กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กายูคละ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาเครือข่ายชุมชน ร่วมใจ ห่วงใย ผู้ป่วยจิตเวช ปี 2566 (รพ.สต.บ้านสามแยก)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กายูคละ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสามแยก

นางโซเฟีย ยามี
นายอุดมศักดิ์ จินดาวิจิตร์

พื้นที่รับผิดชอบ รพ0สต.บ้านสามแยก ม.4 ม.5 ม.6 ม.7 ตำบลกายูคละ อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสุขภาพจิต

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันโรคทางจิตเวชเป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุข นับวันเพิ่มมากขึ้น ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจของประเทศโรคทางจิตเวชก่อให้เกิดความผิดปกติทางด้านความคิด อารมณ์ การรับรู้ และพฤติกรรม จำเป็นต้องได้รับการรักษาตลอดชีวิต การเจ็บป่วยซ้ำถี่มากขึ้น ยิ่งทำให้เกิดความเสื่อมถอยของบุคลิกภาพ ขาดทักษะพื้นฐานในการแก้ปัญหา มีพฤติกรรมก้าวร้าว หลงผิด ประสาทหลอน และพฤติกรรมฆ่าตัวตาย เป็นต้น การมีสมาชิกในครอบครัวที่ป่วยด้วยโรคทางจิตเวช มีผลกระทบต่อสมาชิกในครอบครัวเป็นอย่างมาก ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และเศรษฐกิจ
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสามแยก มีจำนวนผู้ป่วยโรคทางจิตเวชที่เข้ามารับบริการ 29 ราย มีอาการคลุ้มคลั่ง2-3 ราย จากการทบทวน พบว่า ผู้ป่วยบางรายรับยาไม่ต่อเนื่องหรืออาการดีขึ้นว่างงานไม่มีงานทำ อาการกำเริบซ้ำ สาเหตุจากการว่างงาน รู้สึกไร้ค่าเป็นภาระผู้ดูแลดังนั้นทางงานสุขภาพจิต โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสามแยก ได้เห็นความสำคัญโรคจิตเวช จึงได้จัดทำโครงการฟื้นฟูสมรรถภาพและติดตามผู้ป่วยจิตเวชแบบบูรณาการโดยเครือข่าย เพื่อให้หน่วยงานทุกภาคส่วนตลอดจนประชาชนเห็นความสำคัญเกิดทักษะในการดูแล ติดตาม ฟื้นฟูและเสริมความมีคุณค่าในตัวเองและครอบครัว

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ในการดูแลและสังเกตพฤติกรรมเข้าข่ายกลุ่มอาการจิตเวช

กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ในการดูแลและสังเกตพฤติกรรมเข้าข่ายกลุ่มอาการจิตเวช สามารถคัดกรองภาวะการเจ็บป่วยได้

120.00 120.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 120
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมเชิงปฏิบัติการประเมิน คัดกรอง สาธิตย้อนกลับ โดยเครือข่ายชุมชน

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เครือข่ายชุมชนมีมความรู้ในการสังเกตพฤติกรรมเข้าข่ายกลุ่มอาการจิตเวช สามารถคัดกรองภาวะการเจ็บป่วยได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
21400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 21,400.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>