กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปูโยะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคและส่งเสริมพัฒนาการตามวัยในเด็กอายุ 0-5 ปี ประจำปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปูโยะ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปูโยะ

ตำบลปูโยะ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของความครอบคลุมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของ เด็ก 0-5 ปี

 

74.03

การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคมีความสำคัญที่จะเป็นตัวป้องกันการเกิดโรคในอนาคต ซึ่งแน่นอนที่สุดการป้องกันย่อมจะดีกว่าการรักษาในภายหลังการเกิดโรคไม่ว่าจะด้วยทฤษฎีทางการแพทย์หรือหลักการของศาสนา แทนที่จะให้เกิดโรคก่อนค่อยคิดหาวิธี หายา หาทางรักษาในภายหลังอาจจะเป็นสิ่งที่สายเกินไปหากเกิดโรคแล้วไม่สามารถรักษาได้ สร้างความเจ็บป่วย ทรมาน รำคาญใจและเสียเงินมากมายซึ่งไม่คุ้มค่าต่อผลเสียที่อาจเกิดขึ้นในภายหลังหากมิได้รับภูมิคุ้มกันแก่ร่างกายตั้งแต่เนิ่นๆโดยการฉีดวัคซีน ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดให้เด็กอายุ ๐-๕ ปีได้รับวัคซีนภูมิคุ้มกันโรคแก่ร่างกายซึ่งสามารถป้องกันโรคได้ 8 ชนิด ดังนี้ วัณโรค ตับอักเสบบี คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก โปลิโอ หัด และไข้สมองอักเสบ ซึ่งวัคซีนป้องกันโรคแต่ละตัวแต่ละชนิดควรได้รับตามช่วงอายุที่กำหนดและรับครบชุดตามเกณฑ์ เมื่ออายุครบ 5 ปี นับตั้งแต่กระทรวงสาธารณสุขได้บรรจุวัคซีนพื้นฐาน หรือวัคซีนภาคบังคับไว้ในแผนสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของประเทศไทยเราเมื่อประมาณ ๓๓ ปีมาแล้ว โดยค่อยๆ เพิ่มชนิดของวัคซีนที่ค้นพบใหม่เข้าไปเรื่อยๆ จนครอบคลุมโรคสำคัญแทบทุกโรคในปัจจุบัน ด้วยเหตุนี้เด็กๆ แทบทุกคนล้วนได้รับวัคซีนกันถ้วนหน้า ส่งผลให้โรคติดต่อร้ายแรงชนิดต่างๆ เช่น โปลิโอ คอตีบ ไอกรน วัณโรค ลดลงอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากโรคติดต่อเหล่านี้เป็นเชื้อโรคที่ติดต่อจากคนสู่คน บางโรคการติดต่อเกิดขึ้นได้ง่าย ทำให้เกิดการแพร่กระจายอย่างรวดเร็วที่เรียกว่า “การระบาด” ผลการระบาดแต่ละครั้งทำให้ผู้ติดเชื้อพิการ และเสียชีวิตจำนวนมาก ดังนั้นวัคซีนจึงเป็นสิ่งที่มีประโยชน์มหาศาลต่อมนุษย์ จากผลจากการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค 3 ปีย้อนหลัง ในเด็กอายุ 0-5 ปี ของตำบลปูโยะ ได้รับความครอบคลุมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ในปีงบประมาณ 2563 คิดเป็นร้อยละ 89.29 ในปีงบประมาณ 2564 คิดเป็นร้อยละ 86.67 ในปีงบประมาณ 2565 คิดเป็นร้อยละ 74.03 จะเห็นได้ว่า ผลการดำเนินงานย้อนหลัง 3 ปี มีผลงานอยู่ในเกณฑ์ดี แต่มีผลงานต่ำใน 2565 ร้อยละ 74.03 ซึ่งยังไม่ผ่านตัวชี้วัดที่กระทรวงกำหนด คือ เด็กอายุครบ 5 ปี ได้รับวัคซีนครบชุด คิดเป็นร้อยละ 90 ยังเป็นปัญหาที่สำคัญที่ควรได้รับการแก้ไข ประกอบกับเด็ก 0-5 ปี จำเป็นต้องได้รับการส่งเสริมพัฒนาการตามวัยและเฝ้าระวังภาวะซีดร่วมด้วย ซึ่งที่ผ่านมาการแก้ไขปัญหายังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปูโยะ จึงได้จัดทำโครงการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคและส่งเสริมพัฒนาการตามวัยในเด็กอายุ 0-5 ปี

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ผู้ปกครองในการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคและพัฒนาการตามวัย

