กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะหา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาทักษะสมอง (EF) ของเด็กปฐมวัยโดยใช้นิทาน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะหา

โรงเรียนบ้านลากอ

โรงเรียนบ้านลากอ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช2560 ได้จัดทําขึ้นเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและการสร้างรากฐานคุณภาพชีวิตให้แก่เด็กโดยยึดแนวคิดสําคัญคือ 1) พัฒนาการของเด็ก2) พัฒนาเด็กโดยองค์รวม3) การจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการทํางานของสมอง4) การเล่นและการเรียนรู้ของเด็ก5) การคํานึงถึงสิทธิและการสร้างคุณค่าและสุขภาวะ6) การอบรมเลี้ยงดูความรู้การให้การศึกษา7) การบูรณาการ8) สื่อเทคโนโลยีและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้9) การประเมินตามสภาพจริง10) การมีส่วนร่วมของครอบครัวสถานศึกษาหรือสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยและ11) ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงความเป็นไทยและความหลากหลายเมื่อจบการศึกษาระดับปฐมวัยกําหนดมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์จํานวน12 มาตรฐาน พัฒนาการด้านสติปัญญาในมาตรฐานที่ 9 ใช้ภาษาสื่อสารได้เหมาะสมกับวัย ตัวบ่งชี้ที่ 9 สนทนาโต้ตอบและเล่าเรื่องให้ผู้อื่นเข้าใจ สภาพที่พึงประสงค์อายุ 5-6ขวบ
การพัฒนาทักษะสมอง (EF) ในเด็กปฐมวัย นับเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุด เพราะเป็นช่วงที่สมอง ส่วนหน้าพัฒนามากที่สุดการมีทักษะสมอง (EF) จะช่วยให้เด็กสามารถฟันฝ่า อุปสรรคและลุกขึ้นสู้ต่อไปได้การส่งเสริมทักษะสมอง (EF) ทุกด้าน จะช่วยให้เด็กมีทักษะการปรับตัว และฟื้นตัว หลังเหตุการณ์วิกฤตได้ทักษะสมอง (EF) จึงเป็นคุณสมบัติที่ช่วยให้บุคคล ดำเนินชีวิตได้ อย่างมีความสุข แต่ปัจจุบันพบว่ามีเด็กวัย 2-6 ปีมีปัญหาพฤติกรรมที่เป็นความ บกพร่องของทักษะสมอง (EF) ประมาณ 30% คือเป็นเด็กที่มีความบกพร่องอย่างชัดเจน 16% และ บกพร่องเล็กน้อย 14% ซึ่งใกล้เคียงกับจำนวนเด็กที่มีปัญหาพัฒนาการด้าน EF ล่าช้า คือ พบ ประมาณ 29% โดยเป็นเด็กที่มีพัฒนาการด้านทักษะสมอง (EF) ต่ำกว่าเกณฑ์อย่างชัดเจน14% และ ต่ำกว่าเกณฑ์เล็กน้อย15% ทั้งนี้ทักษะสมองด้าน (EF) ที่เป็นปัญหามากเป็นอันดับ 1) คือปัญหาด้าน การหยุด 2) ปัญหาด้านความจำขณะทำงานและ 3) ปัญหาการควบคุมอารมณ์ซึ่งจะส่งผลด้านลบต่อ ความพร้อมและความสำเร็จทางการเรียนในระดับที่สูงขึ้น
โรงเรียนบ้านลากอ ตระหนักและเห็นความสำคัญของเด็กปฐมวัย จึงจัดทำโครงการ "พัฒนาทักษะสมอง (EF) ของเด็กปฐมวัยโดยใช้นิทาน โดยจัดแหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษาและการพัฒนาเด็กร่วมกันทั้ง บ้านและโรงเรียน " การเตรียมการส่งเสริมของครูและการร่วมกันพัฒนาเด็กของผู้ปกครองจะช่วยพัฒนาจิตใจเด็กได้อย่างดี เนื้อหาและกระบวนการจัดประสบการณ์โดยนิทานช่วยให้เด็กได้รู้จักคิด รู้จักการแก้ปัญหา และเป็นการกระตุ้นให้เด็กรักการอ่านมากขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อพัฒนาทักษะสมอง (EF) ของเด็กปฐมวัยให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
  1. เด็กปฐมวัยมีทักษะสมอง(EF)และสามารถจัดการตนเองได้ดียิ่งขึ้น
110.00 1.00
2 2. เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ ให้กับครูและผู้ปกครองในการใช้นิทานกระตุ้นพัฒนาทักษะสมอง(EF) ของเด็กปฐมวัยให้มีคุณภาพมากขึ้น
  1. เด็กปฐมวัยผู้ปกครองได้มีกิจกรรมปฏิสัมพันธ์กันมากขึ้น สร้างสายสัมพันธ์ที่แนบแน่น มั่นคงภายใน ครอบครัว
110.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 110
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1 การอบรมสร้างความรู้ ความเข้าใจและ ติดตามการจัดกิจกรรมกับผู้ปกครองเด็กปฐมวัย/

