กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กะรุบี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมโภชนาการต่อภาวะทุพโภชนาการในเด็ก 0-5 ปี

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กะรุบี

อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้านเขตรพ.กะพ้อ

1.นางสาวรอฮานา เต็งมะ
2.นางสาวมาสะนะ ลาสะ
3.นางสาวพารีดะห์ รอมีซา
4.นางสาวฮาลีเมาะเด็งโด
5.นางยุพิน สาเมาะ

พื้นที่เขต PCU รพ.กะพ้อ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ภาวะโภชนาการที่ดีเป็นพื้นฐานสำคัญต่อการเจริญเติบโตทางด้านร่างกาย การพัฒนา ทางด้านจิตใจตลอดจนความเป็นอยู่ที่ดีตลอดช่วงชีวิตฤ โดยเฉพาะเด็กวัยก่อนเรียนเป็นช่วงวัยที่ร่างกายและ สมองมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วหากมีภาวะโภชนาการที่ไม่เหมาะสมย่อมส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาว (จัก รินทร์ ปริมานนท์,ปุญญพัฒน์ ไชยเมลล์,และสมเกียรติยศ วรเดช, 2561) ภาวะทุพโภชนาการในเด็กวัยก่อน เรียนยังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ ถึงแม้สถานการณ์ภาวะเตี้ยในเด็กก่อนวัยเรียนจะลดลง แต่ยังมีเด็กอายุ ต่ำกว่า 5 ปีทั่วโลก 150.8 ล้านคนที่มีภาวะเตี้ย และ50.5 ล้านคนมีภาวะผอม ในขณะที่เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ทั่วโลก 38.3 ล้านคน สำหรับประเทศไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยพบว่ามีความชุกของ เด็กที่มีภาวะผอมสูงที่สุด รองลงมาคือภาคกลาง (วิชัย เอกพลากร, 2559) จากข้อมูลด้านโภชนาการเด็กอายุ น้อยกว่า 5 ปี ไตรมาสที่ 4 ปีงบประมาณ 2561 ของจังหวัดปัตตานี พบว่า เด็กอายุที่น้อยกว่า 5 ปีที่ได้รับ การประเมินจำนวน 15,282 คน มีน้ำหนักตามเกณฑ์ร้อยละ 46.19 ส่วนสูงตามเกณฑ์ร้อยละ 52.65 ส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วนร้อยละ 74.81 สำหรับอำเภอกะพ้อมีสถิติที่ไม่แตกต่างจากสถิติโดยรวมของ จังหวัดปัตตานี โดยเด็กที่ได้รับการประเมิน จำนวน 10,92 คน มีน้ำหนักตามเกณฑ์ละ 53.38 ส่วนสูงตาม เกณฑ์ร้อยละ 52.28 ส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วนร้อยละ 65.29 จะเห็นได้ว่ามีเพียงกึ่งหนึ่งของเด็ก ทั้งหมดเท่านั้นที่มีการเจริญเติบโตที่เหมาะสม เด็กที่ขาดสารอาหารมีแนวโน้มที่จะเจ็บปุ่วยบ่อย ส่งผลให้การ เจริญเติบโตหยุดชะงักท าให้เกิดภาวะเตี้ย รวมทั้งพัฒนาการล่าช้าลดทอนการเรียนรู้ในวัยเด็ก และพัฒนาการ ด้านสมอง (จักรินทร์ ปริมานนท์, ปุญญพัฒน์ ไชยเมลล์, และสมเกียติยศ วรเดช, 2561) หากเด็กมีการขาด สารอาหารเรื้อรังจนมีภาวะเตี้ยขั้นรุนแรงจะส่งผลให้มีระดับสติปัญญาในช่วงวัยเรียนต่ำกว่าเด็กที่ไม่มีภาวะเตี้ย ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา และโอกาสที่ดีในอนาคต
ภาวะทุพโภชนาการภาวะที่ร่างกายได้รับสารสารอาหารไม่เหมาะสมกับความต้องการของร่างกายทั้ง ในแง่ปริมาณและความครบถ้วน จึงทำให้เกิดความผิดปกติขึ้น ทั้งภาวะเตี้ยแคระแกร็น ผอมแห้ง สาเหตุการ เกิดภาวะทุพโภชนาการมาจากปัจจัยทั้งด้านพันธุกรรม สิ่งแวดล้อม รวมไปถึงสถานะทางสังคมเศรษฐกิจ โดย โภชนาการต่ำสภาวะร่างกายที่เกิดจากได้รับอาหารไม่เพียงพอ หรือได้รับสารอาหารไม่ครบ หรือมีปริมาณต่ำกว่าที่ร่างกายต้องการ ปัญหาทุพโภชนาการไม่เพียงมีสาเหตุจากพันธุกรรมเท่านั้น แต่ยังมาจากปัจจัยภายนอก เช่น สิ่งแวดล้อม สังคมและเศรษฐกิจ
จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นได้ชัดเจนว่าสถานการณ์ของการเป็นโรคขาดสารอาหาร ภาวะเตี้ยแคระแกร็น ผอมแห้ง ในเด็กยังคงอยู่ในอัตราที่สูงและคาดว่าจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปี ส่งผลทำให้เกิดปัญหา สุขภาพในระยะยาวได้ ดังนั้นเด็กเป็นโรคขาดสารอาหาร ภาวะเตี้ยแคระแกร็น ผอมแห้งจึงถือว่าเป็นเรื่องที่มี ความสำคัญอย่างยิ่งที่ผู้ใหญ่ควรให้การควบคุมและปูองกันแต่โรคขาดสารอาหาร ภาวะเตี้ยแคระแกร็น ผอม แห้งในเด็กเป็นปัญหาที่ยังไม่ได้รับการใส่ใจกันมากนัก และเป็นปัญหาที่ค่อนข้างซับซ้อนทั้งในระดับครอบครัว โรงเรียน ชุมชน และสังคม สำหรับในด้านครอบครัว พ่อแม่มีอิทธิพลสำคัญมากที่สุดที่จะทำให้เด็กเป็นโรคขาด สารอาหาร แต่ยังพบว่าทัศนคติของพ่อแม่ ผู้ปกครอง ตลอดจนคนทั่วไปมักไม่ทราบว่าความผอม เตี้ยเป็นโรค ชนิดหนึ่งและไม่ได้ตระหนักถึงผลเสียที่จะตามมาจากโรคขาดสารอาหารนั้น โดยมักคิดว่าเมื่อโตขึ้นก็จะสูงดีสม ส่วน จากการศึกษานำร่องในเขตรับผิดชอบ ศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลกะพ้อ ในกลุ่มเด็กอายุ 0-5 ปี จะ เห็นได้ว่าผลประเมินเด็กมีภาวะโภชนาการน้อย 35 คน คิดเป็นร้อยละ 23.03 ซึ่งถือว่าน่าเป็นห่วง ในอนาคต ข้างหน้าอัตราจะเพิ่มสูงขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1.เพื่อให้เด็กวัยก่อนเรียนที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการ สูงดีสมส่วน
2.เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้เรื่องโภชนาการ และพฤติกรรมการดูแลเด็กที่มีปัญหาทุพโภชนาการ