ร้อยละของผู้ปกครองเด็กอายุ 0-5 ปี มีความรู้เกี่ยวกับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคและการส่งเสริมพัฒนาการ

80.00
2 2. เพื่อให้เด็กที่ขาดนัดรับวัคซีนได้รับวัคซีนตามเกณฑ์

ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ปี มารับบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคเพิ่มขึ้น

90.00
3 3. เพื่อคัดกรองและเฝ้าระวังภาวะซีดในเด็กอายุ 6-12 เดือนและเด็กที่มีภาวะซีดได้เข้าสู่ระบบการรักษาที่รวดเร็ว

ร้อยละของเด็กอายุ 6-12 เดือน ได้รับการคัดกรองเฝ้าระวังภาวะซีด

90.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 60
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
- ผู้ปกครองเด็ก ในเขตรับผิดชอบ 55
- อสม.ในเขต รับผิดชอบ 76

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 03/10/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. กิจกรรมอบรมให้ความรู้ ผู้ปกครองเด็กอายุ 0-5 ปี

ชื่อกิจกรรม
1. กิจกรรมอบรมให้ความรู้ ผู้ปกครองเด็กอายุ 0-5 ปี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. กิจกรรมอบรมให้ความรู้ผู้ปกครอง  เด็กอายุ 0-5 ปี
    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม
      จำนวน 70 คน  x 25 บาท x 2 มื้อ   
      เป็นเงิน    3,500 บาท
    • ค่าอาหารกลางวัน
      จำนวน 70 คน  x 50  บาท           
      เป็นเงิน    3,500 บาท
    • ค่าวัสดุในการจัดอบรม                 
      เป็นเงิน    2,500 บาท
    • ค่าวิทยากร
      จำนวน 2 คน ๆ ละ 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท
      เป็นเงิน    3,600 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
3 ตุลาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ผู้ปกครองในการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคและพัฒนาการตามวัย
  • เพื่อให้ผู้ปกครองมีความตระหนักในการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคและการส่งเสริมพัฒนาการเด็กตามวัย
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13100.00

กิจกรรมที่ 2 2. กิจกรรมติดตามเด็กอายุ 0-5 ปี ที่ขาดนัดรับวัคซีนและเด็กที่สงสัย พัฒนาการล่าช้า

ชื่อกิจกรรม
2. กิจกรรมติดตามเด็กอายุ 0-5 ปี ที่ขาดนัดรับวัคซีนและเด็กที่สงสัย พัฒนาการล่าช้า
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. กิจกรรมติดตามเด็กอายุ 0-5 ปี ที่ขาดนัดรับวัคซีนและเด็กที่สงสัยพัฒนาการล่าช้า
    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม
      จำนวน 76 คน  x 25 บาท x 2 ครั้ง   
      เป็นเงิน    3,800 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
3 ตุลาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • เพื่อให้เด็กที่ขาดนัดรับวัคซีนได้รับวัคซีนตามเกณฑ์
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3800.00

กิจกรรมที่ 3 3. กิจกรรมคัดกรองภาวะซีดในเด็ก อายุ 6 - 12 เดือน

ชื่อกิจกรรม
3. กิจกรรมคัดกรองภาวะซีดในเด็ก อายุ 6 - 12 เดือน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. กิจกรรมคัดกรองภาวะซีดในเด็ก  อายุ 6 - 12 เดือน
    • จัดซื้อเครื่อง Hemocue Hb 801 Analyzer
      จำนวน 1 เครื่อง
      เป็นเงิน    27,500 บาท
    • แถบตรวจ Hemocue Hb 801 Microcuvettes
      เป็นเงิน    2,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
3 ตุลาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • -เพื่อคัดกรองและเฝ้าระวังภาวะซีดในกลุ่มเด็กอายุ 6 - 12 เดือน
    • เพื่อให้เด็กอายุ 6- 12 เดือนที่มีภาวะซีดได้เข้าสู่ระบบการรักษาที่รวดเร็ว
    • เด็กอายุ 6-12 เดือนมีภาวะซีดไม่เกินเกณฑ์ที่กำหนด
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
30000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 46,900.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็กอายุ 0-5 ปี มารับบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคตามเกณฑ์กลุ่มอายุเพิ่มขึ้น
2. ผู้ปกครองเด็กอายุ 0-5 ปี มีความรู้เกี่ยวกับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคและการส่งเสริมพัฒนาการเพิ่มขึ้น
3. เด็กอายุ 6-12 เดือน ได้รับการคัดกรองและเฝ้าระวังภาวะซีด ตามเกณฑ์ที่กำหนด


>