กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกม่วง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพดี ชีวีมีสุข เขตพื้นที่ รพ.สต.บ้านควนหมอทอง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกม่วง

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน รพ.สต.บ้านควนหมอทอง

1.นายจรูญ รามรักษ์
2.นางบุญเสริม คงศรีทอง
3.นางสาวสุวรรณี หมันเส็ม
4.นางกิ้มพงษ์ สัตบุตร
5.นางอุราวรรณ อ่อนทอง

เขตพื้นที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านควนหมอทอง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงที่ละเลยการตรวจสุขภาพทำให้เกิดโรคเรื้อรัง

 

20.00
2 จำนวนประชาชนที่มีปัญหาเสี่ยงกับโรคอ้วน

 

50.00

จากการสำรวจสถานการณ์ปัญหาสุขภาพของประชาชนในเขต รพ.สต.บ้านควนหมอทอง พบว่าปัญหาสุขภาพการมีดัชนีมวลกายสูง กระดูกพรุน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง มีปัจจัยความเสี่ยงที่ถูกละเลยการตรวจสุขภาพ มีปัญหาสำคัญ คือ
1.บกพร่องความรู้เกี่ยวกับการดูแลตัวเอง
2.ขาดแรงจูงใจและแรงสนับสนุนจากแกนนำชุมชน
3.ปัญหาในเรื่องอุปสรรคทางวัฒนธรรม คือความอายซึ่งต้องมีการเสริมสร้างพลังอำนาจเต็มรูปแบบ การให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพร่วมกับการจัดกิจกรรมเพื่อสุขภาพในแต่ละหมู่บ้าน
องค์ประกอบพื้นฐาน ได้แก่ ความเจ็บป่วยเรื้อรังที่สามารถป้องกันได้โดยการมีพฤติกรรมการดูแแลสขภาพที่เหมาะสม การออกกำลังกาย การพักผ่อนหย่อนใจเพื่อผ่อนคลาย การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และการตรวจคัดกรองโรคด้วยตนเอง เป็นต้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ แกนนำ มีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องการดูแลสุขภาพที่ดี

แกนนำมีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องการดูแลสุขภาพที่ดี

80.00 90.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 80
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 22/03/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ขั้นตอนการดำเนินโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. เขียนโครงการและขออนุมัติโครงการ
  2. ประสานเจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้อง
  3. จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์
  4. ประชาสัมพันธ์โครงการ
  5. จัดอบรมโครงการเเก่ผู้เข้าร่วม
  6. บรรยายให้ความรู้ อาหารเพื่อสุขภาพ
  7. อบรมและให้ความรู้เกียวกับนวดแผนไทย
  8. สรุปและรายงานผลการดำเนินตามโครงการ
ระยะเวลาดำเนินงาน
22 มีนาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ประชาชนได้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการดูแลรักษาสุขภาพ
  2. ประชาชนมีความตระหนักสำคัญในเรื่องสุขภาพ
  3. ประชาชนสามารถถ่ายทอดความรู้สู่บุคคลอื่นได้
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 ให้ความรู้ อบรม

ชื่อกิจกรรม
ให้ความรู้ อบรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรมให้ความรู้แก่แกนนำในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพจำนวน 80 คน

กำหนดการอบรม
07.30 - 08.30 น. ลงทะเบียน / ทดสอบความรู้ก่อนอบรม
08.30 - 09.00 น. ประเมินรอบเอว ความดันโลหิต และน้ำตาลในเลือด ครั้งที่1
09.00 - 10.45 น. ความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
10.45 - 11.00 น.พักรัปประทานอาหารว่าง
11.00 - 12.00 น.ความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (ต่อ)
12.00 - 13.00 น.พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 - 15.00 น.ให้ความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกายและการนวดผ่อนคลายที่เหมาะสม
15.00 - 15.15 น. พักรับประทานอาหารว่าง
15.00 - 16.15 น.ให้ความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกายและการนวดผ่อนคลายที่เหมาะสม (ต่อ)
16.15 - 16.30 น. ทดสอบความรู้หลังอบรม

  • ค่าตอบแทนวิทยากร 6 ชม.ๆละ 300 เป็นเงิน 1,800 บาท
  • ค่าอาหารว่าง จำนวน 80 ชุดๆละ 25 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 80 ชุดๆละ 50 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท
  • ค่าคู่มือให้ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ จำนวน 80 ชุดๆละ 30 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท
  • ค่าป้ายไวนิลโครงการขนาด 1.5x2 ตรม. เป็นเงิน 400 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
22 มีนาคม 2566 ถึง 30 มีนาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อสม ได้รับความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและการป้องกันโรคต่างๆได้ สามารถถ่ายทอดความรู้ให้แก่ประชาชนในชุมชนได้ เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพดีขึ้นลดการเป็นโรคน้อยลง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10600.00

กิจกรรมที่ 3 ติดตามและประเมินผลโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ติดตามและประเมินผลโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ติดตามการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มแกนนำทุก 3 เดือน , 6 เดือน และ 1 ปี เพื่อประเมินและติดตามผล
ระยะเวลาดำเนินงาน
22 มีนาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • สามารถนำความรู้ไปใช้ได้
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

แกนนำสุขภาพ .ได้รับความรู้ ความเข้าใจเรื่องการพัฒนาพฤติกรรมเพื่อสุขภาพและจิตที่ดี เรื่องอาหารเพื่อสุขภาพและโภชนาการที่เหมาะสม การนวดแผนไทย สามารถนำความรู้ไปถ่ายทอดให้ประชาชนในชุมชนได้


>