กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปะโด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ส่งเสริมสุขภาพและโภชนาการสมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านควนหยี

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปะโด

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านควนหยี

ณ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านควนหยี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

อาหารมีความสำคัญในทุกเพศและทุกวัย โดยเฉพาะสำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งเป็นวัยที่ร่างกายกำลังเจริญเติบโต และเป็นช่วงที่สมองกำลังพัฒนา อาหารจึงมีความสำคัญอย่างมากสำหรับวัยนี้ ดังนั้น ควรรับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ซึ่งในแต่ละหมู่ต้องมีความหลากหลายและปริมาณให้เพียงพอ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอและเหมาะสม
จากข้อมูลด้านภาวะโภชนาการของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านควนหยี เด็กที่มีน้ำหนัก/ส่วนสูง สมส่วน คิดเป็นร้อยละ 84.00 เด็กที่มีน้ำหนัก/ส่วนสูง ค่อนข้างผอมและผอม คิดเป็นร้อยละ 16.00 เด็กวัยนี้เป็นช่วงที่มีการเจริญเติบโตที่รวดเร็ว การได้รับสารอาหารมากเกินไปหรือขาดสารอาหารจะมีผลกระทบต่อเด็กได้ ผลกระทบที่พบประกอบด้วย ด้านสุขภาพร่างกาย ด้านสังคมและจิตใจ ด้านการเรียน และด้านเศรษฐกิจ ปัจจัยที่มีผลต่อปัญหาทุพโภชนาการในเด็กนั้น พบว่ามี 3 ปัจจัย ได้แก่ ส่วนบุคคล พฤติกรรม และอิทธิพลของสิ่งแวดล้อม ทั้งปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่บ้านที่มีส่วนทำให้เด็กนักเรียนมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
จากสภาพปัญหาดังกล่าวข้างต้น จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพและโภชนาการสมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านควนหยี เพื่อแก้ปัญหาภาวะทุพโภชนาการเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและเสริมสร้างปลูกฝังสุขนิสัยที่ดีในการเลือกรับประทานอาหารให้เหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย และให้ถูกต้องตามหลักโภชนาการ และที่สำคัญผู้ปกครองของเด็กจำเป็นต้องมีความรู้เรื่องการรับประทานอาหารที่ถูกต้องเหมาะสมของลูกๆด้วย จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพและโภชนาการสมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านควนหยีขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 8
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดประชุมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเกี่ยวกับภาวะโภชนาการในเด็กเล็ก

ชื่อกิจกรรม
จัดประชุมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเกี่ยวกับภาวะโภชนาการในเด็กเล็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1 กิจกรรมย่อย จัดประชุมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเกี่ยวกับภาวะโภชนาการในเด็กเล็ก - ค่าอาหารว่าง สำหรับผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 50 คน คนละ 35 บาท
   ผู้ปกครอง     50 คน    ผู้จัดโครงการ  2 คน - ค่าวิทยากร จำนวน 1 คน 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท - ค่าไวนิล จำนวน 1 แผ่น
1.2 กิจกรรมย่อย กิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการในเด็กกลุ่มเป้าหมาย                    จำนวน 8 คน - ค่าวัสดุในการดำเนินโครงการ  (คนละ 185 บาท) ประกอบด้วย    สีไม้ จำนวน 8 กล่อง กล่องละ 50 บาท
   สมุดภาพระบายสี  จำนวน 8 เล่ม เล่มละ 25 บาท    สื่อส่งเสริมพัฒนาการ จำนวน 8 ชุด ชุดละ 45 บาท    ดินน้ำมัน จำนวน 24 ก้อน ก้อนละ 15 บาท    ภาพโปสเตอร์ จำนวน 8 แผ่น แผ่นละ 20 บาท รวม 6,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.เด็กเล็กที่เสี่ยงต่อการมีภาวะทุพโภชนาการ ได้รับการเฝ้าระวังและติดตามทางโภชนาการเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาภาวะทุพโภชนาการได้ 2.พัฒนาการด้านสติปัญญาในเด็กเพิ่มมากขึ้น ในเมื่อเด็กได้รับสารอาหารที่เหมาะสมกับช่วงวัยส่งผลให้มีการเรียนรู้ที่เร็วขึ้น และมีประสิทธิภาพในการเรียนรู้มากขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 6,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เด็กเล็กที่เสี่ยงต่อการมีภาวะทุพโภชนาการ ได้รับการเฝ้าระวังและติดตามทางโภชนาการเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาภาวะทุพโภชนาการได้
2.พัฒนาการด้านสติปัญญาในเด็กเพิ่มมากขึ้น ในเมื่อเด็กได้รับสารอาหารที่เหมาะสมกับช่วงวัยส่งผลให้มีการเรียนรู้ที่เร็วขึ้น และมีประสิทธิภาพในการเรียนรู้มากขึ้น


>