กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะโละ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนสุขภาพ ปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะโละ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปุลากง

พื้นที่ทั้ง 4 หมู่บ้านตำบลปุลากง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

10.00
2 ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรเบาหวาน

 

5.00

ปัญหาโรคเรื้อรังในปัจจุบัน เช่นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็งรวมทั้งปัญหาสุขภาพจิตเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบางโรคเป็นสาเหตุการตายอันดับต้นและมีแนวโน้มการเกิดโรคเพิ่มและมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นทุกปี ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มาจากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้องของประชาชน เช่น การสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์มากเกินไป การบริโภคอาหารที่ไม่ถูกสัดส่วนและไม่เหมาะสมทางโภชนาการ ขาดการออกกำลังกายและมีความเครียดจาก ปัญหาครอบครัวและสังคม จากสถิติการเจ็บป่วยด้วยโรคจากพฤติกรรม (เบาหวาน/ความดันโลหิตสูง) ของจังหวัดปัตตานี พบว่า อัตราป่วยเพิ่มสูงขึ้นในทุกๆ ปี ซึ่งสอดคล้องกับระบาดวิทยาของทั่วประเทศที่มีอัตราความชุกอยู่ที่ร้อยละ 2.5 รวมไปถึงทุกประเทศทั่วโลกที่พบอัตราการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สำหรับอัตราความชุกของโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงพบว่า มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งอาจเป็นเพราะการดำเนินชีวิตที่ขาดความสมดุล เช่น สัดส่วนของอาหารที่รับประทานเปลี่ยนแปลง โดยอาจรับประทานอาหารประเภทเค็มจัด หรือหวานจัด และมีปริมาณไขมันมากเกินไป มีการออกกำลังกายลดลง มีภาวะเครียดจากสาเหตุต่างๆ การนอนหลับพักผ่อนไม่เป็นเวลา รวมทั้งปัจจัยทางด้านพันธุกรรม ซึ่งสาเหตุดังที่กล่าวมาทำให้ส่งผลต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน
จากผลการดำเนินงานรักษาพยาบาลและคัดกรองค้นหาผู้ป่วยเบาหวานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปุลากง ได้ให้บริการตรวจคัดกรอง เพื่อค้นหาโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเบื้องต้น พบว่าประชากรทั้ง 4 หมู่บ้าน มีผู้ป่วยรายใหม่และผู้มีภาวะเสี่ยงสูงเป็นจำนวนมาก และปัจจุบันแม้ว่าการรักษาโรคเบาหวานและผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจะดีขึ้น แต่ระบบการติดตามดูแลฟื้นฟู การให้ความรู้ เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน และการส่งเสริมสุขภาพทั้งทางกาย จิต และสังคม ภายหลังการรักษา ก็ยังมีระบบที่ไม่ดีเพียงพอ และไม่ครอบคลุมมากพอ
ดังนั้น ทีมสุขภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ร่วมกับชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน ตำบลปุลากง ตระหนักถึงภาวะสุขภาพของประชาชนในกลุ่มดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการ “ปรับเปลี่ยนสุขภาพ ปี 2566” ขึ้น เพื่อให้ประชาชนทั่วไป กลุ่มเสี่ยงสูง และกลุ่มผู้ป่วย ได้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และสามารถดูแลสุขภาพตนเอง เลือกรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี ลดการเกิดโรคความดันโลหิตสูง/เบาหวาน ส่วนในรายที่สงสัยป่วยใหม่ได้รับการส่งต่อ เพื่อการรักษาอย่างต่อเนื่องและช่วยลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 กลุ่มผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนและความพิการของโรค
  1. ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมีระดับความดันโลหิต <140/90 มากกว่าร้อยละ 50 (ความดันคุมได้)
  2. ผู้ป่วยโรคเบาหวาน สามารถคุมระดับน้ำตาลในเลือด (HbA1C <7) > ร้อยละ 10 (เบาหวานคุมได้)
  3. เพื่อลดโอกาสการเกิดภาวะแทรกซ้อนและความพิการ <ร้อยละ 10
5.00 5.00
2 ข้อที่ 2 เพื่อลดอัตราการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังของประชาชนกลุ่มเสี่ยงในเขตรับผิดชอบ
  1. อัตราผู้ป่วยโรคเบาหวานรายใหม่ < ร้อยละ 10
  2. อัตราผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ <ร้อยละ 20
  3. กลุ่มเสี่ยงเบาหวานได้รับการติดตาม >ร้อยละ 90
  4. กลุ่มเสี่ยงความดันได้รับการติดตามและวัดความดันที่บ้าน > ร้อยละ 90
5.00 5.00
3 ข้อที่ 3 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีการบริโภคอาหารที่ถูกต้อง เหมาะสม ลดหวาน มัน เค็ม ลดการเกิดโรคจากการบริโภคอาหาร
  • ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการเลือกบริโภคอาหารดีขึ้น >ร้อยละ 80
50.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 40
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 40
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 40
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/12/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. กิจกรรม “การปรับตัวกับเพื่อนใหม่” (โรคเบาหวาน ความดัน และผองเพื่อน) ในกลุ่มป่วยทั้งรายใหม่และรายเก่า

