กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายในเด็กและเยาวชนตำบลตะลุบัน ประจำปี 2566

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองตะลุบัน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายในเด็กและเยาวชนตำบลตะลุบัน ประจำปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองตะลุบัน

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองตะลุบัน/นายต่วนบุซรัน ตงคอมอ

หอประชุมอำเภอสายบุรี ตำบล ตะลุบัน อำเภอ สายบุรี จังหวัด ปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย จะทำให้สามารถดูแลทำความสะอาดได้ดีขึ้น ป้องกันการติดโรคบางชนิด และป้องกันมะเร็ง เป็นต้น ในบทความตามวิชาการแพทย์ที่ได้มีการศึกษาวิจัยในปัจจุบันที่ได้ศึกษาพัฒนาการของหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย เป็นอวัยวะที่มีอยู่ตามปกติ ปกคลุมส่วนปลายของอวัยวะเพศอยู่ อย่างไรก็ดีเมื่อหนังหุ้มปลายเปิดใหม่ๆ จะยังไม่สามารถเปิดได้หมดเพราะยังมีเยื่อบางๆติดยึดอยู่กับปลายอวัยวะเพศ การขลิบหนังหุ้มปลายองคชาติ คือการตัดหนังบริเวณด้านหน้าขององคชาติออก จุดประสงค์คือเพื่อให้สามารถรูดออกทำความสะอาดบริเวณด้านในขององคชาติได้ ซึ่งผิวหนังบริเวณนี้จะมีต่อมซึ่งจะสร้างสารที่เรียกว่าขี้เปียก หรือ Smegmaมีลักษณะเป็นขุยขาวๆ คล้ายขี้ไคลขึ้นมาและการที่ไม่สามารถเปิดออกล้างได้ จะทำให้สารดังกล่าวคั่ง ก่อให้เกิดกลิ่น การติดเชื้อเรื้อรัง รวมทั้งอาจก่อให้เกิดโรคร้ายอย่างมะเร็งที่องคชาติได้ การผ่าตัดขลิบหนังหุ้มปลายจึงมีประโยชน์ต่อสุขอนามัยของผู้ชายโดยตรงดังนั้นเพื่อเป็นการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคตามสิทธิประโยชน์ของแต่ละกลุ่มวัยเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพในกลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชนชาย
ดังนั้น เทศบาลเมืองตะลุบันได้เล็งเห็นตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นต่อการจัดการแก้ไขปัญหาสภาวะสุขภาพในกลุ่มเด็กและเยาวชนชาย จึงได้จัดทำโครงการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายในเด็กและเยาวชตำบลตะลุบัน 2566 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อรณรงค์ส่งเสริมสร้างความตระหนัก ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพและป้องกันโรค โดยเฉพาะโรคติดเชื้อทางระบบสืบพันธุ์ 2 เพื่อลดภาวะเสี่ยงการติดเชื้อและภาวะแทรกซ้อนระบบทางเดินปัสสาวะ 3เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้ปกครอง
  • เด็กและผู้ปกครองมีความตระหนักและความเข้าใจในการป้องกันโรคติดเชื้อ
  • เด็กและเยาวชนตำบลตะลุบันในพื้นที่เข้าถึงการบริการด้านการส่งเสริมแลป้องกันโรคได้
  • เด็กและเยาวชนตำบลตะลุบันได้รับการทำสุนัต โดยผู้เชี่ยวชาญและลดภาวะเสี่ยงการติดเชื้อ และภาวะแทรกซ้อนระบบทางเดินปัสสาวะ
  • ลดภาระค่าใช้จ่ายของครอบครัวเด็กและเยาวชน
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 16/03/2023

กำหนดเสร็จ 30/06/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ให้ความรู้การดูแลสุขภาพ (การป้องกันโรคติดต่อ)

ชื่อกิจกรรม
ให้ความรู้การดูแลสุขภาพ (การป้องกันโรคติดต่อ)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ให้ความรู้การดูแลสุขภาพ (การป้องกันโรคติดต่อ)แก่เด็กและเยาวชนกลุ่มเป้าหมาย รวมทั้งผู้ปกครอง เพื่อให้เกิดความตระหนักในการป้องกันโรค งบประมาณ

