 50.00
2 เพื่อเพิ่มจำนวนหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์

ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ (เพิ่มขึ้น)

70.00 90.00
3 เพื่อส่งเสริมหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง

ร้อยละของหญิงฝากครรภ์ ที่สามารถฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง เพิ่มขึ้น

50.00 100.00
4 เพื่อส่งเสริมหญิงตั้งครรภ์อย่างมีคุณภาพ ลดการผิดปกติจากการตั้งครรภ์

ร้อยละของหญิงคลอด ที่ได้รับการตรวจและเยี่ยมหลังคลอดเพิ่มขึ้น

50.00 100.00
5 เพื่อป้องกันโรคทาลัสซีเมีย

ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ที่ ได้รับการคัดกรองและป้องกันโรคทาลัสซีเมีย เพิ่มขึ้น

50.00 100.00
6 เพื่อส่งเสริมแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ระยะเวลา 6 เดือน

ร้อยละของแม่ ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นระยะเวลา 6 เดือน เพิ่มขึ้น

80.00 100.00
7 เพื่อลดภาวะซีดในหญิงวัยเจริญพันธุ์

ร้อยละของหญิงวัยเจริญพันธุ์ ที่มีภาวะซีด ลดลง

10.00 0.00
8 เพื่อส่งเสริมและเตรียมความพร้อมหญิงวัยเจริญพันธุ์

ร้อยละของหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม เพิ่มขึ้น

80.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 200
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 13/03/2023

กำหนดเสร็จ 31/07/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับ “การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร” (ในวัยรุ่น/วัยเรียน) แก่กลุ่มหญิงวัยเจริญพันธ์ 12-18 ปี

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับ “การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร” (ในวัยรุ่น/วัยเรียน) แก่กลุ่มหญิงวัยเจริญพันธ์ 12-18 ปี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับ “การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร” (ในวัยรุ่น/วัยเรียน) แก่กลุ่มหญิงวัยเจริญพันธ์ 12-18 ปี
- ค่าอาหารกลางวัน 50 คน x 50 บาท x 1 มื้อ
เป็นเงิน 2,500 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 50 คน x 25 บาท x2 มื้อ เป็นเงิน 2,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
13 มีนาคม 2566 ถึง 31 มีนาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ทำให้เด็กและเยาวชนมีความรู้ความเข้าใจ ในการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร (ในวัยรุ่น/วัยเรียน)

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5000.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์และสามีหรือญาติ ในหลักสูตรโรงเรียนพ่อแม่ ครั้งที่ 1 และการดูแลสุขภาพช่องปากของหญิงตั้งครรภ์ (6 ครั้ง/ปี)

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์และสามีหรือญาติ ในหลักสูตรโรงเรียนพ่อแม่ ครั้งที่ 1 และการดูแลสุขภาพช่องปากของหญิงตั้งครรภ์ (6 ครั้ง/ปี)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

การเรียนรู้ในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์และสามีหรือญาติ ในหลักสูตรโรงเรียนพ่อแม่ ครั้งที่ 1 และการดูแลสุขภาพช่องปากของหญิงตั้งครรภ์ - ค่าอาหารกลางวัน 100 คน x 50 บาท x 1 มื้อ
เป็นเงิน 5,000 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 100 คน x25 บาท x2 มื้อ เป็นเงิน 5,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
13 มีนาคม 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และสามีหรือญาติของหญิงตั้งครรภ์ มีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรม “ลดซีด ลดเสี่ยง” ในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม “ลดซีด ลดเสี่ยง” ในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมอบรมให้ความรู้“ลดซีด ลดเสี่ยง” ในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ - ค่าอาหารกลางวัน 50 คน x 50 บาท x 1 มื้อ
เป็นเงิน 2,500 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 50 คนx 25 บาท x2 มื้อ เป็นเงิน 2,500 บาท วัสดุอุปกรณ์เครื่องเขียนและป้ายไวนิลเป็นเงิน 1,300 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
13 มีนาคม 2566 ถึง 31 มีนาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ มีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพ ไม่มีอาการซีดในขณะตั้งครรภ์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6300.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 21,300.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ครอบครัว ชุมชน และเครือข่ายองค์กรทุกภาคส่วน มีส่วนร่วมในการพัฒนางานอนามัยแม่และเด็กแบบองค์รวมให้ประสบความสำเร็จมีคุณภาพและยั่งยืน รวมถึงหญิงมีครรภ์ได้รับการดูแลในระยะการตั้งครรภ์จนถึงระยะหลังคลอดอย่างมีคุณภาพ และในรายที่มีความเสี่ยงได้รับการส่งต่อไปยังสถานบริการของรัฐตามมาตรฐานการส่งต่อ ตลอดจนส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์ได้คลอดกับสถานพยาบาลของรัฐมากขึ้น เพื่อให้มารดาและทารกนั้นคลอดอย่างปลอดภัย และช่วยลดอัตราตายในมารดาและทารก


>