กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะหา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการแกนนำจิตอาสานวดแผนไทย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะหา

กองสาธารณะสุขและสิ่งแวดล้อมองค์การบริหารส่วนตำบลยะหา

ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลยะหา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ตามที่กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายนำการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกผสมผสานเข้าสู่ระบบของชุมชนเพื่อให้บริการเชิงรุกแก่ประชาชนในชุมชนในกลุ่มเป้าหมายต่างๆ เช่นกลุ่มผู้ป่วยเรื้อรัง กลุ่มหญิงหลังคลอด กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บป่วยด้วยโรคระบบกล้ามเนื้อเรื้อรังในชุมชน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มุ่งเน้นให้ประชาชนมีสุขภาพดีด้วยการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกดังนั้นกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต.ยะหา จึงได้มีแนวทางสนับสนุนให้ผู้มีจิตอาสาในตำบลมีการใช้ยาสมุนไพรในหน่วยบริการร่วมกับการให้บริการแพทย์แผนไทยเช่น บริการนวด อบ ประคบสมุนไพร โดยบุคลากรแพทย์แผนไทยที่ผ่านการอบรมในหลักสูตรต่างๆ เพื่อลดการใช้ยาแผนปัจจุบันและเป็นทางเลือกแก่ประชาชนในพื้นที่
ในการนี้กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลยะหา ได้เล็งเห็นความสำคัญดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการแกนนำจิตอาสานวดแผนไทย ขึ้นเพื่อให้บริการเชิงรุกแก่กลุ่มเป้าหมายต่างในชุมชนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพอันจะส่งผลดีให้ประชาชนในพื้นที่มีสุขภาพร่างกายและจิตใจที่เข็งแรงต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีทัศนคติที่ดี ต่องานแพทย์แผนไทย และหันมาใช้เป็นทางเลือกมากขึ้น

1.ประชาชนมีทัศนคติที่ดี ต่องานแพทย์แผนไทย และหันมาใช้เป็นทางเลือก

100.00 1.00
2 2.ประชาชนในพื้นที่เลือกใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพภายในครอบครัว

2.ประชาชนในพื้นที่เลือกใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพภายในครอบครัว

100.00 1.00
3 3.ประชาชนในพื้นที่มีความรู้ มีทักษะ ในการนวดแพทย์แผนไทยได้ถูกต้อง

3.ประชาชนในพื้นที่มีความรู้ มีทักษะ ในการนวดแพทย์แผนไทยได้ถูกต้อง

100.00 1.00
4 4.ประชาชนในพื้นที่สามารถใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ และสร้างรายได้เสริมให้แก่ครอบครัว

4.ประชาชนในพื้นที่สามารถใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ และสร้างรายได้เสริมให้แก่ครอบครัว

100.00 1.00

1.เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีทัศนคติที่ดี ต่องานแพทย์แผนไทย และหันมาใช้เป็นทางเลือกมากขึ้น

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ความเข้าใจสร้างทัศนคติที่ดี ต่องานแพทย์แผนไทยและการใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพ /กิจกรรมการให้ความรู้เชิงปฏิบัติการการทำพิมเสนน้ำ ลูกประคบสมุนไพร /กิจกรรมสาธิตและฝึกปฏิบัติการนวดแผนไทยเบื้องต้น

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้ความเข้าใจสร้างทัศนคติที่ดี ต่องานแพทย์แผนไทยและการใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพ /กิจกรรมการให้ความรู้เชิงปฏิบัติการการทำพิมเสนน้ำ ลูกประคบสมุนไพร /กิจกรรมสาธิตและฝึกปฏิบัติการนวดแผนไทยเบื้องต้น
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วิธีดำเนินการ 1. จัดทำโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติ 2. แต่งตั้งคณะกรรมการในการจัดกิจกรรม 3. ประชุมคณะกรรมการเพื่อวางแผนการและแบ่งงาน หน้าที่ความรับผิดชอบจัดกิจกรรม 4. ดำเนินการจัดโครงการ 4.1 กิจกรรมประชาสัมพันธ์โครงการแกนนำจิตอาสานวดแผนไทย ประจำปีงบประมาณ 2566 ผ่านคณะกรรมการประจำมัสยิด คณะกรรมการหมู่บ้าน ผู้นำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขในพื้นที่ตำบลยะหา และทาง wabsite อบต.ยะหา www.saoyh.go.th 4.2 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ความเข้าใจสร้างทัศนคติที่ดี ต่องานแพทย์แผนไทยและการใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพ 4.3 กิจกรรมการให้ความรู้เชิงปฏิบัติการการทำพิมเสนน้ำ ลูกประคบสมุนไพร 4.4 กิจกรรมสาธิตและฝึกปฏิบัติการนวดแผนไทยเบื้องต้น
4.5 กิจกรรมตอบปัญหาข้อซักถามจากผู้เข้าร่วมอบรม โดย เจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญ 5. สรุปและประเมินผลการจัดโครงการ งบประมาณ จากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลยะหา จำนวน 57,170 บาท รายละเอียดดังนี้ 1. ค่าป้ายไวนิลโครงการ จำนวน1 ผืน ๆ ละ 800 บาท เป็นเงิน 800บาท 1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 100 คนๆ ละ 2 มื้อๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน5,000บาท 2. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 100 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 50 บาทเป็นเงิน5,000บาท 3. วิทยากร จำนวน6ชม.ๆ ละ 300 บาทเป็นเงิน1,800บาท 4. เอกสารการอบรมพร้อมอุปกรณ์ จำนวน100ชุดๆ ละ 50บาท เป็นเงิน5,000บาท - สมุด 100 เล่มๆ ละ 15 บาท เป็นเงิน1,500 บาท - ปากกา 100 ด้ามๆ ละ 10 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท - เอกสารการอบรม 100 ชุดๆ 25 บาท เป็นเงิน2,500 บาท

