กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งยาว

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ อย.น้อย ใส่ใจสุขภาพ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งยาว

รพ.สต.ทุ่งยาว

1.นางจริยา สุโสะ
2.นางสาวปนิดา เจะโสะ

ตำบลทุ่งยาว

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

เนื่องจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งยาวได้เล็งเห็นความสำคัญของเด็กที่อยู่ในวัยเรียนซึ่งเป็นผู้ที่กระตือรือร้นในการทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์และเป็นผู้ที่มีศักยภาพในตัวเอง สามารถชี้นำเพื่อนและผู้ปกครองให้สนับสนุนการดำเนินงานที่ดีอย่างได้ผล จึงได้มีโครงการ อย.น้อยโดยนำศักยภาพของนักเรียนมาใช้ เพื่อให้กลุ่มนักเรียนอย.น้อย มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพ และสามารถเลือกซื้อ เลือกบริโภคได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัยรวมทั้งสามารถเผยแพร่ความรู้ที่ได้รับไปยังเพื่อนนักเรียน ครอบครัว และชุมชน ตลอดจนให้อย. มีการตรวจสอบเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพ ตลอดจนโฆษณาที่โอ้อวดเกินจริง ซึ่งเป็นโครงการที่เน้นการสร้างเครือข่ายชมรมคุ้มครองผู้บริโภคในโรงเรียน (อย.น้อย) พัฒนาศักยภาพแกนนำนักเรียน ให้มีการรับรู้สิทธิผู้บริโภคและพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ถูกต้อง เหมาะสม และมีการเฝ้าระวังอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพทั้งในโรงเรียนและชุมชน เพื่อการพัฒนาต่อยอดด้านความรู้และเพิ่มนักเรียน อย.น้อย เพื่อดำเนินงานอย่างต่อเนื่องเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพ ซึ่งนักเรียน อย.น้อย จะมีการสับเปลี่ยน หมุนเวียนการทำหน้าที่ ทำให้การทำงานบ้างครั้งไม่ต่อเนื่อง เพราะขาดความรู้และทักษะที่จะนำไปปฏิบัติ
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งยาวจึงได้จัดอบรม อย.น้อย คุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ โดยเพิ่มความรู้และทักษะในการตรวจสอบผลิตภัณฑ์สุขภาพให้แก่อย.น้อย เพื่อช่วยให้โรงเรียนตลอดจนในชุมชนได้รับความปลอดภัยจากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้เรื่องการเลือกบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพ และสามารถเลือกซื้อ เลือกบริโภคได้อย่างถูกต้องปลอดภัย

1.ผู้เข้ารับการอบรมทำแบบทดสอบความรู้หลังอบรม ผ่านร้อยละ 80

0.00
2 2.เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีทักษะการตรวจวิเคราะห์อาหารเบื้องต้นได้อย่างถูกต้อง

2.ผู้เข้ารับการอบรมมีทักษะการตรวจวิเคราะห์อาหารเบื้องต้นได้อย่างถูกต้องผ่านเกณฑ์  ร้อยละ 80

0.00
3 3.สามารถนำความรู้ไปเผยแพร่ผู้ปกครองและคนในชุมชนได้

3.ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้เรื่องผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับเครื่องสำอางและอาหารเสริมผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 80

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ อย.น้อย ใส่ใจสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ อย.น้อย ใส่ใจสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 50 คนๆละ 30 บาท จำนวน 1 วันๆละ 2 มื้อ เป็นเงิน3,000 บาท
  2. ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าอบรมจำนวน50 คนๆละ 70 บาท จำนวน 1 วันๆละ 1 มื้อ เป็นเงิน 3,500บาท
  3. ค่าแผ่นป้ายไวนิลโครงการขนาด 1 เมตร x 2.5 เมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 375 บาท
  4. ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 1 คน 6 ชม.ๆละ600 บาท เป็นเงิน3,600 บาท
  5. ค่าชุดทดสอบอาหาร

- ชุดทดสอบซาลิซิลิก(สารกันรา) จำนวน 1 ชุดๆละ 264 บาท เป็นเงิน 264 บาท

-ชุดทดสอบบอร์แรกซ์(ผงกรอบ) จำนวน 1 ชุดๆละ 212 บาท เป็นเงิน 212 บาท

-ชุดทดสอบโซเดียมไฮโดรซัลไฟด์(สารฟอกขาว) จำนวน 1 ชุดๆละ 168 บาท เป็นเงิน 168 บาท

-ชุดทดสอบฟอร์มาลิน(น้ำยาดองศพ) จำนวน 10 ชุดๆละ 56 บาท เป็นเงิน 560 บาท

รวมค่าชุดทดสอบอาหาร เป็นเงิน 1,204 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. นักเรียนสามารถเลือกซื้อและบริโภคอาหารในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้อง

  2. มีการจัดตั้งชมรม อย. น้อย ในโรงเรียน 1 ชมรม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11679.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 11,679.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>