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 35
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.ให้ความรู้ผู้ปกครอง เรื่องโภชนาการในเด็ก และการนวดกระตุ้นโกรทฮอร์โมน

ชื่อกิจกรรม
1.ให้ความรู้ผู้ปกครอง เรื่องโภชนาการในเด็ก และการนวดกระตุ้นโกรทฮอร์โมน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าไวนิล ขนาด1 เมตร x 2 เมตร 1 ป้าย = 700 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน 35 คนๆละ 50บาท x 1 มื้อ=1,750 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 35 คนๆละ 25 บาท x 2 มื้อ=1,750 บาท -ค่าสมนาคุณวิทยากรจำนวน 600 บาท x 2 ชม. X 2 คน x 1 ครั้ง=2,400 บาท
  • ค่าวัสดุ (สื่อการสอน)
  • คู่มือโภชนาการสำหรับการดูแลเด็ก จำนวน 35 เล่มๆละ 80 บาท= 2,800 บาท
  • ค่าอุปกรณ์และวัตถุดิบสำหรับสาธิต= 6,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.เด็กวัยก่อนเรียน สูงดีสมส่วน ร้อยละ60

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15400.00

กิจกรรมที่ 2 2.ส่งเสริมโภชนาการ

ชื่อกิจกรรม
2.ส่งเสริมโภชนาการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าไข่ จำนวน 35 คน เดือนละ 1 แผงๆละ 130 บาท 3 เดือน= 13,650 บาท
  • ค่ารางวัลเด็กที่มีภาวะโภชนาการดีขึ้นดีที่สุดในรอบ 3 เดือน 5 อันดับแรกรางวัลละ 500บาท จำนวน 7 รางวัล= 3,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.เด็กวัยก่อนเรียน น้ำหนักตามเกณฑ์ ร้อยละ60 2.ผู้ปกครองมีความรู้เรื่องโภชนาการ และการดูแลเด็ก ที่มีปัญหาทุพโภชนาการ ร้อยละ90

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
17150.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 32,550.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เพื่อให้เด็กวัยก่อนเรียนที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการ สูงดีสมส่วน
2.เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้เรื่องโภชนาการ และพฤติกรรมการดูแลเด็กที่มีปัญหาทุพโภชนาการ


>