ชื่อกิจกรรม
1. กิจกรรม “การปรับตัวกับเพื่อนใหม่” (โรคเบาหวาน ความดัน และผองเพื่อน) ในกลุ่มป่วยทั้งรายใหม่และรายเก่า
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าตอบแทนวิทยากร 600 บาท x 2 คน x 3 ชั่วโมง x 1 วัน =  3,600 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน 60 บาท x 40 คน
    = 2,400 บาท
  • ค่าอาหารว่าง 30 บาท x 40 คน x 2 มื้อ
    = 2,400 บาท
  • ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการจัดอบรม = 2,000 บาท
  • ค่าอาหารตัวอย่างในการจัดอบรม = 1,500 บาท
  • ป้ายไวนิว ป้ายละ 1,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนและความพิการของโรค น้อยกว่าร้อยละ 10

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13400.00

กิจกรรมที่ 2 2. กิจกรรมเรียนรู้ร่วมกันด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ “ปรับวิถี ชีวีเปลี่ยน”ในกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง

ชื่อกิจกรรม
2. กิจกรรมเรียนรู้ร่วมกันด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ “ปรับวิถี ชีวีเปลี่ยน”ในกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

2.1 เรียนรู้ร่วมกันด้วยการปรับ เปลี่ยนพฤติกรรม “ปรับวิถี ชีวีเปลี่ยน” (แบ่งฐานการเรียนรู้ 3 ฐาน) - ค่าตอบแทนวิทยากร 600 บาท x 3 คน x 2 ชั่วโมง x 1 วัน =  3,600 บาท - ค่าอาหารกลางวัน 60 บาท x 40 คน
= 2,400 บาท - ค่าอาหารว่าง 30 บาท x 40 คน x 2 มื้อ
= 2,400บาท - ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการจัดอบรม = 2,000 บาท - ค่าอาหารตัวอย่างในการจัดอบรม = 1,500 บาท - ป้ายไวนิว ป้ายละ 1,500 บาท
2.2 กิจกรรมติดตามตรวจสุขภาพกลุ่มเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง โดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (หมอ1) โดยการนัดตรวจวัดความดันโลหิตสูงและเจาะระดับน้ำตาลในเลือดทุก 3 เดือน และ 6 เดือน- Mobile Box set (ชุดอุปกรณ์ตรวจประเมินติดตามผู้ป่วย Home monitoring หมู่ละ 1 ชุด) ประกอบด้วย
1. เครื่องวัดความดันโลหิต 4 เครื่อง x 3,790 บาท = 15,160 บาท 2. เครื่องเจาะน้ำตาลปลายนิ้ว พร้อมแผ่นตรวจ 4 ชุด x 3990 บาท = 15,960 บาท 3. สายวัดรอบเอว 8 อัน x 59 = 472 บาท 4. กล่อง Box set 4 ใบ x 599 บาท = 2,396 บาท - ค่าอาหารว่างสำหรับผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับการติดตามครั้งละ 30 บาท x 40 คน x 3 ครั้ง
(เดือนที่1/3/6) = 3,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เพื่อลดอัตราการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังของประชาชนกลุ่มเสี่ยงในเขตรับผิดชอบ
1. อัตราผู้ป่วยโรคเบาหวานรายใหม่ < ร้อยละ 10 2. อัตราผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ <ร้อยละ 20 3. กลุ่มเสี่ยงเบาหวานได้รับการติดตาม >ร้อยละ 90 4. กลุ่มเสี่ยงความดันได้รับการติดตามและวัดความดันที่บ้าน > ร้อยละ 90

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
50988.00

กิจกรรมที่ 3 3. กิจกรรมเรียนรู้ “แม่บ้านยุคใหม่ใส่ใจคนรอบข้าง”

ชื่อกิจกรรม
3. กิจกรรมเรียนรู้ “แม่บ้านยุคใหม่ใส่ใจคนรอบข้าง”
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าตอบแทนวิทยากร 600 บาท x 2 คน x 3 ชั่วโมง x 1 วัน =  3,600 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน 60 บาท x 40 คน
    = 2,400 บาท
  • ค่าอาหารว่าง 30 บาท x 40 คน x 2 มื้อ
    = 2,400บาท
  • ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการจัดอบรม = 2,000 บาท
  • ค่าอาหารตัวอย่างในการจัดอบรม = 1,500 บาท
  • ป้ายไวนิว ป้ายละ 1,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีการบริโภคอาหารที่ถูกต้อง เหมาะสม ลดหวาน มัน เค็ม ลดการเกิดโรคจากการบริโภคอาหาร - ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการเลือกบริโภคอาหารดีขึ้น >ร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 77,788.00 บาท

หมายเหตุ :
ถัวเฉลี่ยจ่ายทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ประชาชนทั้งกลุ่มทั่วไป กลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรค และกลุ่มป่วยด้วยโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง มีความรู้ ความเข้าใจ มีส่วนร่วมในการส่งเสริมป้องกันและดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัวที่เหมาะสม มีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่ถูกต้อง รวมถึงสามารถลดอัตราการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังของประชาชนกลุ่มเสี่ยงในเขตรับผิดชอบ และป้องกันภาวะแทรกซ้อน/ความพิการของโรคในกลุ่มผู้ป่วย ไม่ให้ลุกลาม หรือรุนแรงมากกว่าเดิม


>