ชื่อกิจกรรม
1 การอบรมสร้างความรู้ ความเข้าใจและ ติดตามการจัดกิจกรรมกับผู้ปกครองเด็กปฐมวัย/
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.เขียนโครงการเสนอผู้มีอำนาจอนุมัติ 2. การประชุมและวางแผนการดำเนินงาน 3. ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 4. การประชาสัมพันธ์โครงการ 5. การดำเนินโครงการ 5.1 ดำเนินการอบรมสร้างความรู้ ความเข้าใจและ ติดตามการจัดกิจกรรมกับผู้ปกครองเด็กปฐมวัย ดังนี้ (1) อบรมเชิงปฏิบัติการ ในการใช้นิทานเพื่อพัฒนาทักษะสมองของเด็กปฐมวัยให้กับครูและผู้ปกครอง
(2) ประชุม แลกเปลี่ยน แชร์ความงอกงาม ปัญหา และวิธีการแก้ปัญหา ในการนำนิทานไปใช้จัดกิจกรรมกับเด็กปฐมวัย จำนวน 1 ครั้ง 5.2 ดำเนินการจัดหา จัดซื้อหนังสือนิทานที่ส่งเสริมพัฒนาทักษะสมองของเด็กปฐมวัย 6. สรุปและประเมินผลการดำเนินงานโครงการ 6. งบประมาณ จากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลยะหา จำนวน 36,200 บาทรายละเอียดดังนี้ กิจกรรมที่ 1 การอบรมสร้างความรู้ ความเข้าใจและ ติดตามการจัดกิจกรรมกับผู้ปกครองเด็กปฐมวัย 1.1 อบรมเชิงปฏิบัติการ ในการใช้นิทานเพื่อพัฒนาทักษะสมองของเด็กปฐมวัย ให้กับครูและผู้ปกครอง
1. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 80 คนๆ คนละ 1 มื้อๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท 2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 80 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 20 บาท เป็นเงิน 1,600 บาท 3. ค่าวิทยากรจำนวน 2 คนๆละ 5 ชั่วโมง ๆ ละ 300 บาท เป็นเงิน 3,000บาท 1.2 ประชุม แลกเปลี่ยน แชร์ความงอกงาม ปัญหา และวิธีการแก้ปัญหา ในการนำนิทานไปใช้ จัดกิจกรรมกับเด็กปฐมวัย ครั้งที่ 1
1. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 80 คนๆ คนละ 1 มื้อๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท 2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 80 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 20 บาท เป็นเงิน 1,600 บาท

กิจกรรมที่ 2 ดำเนินการจัดหา จัดซื้อหนังสือนิทานที่ส่งเสริมพัฒนาทักษะสมองของเด็กปฐมวัย 1.จัดหา จัดซื้อหนังสือนิทาน จำนวน 110 คน X 2 เล่ม X 100 บาท เป็นเงิน22,000 บาท

รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 36,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. เด็กปฐมวัยมีทักษะสมอง(EF)และสามารถจัดการตนเองได้ดียิ่งขึ้น
  2. เด็กปฐมวัยผู้ปกครองได้มีกิจกรรมปฏิสัมพันธ์กันมากขึ้น สร้างสายสัมพันธ์ที่แนบแน่น มั่นคงภายใน ครอบครัว
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
36200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 36,200.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็กปฐมวัยมีทักษะสมอง(EF)และสามารถจัดการตนเองได้ดียิ่งขึ้น
2. เด็กปฐมวัยผู้ปกครองได้มีกิจกรรมปฏิสัมพันธ์กันมากขึ้น สร้างสายสัมพันธ์ที่แนบแน่น มั่นคงภายใน ครอบครัว


>