กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ประจัน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมโภชนาการและอาหารปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ประจัน

ชมรมผู้สูงอายุตำบลประจัน

1.มะรูดิงยาโงะ
2.นิตยา หลีหมัน
3.ปารีดะห์สะมาโระ
4.แวนูรีตา บูงอ
5.อามีซะห์มะแอ

ณ.อาคารอนกประสงค์องค์การบริหารส่วนตำบลประจัน อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การเปลี่ยนแปลงในวัยสูงอายุมีปัจจัยสำคัญ 2 ประการ คือ ปัจจัยทางกรรมพันธุ์และปัจจัยจากสิ่งแวดล้อมพบว่ามีความสำคัญก็คือ ภาวะโภชนาการ และวิถีทางดำเนินชีวิต การที่ผู้สูงอายุได้รับสารอาหารไม่เพียงพอหรือได้มากเกินไป มีผลซ้ำเติมอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย ซึ่งมีแนวโน้มจะเสื่อมอยู่แล้วให้เสื่อมยิ่งขึ้น การส่งเสริมสุขภาพในผู้สูงอายุ จึงต้องคำนึงถึงความต้องการสารอาหาร โดยเน้นความสมดุลความพอเหมาะพอดี และความหลากหลายของอาหาร นอกจากรี้การออกกำลังกายการผ่อนคลายทางกายและจิตและการหลีกเลี่ยงสิ่งเป็นพิษก็เป็นพิษก็เป็นปัจจัยที่สำคัญสำหรับพื้นฐานการมีสุขภาพดีของผู้สูงอายุ ปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับอาหารและโภชนาการเนื่องจากระบบการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกายเปลี่ยนแปลงไปประสาทสัมผัสทั้ง 5 ทำงานด้อยลง การรับรู้รสและกลิ่นน้อยลง ทำให้ความอยากอาหารลดลงด้วย ประกอบกับมีปัญหาเรื่องเหงือกและฟันและระบบการย่อยการดูดซึมอาหารไม่ดี จึงทำให้เกิดอาการท้องอืดท้องเฟ้อ บางที่ก็ท้องผูกมีโอกาสเกิดโรคภัยไข้เจ็บได้ง่ายปัญหาของผู้สูงอายุในเรื่องอาหารการกิน จึงมีปัญหาทั้งกินไม่ได้และกินไม่พอจนทำให้เกิดภาวะขาดสารอาหาร เช่น การขาดแร่ธาตุแคลเซียมและเหล็กและขาดวิตามินต่างๆ และถ้าผู้สูงอายุได้อาหารบางอย่างมากไปไม่ถูกส่วน หรือไม่ได้ครบ 5 หมู่ ก็อาจเกิดปัญหาโรคเรื้อรัง เช่น โรคอ้วน เบาหวาน ไขมันอุดตันในหลอดเลือด ความดันโลหิตสูง เป็นต้น ซึ่งปัญหาเหล่านี้จะชะลอหรือป้องกันได้ถ้าผู้ใกล้ชิดหรือมีความเกี่ยวข้องต่างๆ ให้ความเอาใจใส่ แนะนำเกี่ยวกับเรื่องการบริโภคอาหาร ดังนั้น เพื่อส่งเสริมผู้สูงอายุในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลประจัน ให้มีภาวะโภชนาการที่เหมาะสมจึงได้จัดทำ โครงการส่งเสริมโภชนาการและอาหารปลอดภัย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

2.1 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ในการเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสม มีสุขภาพดีห่างไกลโรคเบาหวาน โรค
ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคมะเร็งบางชนิด
ตัวชี้วัดความสำเร็จ :
ประชาชนในพื้นที่ห่างไกลโรค โรคเรื้อรัง เช่น ความดัน เบาหวาน
2.2เพื่อให้ผู้สูงอายุมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหาร
ตัวชี้วัดความสำเร็จ :
ผู้เข้าร่วมโครงการมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหาร

2.3ส่งเสริมให้เกิดการอนุรักษ์อาหารท้องถิ่นที่ดีมีประโยชน์
ตัวชี้วัดความสำเร็จ :
มีการสืบทอดอาหารพื้นบ้านที่ดีมีประโยชน์ท้องถิ่นให้คนรุ่นหลังสำหรับผู้สูงอายุ นี้ขึ้น

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 150
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2023

กำหนดเสร็จ 31/03/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการส่งเสริมโภชนาการและอาหารปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ

ชื่อกิจกรรม
โครงการส่งเสริมโภชนาการและอาหารปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพ จำนวน ๒๗,๑00บาท รายละเอียดดังนี้     - ค่าตอบแทนวิทยากรอบรมให้ความรู้ จำนวน 3 ช.ม.ๆละ ๖๐๐ บาท        เป็นเงิน   1,8๐๐ บาท     - ค่าตอบแทนคณะกรรมการตัดสินอาหาร จำนวน 3 คนๆละ 600 บาท  เป็นเงิน   1,800 บาท     - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 150 คนๆละ 7๐ บาท/มื้อจำนวน 1 มื้อ      เป็นเงิน 10,5๐๐ บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 150 คนๆละ ๒๕ บาท/มื้อ จำนวน ๒ มื้อเป็นเงิน   7,50๐ บาท     - ค่าป้ายโครงการ ๑.๐๐ x ๓.๐๐ เมตร                  เป็นเงิน    900 บาท     - ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการแข่งขันทำอาหาร                    เป็นเงิน 6,000 บาท     - ค่าชุดคู่มือการประกอบอาหาร(150คนๆละ60บาท)        เป็นเงิน 9,000 บาท     - ค่าเงินรางวัลผู้ชนะการแข่งขัน จำนวน 3 รางวัล              เป็นเงิน 2,200 บาท                                       รวมเป็นเงินทั้งสิ้น  39,700 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 31 มีนาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

2.1 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ในการเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสม มีสุขภาพดีห่างไกลโรคเบาหวาน โรค ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคมะเร็งบางชนิด ตัวชี้วัดความสำเร็จ : ประชาชนในพื้นที่ห่างไกลโรค โรคเรื้อรัง เช่น ความดัน เบาหวาน 2.2เพื่อให้ผู้สูงอายุมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหาร ตัวชี้วัดความสำเร็จ : ผู้เข้าร่วมโครงการมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหาร

-2- 2.3ส่งเสริมให้เกิดการอนุรักษ์อาหารท้องถิ่นที่ดีมีประโยชน์ ตัวชี้วัดความสำเร็จ : มีการสืบทอดอาหารพื้นบ้านที่ดีมีประโยชน์ท้องถิ่นให้คนรุ่นหลังสำหรับผู้สูงอายุ นี้ขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
39700.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 39,700.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

7.๑ ประชาชนมีสมรรถภาพร่างกายแข็งแรง สมบูรณ์ มีสุขภาพดี ห่างไกลโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิต
สูงโรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคมะเร็งบางชนิดและโรคอื่นๆ
7.๒. ประชาชนได้รับการส่งเสริม และเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ด้านการรับประทานอาหารที่เหมาะสม
7.๓. ประชาชนมีความรู้ด้านอาหารพื้นบ้าน อาหารท้องถิ่น ที่มีประโยชน์


>