กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปูโยะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคัดกรองและควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ประจำปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปูโยะ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปูโยะ

ตำบลปูโยะ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวาน

 

5.94
2 ร้อยละของผู้ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง

 

20.83

ตำบลปูโยะมีประชากร 6,942คน พบว่าสถานการณ์การเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นโดยพบว่าผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ขึ้นทะเบียนจำนวน 139 คน คิดเป็นร้อยละ 5.94และผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ขึ้นทะเบียนจำนวน 429 คน คิดเป็นร้อยละ 20.83 และพบว่าผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานจำนวน 1 คน และมีภาวะแทรกซ้อนจากโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 2 คน ซึ่งส่วนใหญ่เกิดในกลุ่มป่วยที่ขาดการรับประทานยาที่ต่อเนื่อง อีกทั้งจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทุกระดับ รวมทั้งประชาชนอย่างจริงจัง เพื่อให้ประชาชนมีการออกกำลังกายสม่ำเสมอสัปดาห์ละอย่างน้อย 3-5 วันๆละอย่างน้อย 30 นาที ร่วมกับการรับประทานผักและผลไม้สด วันละอย่างน้อยครึ่งกิโลกรัมขึ้นไปหรือกินผักครึ่งหนึ่งอย่างอื่นครึ่งหนึ่ง และลดอาหารไขมัน ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือดได้ร้อยละ 30

ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นผู้ป่วยขาดการดูแลที่ต่อเนื่องและเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนมากขึ้น คปสอ.สุไหงโก-ลก ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปูโยะและภาคีเครือข่าย จึงได้จัดทำโครงการ คัดกรองและควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรังขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมให้กลุ่มเป้าหมายดังกล่าวได้รับการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง มีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี สามารถดูแลตนเองได้อย่างเหมาะสมครอบครัว ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพแบบยั่งยืนและมุ่งหวังในการที่จะเสริมสร้างสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ให้ดียิ่งขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ประชาชนได้รับการคัดกรองโรคเรื้อรัง
  1. ร้อยละของประชากรอายุ ๓๕ ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
0.00 90.00
2 2. เพื่อลดอัตราการเกิดโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่
  1. ร้อยละของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่
0.00 10.00
3 3.เพื่อให้กลุ่มป่วยได้รับการคัดกรองภาวะแทรกซ้อน
  1. ร้อยละของผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงได้รับการคัดกรองภาวะแทรกซ้อน
0.00 60.00
4 เพื่อลดอัตราการเกิดโรคเบาหวานรายไหม่

ร้อยละของผู้ป่วยโรคเบาหวานรายใหม่

5.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 100
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 40
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
- ประชาชน อายุ ๓๕ ปีขึ้นไป 2,029

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 03/10/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. กิจกรรมคัดกรองโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง/หัวใจและ หลอดเลือด

ชื่อกิจกรรม
1. กิจกรรมคัดกรองโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง/หัวใจและ หลอดเลือด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. กิจกรรมคัดกรองโรคเบาหวาน
    ความดันโลหิตสูง/หัวใจและหลอดเลือด
    • ค่าจ้างเหมาถ่ายเอกสารแบบคัดกรองโรคเรื้อรัง
      จำนวน 1,000 แผ่น แผ่นละ 0.50 บาท   
      เป็นเงิน 500 บาท
    • ค่าจัดซื้อเครื่องวัดความดันโลหิต
      จำนวน ๖ เครื่อง เครื่องละ ๑,๖๐๐ บาท         
      เป็นเงิน 9,600 บาท
    • ค่าจัดซื้อเครื่องตรวจระดับน้ำตาลในเลือด
      จำนวน 6 เครื่อง เครื่องละ 1,800 บาท       
      เป็นเงิน 10,800 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
3 ตุลาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-เพื่อให้ประชาชนอายุ ๓๕ ปี
ได้รับการคัดกรอง HT/DM ๑ ครั้ง/ปี ร้อยละ ๙๐ - เพื่อค้นหาผู้ป่วยที่มีความ เสี่ยงและผู้ป่วยรายใหม่ -เพื่อให้ประชาชนอายุ ๓๕ ปี
ได้รับการคัดกรอง CVD risk ๑ ครั้ง/ปี ร้อยละ ๙๐

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20900.00

กิจกรรมที่ 2 2. กิจกรรมมหกรรมคัดกรองภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

ชื่อกิจกรรม
2. กิจกรรมมหกรรมคัดกรองภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. กิจกรรมมหกรรมคัดกรองภาวะแทรก
    ซ้อนในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 110 คน x๒๕ บาท x ๒ มื้อ
      เป็นเงิน 5,500 บาท
    • ค่าอาหารกลางวัน
      จำนวน110 คน x ๕๐ บาท เป็นเงิน 5,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
3 ตุลาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.เพื่อให้กลุ่มป่วยได้รับการคัดกรองภาวะแทรกซ้อนตา
ไต เท้า ตามเกณฑ์ ร้อยละ ๘๐

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11000.00

กิจกรรมที่ 3 3. กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การบริโภคอาหาร ลด หวาน มัน เค็มในกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง

ชื่อกิจกรรม
3. กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การบริโภคอาหาร ลด หวาน มัน เค็มในกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารลด หวาน มัน เค็ม ในกลุ่มเสี่ยง
    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม
      จำนวน 40 คน x ๒๕ บาท x ๒ มื้อ เป็นเงิน 2,000 บาท
    • ค่าอาหารกลางวัน
      จำนวน 40 คน x 50 บาท
      เป็นเงิน 2,000 บาท
    • ค่าวิทยากร จำนวน 1 คน จำนวน 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
    • ค่าวิทยากรกลุ่มจำนวน 4 คน คนละ 2 ชั่วโมงๆละ 300 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท
    • ค่าจัดซื้อเครื่องวัดไขมันในร่างกายเครื่องละ 6,290 บาท x 1 เครื่อง เป็นเงิน 6,290 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
3 ตุลาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • กลุ่มเสี่ยงมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องตามหลัก (๓  อ.  ๒  ส.)
    • เพื่อลดอัตราผู้ป่วย DM รายใหม่ไม่เกินร้อยละ  ๕
    • เพื่อลดอัตราผู้ป่วย HT  รายใหม่ไม่เกินร้อยละ  ๑๐
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14490.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 46,390.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงและโรคหลอดเลือดหัวใจ
2. ผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้รับการคัดกรองภาวะแทรกซ้อน
3. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดหวาน มันเค็ม


>