กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการส่งเสริมการวัดความดันโลหิตที่บ้านในกลุ่มเสี่ยงและสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูงหมู่ที่ 1 ตำบลแหลมโตนด ปีงบประมาณ 2566

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพ เทศบาลตำบลแหลมโตนด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมการวัดความดันโลหิตที่บ้านในกลุ่มเสี่ยงและสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูงหมู่ที่ 1 ตำบลแหลมโตนด ปีงบประมาณ 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพ เทศบาลตำบลแหลมโตนด

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

1. นางเกสร เกลี้ยงกลม
2. นางเสงี่ยม บุญศิริ
3. นางสมจิตร ทองหนู
4. นางสุพร เกลี้ยงกลม
5. นางจริยา กิ้มแก้ว

หมู่ที่ 1 ตำบลแหลมโตนด

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละกลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูงได้รับการวัดความดันโลหิตตามแนวทางครอบคลุม

 

100.00
2 ร้อยละกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการติดตามความดันโลหิตแล้วยังสูงได้รับการส่งต่อเพื่อรับการวินิจฉัยและรักษา

 

100.00

ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้มนุษย์มีชีวิตที่ยืนยาวกว่าแต่ก่อนมาก สังคมสมัยใหม่ทำให้มนุษย์มีวิถีการดำรงชีวิตที่เปลี่ยนไป มีการบริโภคที่มากเกินพอดี โดยเฉพาะอาหารจำพวกแป้งและไขมัน มีกิจกรรมการออกกำลังกายที่ลดลงไปมาก เนื่องจากมีสิ่งอำนวยความสะดวกมากมาย มีภาวะเครียดจากการทำงาน การแต่งงานช้า สตรีต้องทำงานมากขึ้น ทำให้อัตราการมีบุตรลดลง สัดส่วนประชากรเปลี่ยนแปลง มีผู้สูงอายุมากขึ้นเรื่อยๆสิ่งเหล่านี้เป็นเหตุให้เกิดอุบัติการณ์ของโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงและภาวะผิดปกติอื่นๆที่พบร่วมด้วย มีมูลค่าสูงมาก โดยเฉพาะภาวะแทรกซ้อน เช่นตาบอดในผู้ใหญ่ ภาวะไตวายเรื้อรัง ต้องฟอกไต เท้าเน่าต้องตัดทิ้ง รวมทั้งโรคเลือดหัวใจและสมอง
ในความเป็นจริง ผู้ที่เป็นเบาหวานหรือความดันโลหิตสูงพบว่า ส่วนใหญ่ไม่มีอาการ แต่เมื่อมาพบแพทย์ มักจะมาด้วยภาวะแทรกซ้อนของหลอดเลือด ในอวัยวะต่างๆเช่นสมอง หรือหัวใจเป็นต้น ซึ่งผู้ป่วยเหล่านี้ อาจเป็นเบาหวานหรือความดันโลหิตสูงมานานแล้วแต่ไม่ทราบว่าตนเองป่วยและไม่เคยตรวจมาก่อนดังนั้นการตรวจคัดกรองคนปกติที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ทั้งที่ไม่มีอาการของโรค จึงเป็นวิธีเดียวที่จะให้การรักษาและป้องกันภาวะแทรกซ้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ การตรวจสุขภาพประจำปีคนที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานเป็นสิ่งจำเป็น ซึ่งปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญได้แก่มีประวัติครอบครัวเป็นเบาหวานหรือความดันโลหิตสูงอายุมากกว่า35ปีขึ้นไปมีภาวะอ้วนหรือน้ำหนักตัวเกิน มีไขมันในเลือดสูง เบาหวานหรือความดันโลหิตสูงหรือมีประวัติเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์เป็นต้น ผู้ที่ตรวจพบว่ามีความผิดปกติของน้ำตาลในเลือด/ปัสสาวะ ความผิดปกติของความดันโลหิตควรได้รับการรักษาด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ
จากการคัดกรองความเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงปีงบประมาณ2565 พบกลุ่มเสี่ยงและสงสัยป่วยโรคความดันสูงจำนวน180คนเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดผู้ป่วยรายใหม่ทางรพ สตแหลมโตนดจึงได้จัดทำโครงการวัดความดันโลหิตที่บ้านในกลุ่มเสี่ยงและสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง ปีงบประมาณ2566

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมการวัดความดันโลหิตในกลุ่มสงสัยป่วยต่อเนื่องที่บ้าน

ร้อยละกลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูงได้รับการวัดความดันโลหิตตามแนวทางครอบคลุม

100.00 1.00
2 เพื่อให้กลุ่มสงสัยป่วยได้รับการวินิจฉัยโรคและได้รับการรักษาทันท่วงทีเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน

ร้อยละกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการติดตามความดันโลหิตแล้วยังสูงได้รับการส่งต่อเพื่อรับการวินิจฉัยและรักษา

100.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 180
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 06/03/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมวัดความดันที่บ้าน 7 วัน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมวัดความดันที่บ้าน 7 วัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าเครื่องวัดความดันโลหิต 3 เครื่องๆละ 2,500 บาท เป็นเงิน 7,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
6 มีนาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.กลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูงได้รับการวัดความดันโลหิตตามแนวทางครอบคลุมร้อยละ100 2.กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการติดตามความดันโลหิตแล้วยังสูงได้รับการส่งต่อเพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาทันท่วงทีเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 7,500.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

อัตราการเกิดผู้ป่วยรายใหม่โรความดันโลหิตสูงลดลง


>