กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เกตรี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมการจัดการขยะภายในโรงเรียนเพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออก

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เกตรี

โรงเรียนบ้านวังพะเนียด

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่มีรุนแรงมากขึ้นทุกวัน ส่วนหนึ่งมาจากขยะมูลฝอย ซึ่งเป็นปัญหาพื้นฐานของโรงเรียนอันก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียน เช่น เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของพาหะนำโรค เช่น แมลงวัน แมลงสาบซึ่งได้แพร่กระจายเชื้อโรค ส่งกลิ่นเหม็นก่อให้เกิดค

 

75.00

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อรณรงค์สร้างจิตสำนึกให้กับนักเรียนโรงเรียนบ้านวังพะเนียดในการคัดแยกขยะอย่างถูกวิธี

นักเรียนโรงเรียนบ้านวังพะเนียดมีความรู้ความเข้าใจและสามารถคัดแยกขยะได้อย่างถูกวิธี

0.00
2 เพื่อให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงในโรงเรียน

นักเรียนมีส่วนร่วมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงในโรงเรียน

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 47
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น

กำหนดเสร็จ

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมการคัดแยกขยะมูลฝอย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมการคัดแยกขยะมูลฝอย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • วิทยากร (เจ้าหน้าที่จากอบต.เกตรี และเจ้าหน้าที่ รพ.สต.วังพะเนียด) ให้ความรู้ความเข้าใจแก่นักเรียนทุกคน เพื่อสะท้อนสภาพปัญหาด้านสาธารณสุขและแนวทางการจัดการขยะของชุมชนและเพื่อให้เกิดการคัดแยกขยะเป็นชนิด โดยแบ่งเป็นขยะเปียก ขยะรีไซเคิล ขยะทั่วไป และขยะอันตราย ให้สามารถดำเนินการได้อย่างถูกต้องและถูกหลักการตามแนวทางการจัดการขยะ และการดูลสุขภาพเพื่อป้องกันโรคต่างๆ
  • นักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนทำกิจกรรมการคัดแยกขยะภายในโรงเรียน
  • นักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนทำกิจกรรมการกำจัดยุงลายและพาหะนำโรคต่างๆภายในโรงเรียน
  • ติดตั้งจุดสาธิตถังขยะแยกประเภท ณ โรงเรียน เพื่อสร้างความตระหนักในการคัดแยกขยะ ลดแหล่งโรคที่เกิดจากขยะ

  • ค่าป้ายโครงการ ขนาด 1.5*2 เมตรๆละ 150 บาท จำนวน 1 ผืนเป็นเงิน 450 บาท

  • ค่าวิทยากร จำนวน 2 คนๆละ 2 ชม.ๆละ 600 บาทเป็นเงิน 2,400 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน นักเรียนและบุคลากรในโรงเรียน รวม 54 คน (นักเรียน 47 คน , บุคลากรในโรงเรียน 7 คน) จำนวน 1 มื้อๆละ 60 บาทเป็นเงิน 3,240บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มนักเรียนและบุคลากรในโรงเรียน รวม 54 คน (นักเรียน 47 คน , บุคลากรในโรงเรียน 7 คน)จำนวน 2 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 2,700 บาท
  • ค่าถังขยะแยกประเภท ขนาด 60 ลิตร จำนวน 4 ถังๆละ 900 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท -ค่าแฟ้มสำหรับใส่เอกสาร จำนวน 47 ใบๆละ 20 บาทเป็นเงิน 800 บาท -ค่าเอกสารให้ความรู้ จำนวน 40 ชุดๆละ 10 บาท เป็นเงิน400 บาท

รวมเป็นเงิน 13,590บาท
(ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้)

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13590.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 13,590.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียนมีความรู้และมีจิตสำนึก สามารถแยกประเภทขยะได้
2. นักเรียนมีความรู้และมีส่วนร่วมในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกในโรงเรียน


>