กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตาเนาะปูเต๊ะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการมารดาฝากครรภ์ครบตามเกณฑ์ ลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตาเนาะปูเต๊ะ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทำนบ

นางสาวยามีละห์ประดู่ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทำนบ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ภาวะโลหิตจางเป็นความผิดปกติทางระบบเลือดที่ส่งผลให้การสร้างเม็ดเลือดแดงน้อยลง เกิดจากหลายสาเหตุทั้งความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ ภาวะขาดสารอาหารและโรคติดเชื้อ โดยพบบ่อยที่สุดในหญิงตั้งครรภ์ สาเหตุสำคัญของภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ คือ การขาดสารอาหารจากธาตุเหล็กและกรดโฟลิก (ชลธิชา ดานา, 2560) ภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนของมารดาและทารก เช่น มารดาเสี่ยงต่อการตกเลือดหลังคลอด ทารกเสี่ยงต่อคลอดก่อนกำหนด พัฒนาการทางไม่สมบูรณ์ และภาวะตายในครรภ์ ฯลฯ ซึ่งปัญหาดังกล่าว เป็นปัญหาทางสาธารณสุขของประเทศที่กำลังพัฒนา (WHO, 2019: Online) ในประเทศไทย ผลสำรวจภาวะโลหิตจางในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ พ.ศ.2561 – 2564 พบว่ามีแนวโน้มสูงขึ้นของอำเภอบันนังสตาแผนพัฒนาการสาธารณสุข ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564 กำหนดเป้าหมายให้หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กไม่เกินร้อยละ 10 ซึ่งการจะดำเนินงานให้ถึงเป้าหมายดังกล่าวได้นั้น ต้องมีการส่งเสริมสุขภาพ ตั้งแต่ระยะก่อนการตั้งครรภ์ ซึ่งก็คือ กลุ่มหญิงวัยเจริญพันธุ์ เพื่อให้มีความรอบรู้ด้านสุขภาพและสามารถเตรียมความพร้อมก่อนการตั้งครรภ์ได้อย่างถูกต้อง
จากข้อมูลในเขตรับผิดชอบของ รพ.สต.บ้านทำนบ ตำบลตาเนาะปูเต๊ะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลาปีงบประมาณ 2565 พบปัญหามีจำนวนหญิงตั้งครรภ์ทั้งหมด 129 คน พบภาวะซีดขณะตั้งครรภ์ครั้งแรกที่มาฝากครรภ์จำนวน 19 คน คิดเป็นร้อยละ 14.7 พบภาวะซีดขณะตั้งครรภ์ครั้งที่2อายุครรภ์30-32 สัปดาห์จำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 13.33และพบภาวะซีดขณะตั้งครรภ์จนถึงใกล้คลอดจำนวน 31 คน คิดเป็นร้อยละ 22.9 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และคลอดบุตรน้ำหนักตัวน้อยกว่า 2,500 กรัม 11 ราย คิดเป็นร้อยละ 8 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น อัตราการตกเลือดหลังคลอด3 คนในจังหวัดยะลาในปีงบ 2565 นับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ
จากปัญหาดังกล่าวทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทำนบ จึงได้จัดทำโครงการมารดาฝากครรภ์ ครบตามเกณฑ์ ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัยนั้น ได้ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ร่วมกับการให้ยาเสริมธาตุเหล็กและเจาะเลือดค้นหาภาวะซีด ติดตามเยี่ยมบ้าน เพื่อหาแนวทางการแก้ปัญหางานอนามัยแม่และเด็ก เพื่อป้องกันอันตรายจากภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ ได้รับการตรวจครรภ์เป็นระยะอย่างสม่ำเสมอ ฝากครรภ์อย่างน้อย 5 ครั้ง และได้รับการคลอดในสถานบริการ (โรงพยาบาล)

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้หญิงวัยเจริญพันธ์ หญิงตั้งครรภ์ มีความรู้ความเข้าใจในการเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ ระหว่างตั้งครรภ์ ใกล้คลอด และปัญหาภาวะซีดได้ เพื่อลดภาวะซีดในหญิงวัยเจริญพันธ์ และหญิงตั้งครรภ์

 

0.00
2 เพื่อลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนในหญิงตั้งครรภ์ จากการเกิดภาวะซีดได้

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 140
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ใช้งบประมาณของกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตาเนาะปูเต๊ะประจำปีงบประมาณ 2566 จำนวน 25,100 บาท รายละเอียด ดังนี้ กิจกรรมอบรมให้ความรู้ -ค่าป้ายโครงการ1 ผืน ขนาด 1 x 2.5 เมตร เป็นเงิน 1,000 บาท -ค่าป้ายประชาสัมพันธ์การฝากครรภ์อย่างมีคุณภาพ จำนวน 1 ผืน ขนาด 1 x 3.3 เมตร เป็นเงิน 3,000 บาท -ค่าอาหารกลางวัน (จำนวน 140 คน x 50 บาท x 1 มื้อ )เป็นเงิน 7,000 บาท -ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม (จำนวน 140 คน x 25 บาท x 2 มื้อ ) เป็นเงิน 7,000 บาท -ค่าตอบแทนวิทยากร (จำนวน 4 ชั่วโมง × ชั่วโมงๆละ 300 บาท x 3วัน) เป็นเงิน3,600 บาท -ค่าคู่มือเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ ระหว่างตั้งครรภ์ ใกล้คลอดและโรคซีด (1เล่ม x25 บาท x140)
เป็นเงิน 3,500 บาท หมายเหตุ ทุกกิจกรรมสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ความใจในการป้องกันการเกิดภาวะซีดได้ 2.หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีดมีความเข้าใจ ตระหนักสภาวะสุขภาพที่มีผลต่อสุขภาพมารดาและทารกใน ครรภ์และป้องกันไม่ให้เกิดภาวะซีดซ้ำ
     3.หญิงตั้งครรภ์ได้รับการติดตาม คัดกรองภาวะซีดและประเมินอย่างมีประสิทธิภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
25100.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 25,100.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ความใจในการป้องกันการเกิดภาวะซีดได้
2.หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีดมีความเข้าใจ ตระหนักสภาวะสุขภาพที่มีผลต่อสุขภาพมารดาและทารกในครรภ์และป้องกันไม่ให้เกิดภาวะซีดซ้ำ
3.หญิงตั้งครรภ์ได้รับการติดตาม คัดกรองภาวะซีดและประเมินอย่างมีประสิทธิภาพ


>