- ค่าไวนิลโครงการ ขนาด 1.50x3.00 เมตร = 900 บาท จำนวน1ผืน เป็นเงิน 900.-บาท -ค่าวิทยากร 1 ชม.ๆละ 600 บาท เป็นเงิน600 บาท

-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการฯ พร้อมคณะทำงานช่วงเช้า จำนวน 90 คน × 25 บาท × 1 มื้อ เป็นเงิน2,250บาท
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการฯ พร้อมคณะทำงานช่วงบ่าย จำนวน 70 คน × 25 บาท × 1 มื้อ เป็นเงิน1,750บาท
-ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการฯ พร้อมคณะทำงานจำนวน 90 คน × 50 บาท × 1 มื้อ
เป็นเงิน4,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 มีนาคม 2566 ถึง 16 มีนาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

กิจกรรมที่ 2 2. กิจกรรมการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย

ชื่อกิจกรรม
2. กิจกรรมการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าวัสดุ แยกรายละเอียดดังนี้ - ผ้าขาวม้า 60 ผืนๆละ 100 บาทเป็นเงิน5,000 บาท - กระดาษA4 1 ริมๆละ 180 บาท เป็นเงิน180 บาท
-ปากกาเคมี 5 ด้ามๆละ 20 บาท เป็นเงิน100บาท - ปากกา 60 ด้ามๆละ 8 บาท เป็นเงิน 400บาท - สมุดปกอ่อน 60 เล่มๆละ 10 บาทเป็นเงิน 500 บาท - เทปโฟมกาว 2 หน้า ขนาด 1 นิ้ว จำนวน1ม้วน
เป็นเงิน 250 บาท -กรรไกรขนาด 6 นิ้ว 1 เล่ม เป็นเงิน 95 บาท -แฟ้มห่วง 3 นิ้ว จำนวน 1 เล่ม เป็นเงิน 85 บาท -แม็ก No(10) 1 อัน เป็นเงิน 95บาท -ไส้แม็ก No(10) 2 กล่องๆละ 10 เป็นเงิน 20บาท -หมอน จำนวน 10 ใบๆละ 200 บาท เป็นเงิน2,000 บาท เป็นเงิน 9,905.- บาท

  • ค่าหัตถการและวัสดุการแพทย์ จำนวน 60 คนๆละ1,200 บาท/คน รายละเอียดดังนี้
    • ค่ายาชา เป็นเงิน100 บาท
      -ค่าถุงมือ Sterileเป็นเงิน30 บาท -ค่าเข็ม Syring เป็นเงิน20 บาท -ค่าไหม เป็นเงิน200 บาท -ค่า Set Sterileเป็นเงิน 40บาท -ค่า Betadine 30 ccเป็นเงิน 25บาท -ค่า Elasitixเป็นเงิน 25บาท -ค่า Bactingrasเป็นเงิน 25บาท -ค่า Gauze 2 ซองเป็นเงิน 25บาท -ค่าใบมีดเป็นเงิน 10บาท -ค่ายาเป็นเงิน100บาท -ค่าหัตถการ เป็นเงิน 600 บาท เป็นเงิน72,000.- บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
16 มีนาคม 2566 ถึง 16 มีนาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
81907.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 91,907.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็กและเยาวชนตำบลตะลุบันได้รับการทำสุนัต โดยผู้เชี่ยวชาญและลดภาวะเสี่ยงการออกเลือด และภาวะแทรกซ้อน รวมทั้งการติดเชื้อ
2. เด็กและเยาวชนตำบลตะลุบันในพื้นที่เข้าถึงการบริการด้านการส่งเสริมและป้องกันโรคได้
3. เด็กและผู้ปกครองมีความตระหนักและความเข้าใจในการป้องกันโรคติดเชื้อ และลดอัตราค่าใช้จ่ายของผู้ปกครอง


>