  1. ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เป็นเงิน 39,570 บาท 5.1 อบรมการทำพิมเสนน้ำ ประกอบด้วย
    1. พิมเสน (Berneol)จำนวน 3 กิโลกรัม ๆ ละ 750 บาท เป็นเงิน2,250บาท
  2. เมลทอล (Menthol)จำนวน 3 กิโลกรัม ๆ ละ 1,450 บาท เป็นเงิน4,350บาท
  3. การบูร (Camphor) จำนวน 2.5 กิโลกรัม ๆ ละ 550 บาทเป็นเงิน1,375บาท
  4. น้ำมันยูคาลิปตัส (Eucalyptus oil)จำนวน 2 ขวด ๆ ละ 690 บาทเป็นเงิน1,380บาท
  5. ขวดแก้วแบบจุกฝาปิดขนาด 8 ml.จำนวน 300 ใบ ๆ ละ 15 บาท เป็นเงิน4,500บาท
    1. กะละมังสแตนเลส จำนวน 3ใบ ๆ ละ 150 บาท เป็นเงิน450บาท
    2. ถ้วยตวงจำนวน 6ใบ ๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน180 บาท
    3. บีกเกอร์จำนวน 6ใบ ๆ ละ 150 บาท เป็นเงิน900บาท
    4. โกร่งบดจำนวน 3ชุด ๆ ละ 450 บาท เป็นเงิน 1,350 บาท
      10.ช้อนจำนวน 6ด้าม ๆ ละ 15 บาท เป็นเงิน90บาท 11.แท่งแก้วคนสาร 6ด้าม ๆ ละ 55 บาท เป็นเงิน330บาท
      12.ถุงมือจำนวน 2กล่อง ๆ ละ 250 บาท เป็นเงิน500บาท
      13.แอลกอฮอล์จำนวน 2 ขวด ๆ ละ 180 บาทเป็นเงิน360บาท 14.ผ้าตาข่ายจำนวน 300 ชิ้น ๆ ละ 5 บาท เป็นเงิน1,500บาท 5.2 อบรมการทำลูกประคบสมุนไพร ประกอบด้วย
    5. ไพลแห้ง จำนวน 10กิโลกรัม ๆ ละ 250บาทเป็นเงิน 2,500 บาท
  6. ผิวมะกรูดแห้งจำนวน 5กิโลกรัม ๆ ละ220 บาท เป็นเงิน 1,100 บาท
  7. ตะไคร้แห้ง จำนวน 10 กิโลกรัม ๆ ละ 330 บาทเป็นเงิน 3,300 บาท
  8. ใบมะขามแห้งจำนวน 5 กิโลกรัม ๆละ 180 บาท เป็นเงิน 900 บาท
  9. ขมิ้นชันแห้งจำนวน 8 กิโลกรัม ๆ ละ 280 บาทเป็นเงิน 2,240 บาท
  10. เกลือจำนวน 3 ถุงๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 75 บาท
  11. การบูร (Camphor) จำนวน 2 กิโลกรัม ๆ ละ 550 บาทเป็นเงิน1,100บาท
  12. พิมเสน ( Berneol )จำนวน 3 กิโลกรัม ๆ ละ 750 บาท เป็นเงิน2,250บาท
  13. ผ้าด้ายดิบ จำนวน 18 หลา ๆ ละ 250 บาทเป็นเงิน 4,500 บาท
  14. เชือกด้ายดิบจำนวน 2 ม้วน ๆ ละ 250 บาท เป็นเงิน500 บาท
  15. กะละมังสแตนเลส จำนวน 3ใบ ๆ ละ 250 บาท เป็นเงิน750บาท
    1. ครกตำสมุนไพร จำนวน 3ใบ ๆ ละ 280 บาท เป็นเงิน840บาท


      รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 57,170 บาท หมายเหตุ รายการใดไม่พอจ่ายให้ถัวเฉลี่ยจากรายการอื่นได้
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ประชาชนมีทัศนคติที่ดี ต่องานแพทย์แผนไทย และหันมาใช้เป็นทางเลือก    2.ประชาชนในพื้นที่เลือกใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพภายในครอบครัว    3.ประชาชนในพื้นที่มีความรู้ มีทักษะ ในการนวดแพทย์แผนไทยได้ถูกต้อง    4.ประชาชนในพื้นที่สามารถใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ และสร้างรายได้เสริมให้แก่ครอบครัว

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
57170.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 57,170.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนมีทัศนคติที่ดี ต่องานแพทย์แผนไทย และหันมาใช้เป็นทางเลือก
2.ประชาชนในพื้นที่เลือกใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพภายในครอบครัว
3.ประชาชนในพื้นที่มีความรู้ มีทักษะ ในการนวดแพทย์แผนไทยได้ถูกต้อง
4.ประชาชนในพื้นที่สามารถใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ และสร้างรายได้เสริมให้แก่ครอบครัว


>