กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะหา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมหนูน้อยรักสุขภาพ กินผักปลอดสารพิษ ประจำปีงบประมาณ 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะหา

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบาโด องค์การบริหารส่วนตำบลยะหา

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบาโด องค์การบริหารส่วนตำบลยะหา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานมลพิษจากสิ่งแวดล้อม

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

เด็กปฐมวัย ถือเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าและความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศในอนาคต แต่ในปัจจุบันเด็กปฐมวัยไม่ค่อยชอบทานผัก หรือถ้าหากได้ทานผัก ผักส่วนใหญ่ผู้ปกครองจะซื้อมาจากตลาด ทำให้เด็กอยู่ในภาวะความเสี่ยงทางด้านสุขภาพอย่างน่าเป็นห่วง เนื่องจากเด็กต้องบริโภคอาหารผัก ที่ไม่ปลอดภัยไม่ปลอดสารพิษ ทำให้มีการสะสมสารพิษภายในร่างกายเป็นระยะเวลานาน อาจก่อให้เกิดภาวะความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยและการเกิดโรคชนิดต่างๆ ได้แนะแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาภาวะความเสี่ยงด้านสุขภาพต้องให้กระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลายที่กระตุ้นให้เด็ก และผู้ปกครอง ได้เห็นคุณค่าและความสำคัญของการดูแลสุขภาพที่สามารถปฏิบัติได้จริงในชีวิตประจำวัน การส่งเสริมกิจกรรมทางสุขภาพที่มีความหลากหลายวิธีควบคู่กันไป จะช่วยสร้างโอกาสให้สุขภาพเด็กไทยได้รับการคุ้มครองอย่างปลอดภัย เด็กปฐมวันในช่วง อายุตั้งแต่ 3-5 ปี ซึ่งเป็นวัยที่ไม่ชอบรับประทานผักและการที่เด็กไม่ชอบกินผักถือเป็นปัญหาที่แก้ยากสำหรับเด็กวัยนี้ ดังนั้น ทางศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบาโด ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมหนูน้อยรักสุขภาพกินผักปลอดสารพิษ เป็นการใช้วิธีการปลูกฝังนิสัยรักการกินผัก โดยเริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการปลูก ให้เด็กได้มีส่วนร่วมลงมือปฏิบัติจริง แล้วนำผักเด็กปลูกเองมาทำอาหารให้เด็กรับประทานร่วมกันและก็มีส่วนร่วมในการปรุงอาหารด้วย จะทำให้เด็กเกิดความภาคภูมิใจในผลงานของตนเอง และส่งผลให้เด็กมีความรักการกินมากยิ่งขึ้น เพื่อนำผลผลิตที่ได้มาทำเป็นอาหารกลางวันให้แก่นักเรียนได้รับประทานทุกวัน ทำให้นักเรียนได้รับประทานผักที่ปลอดสารผิด เพื่อสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง ตลอดมีสุขอนามัยที่ดีทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้นักเรียนชอบที่จะรับประทานผักมากขึ้น ทำให้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง

1.ร้อยละ 100 นักเรียนชอบที่จะรับประทานผักมากขึ้น ทำให้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง

160.00 1.00
2 2. เพื่อให้นักเรียนมีภาวะโภชนาการด้านน้ำหนักและส่วนสูงตามเกณฑ์
  1. ร้อยละ 90 นักเรียนมีภาวะโภชนาการด้านน้ำหนักและส่วนสูงตามเกณฑ์
160.00 1.00
3 3. เพื่อให้นักเรียนได้รับประทานผักที่ปลอดสารพิษ
  1. ร้อยละ 100 นักเรียนได้รับประทานผักที่ปลอด
160.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 160
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการปลูกผักปลอดสารพิษมาใช้ในชีวิตประจำวัน

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการปลูกผักปลอดสารพิษมาใช้ในชีวิตประจำวัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วิธีดำเนินการ 1. จัดประชุมเจ้าหน้าที่/ผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนการทำโครงการ 2. จัดเตรียมข้อมูล/สถานที่/ความพร้อม 3. แจ้งแผนการปฏิบัติงานตามโครงการแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง 4. ดำเนินการตามแผนงานที่วางไว้ 5. ประเมินผลการดำเนินกิจกรรมโครงการ 6. สรุปและรายงานผลการดำเนินโครงการ       รายละเอียดกิจกรรม 1.  จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการปลูกผักปลอดสารพิษมาใช้ในชีวิตประจำวัน 2.  อธิบาย สาธิตขั้นตอนการเพาะเห็ดนางฟ้า และลงมือปฏิบัติ งบประมาณ      จากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลยะหา จำนวน 16,890.- บาท รายละเอียดดังนี้     1. ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1.2 x 2.4 เมตร              เป็นเงิน      800 บาท     2. ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 5 ชั่วโมงๆ ละ 300 บาท        เป็นเงิน   1,500 บาท
    3. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 82 คนๆ 1 มื้อ ๆ ละ 50 บาท      เป็นเงิน   4,100 บาท
    4. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 160 คนๆ 1 มื้อ ๆ ละ 25 บาท  เป็นเงิน   4,000 บาท         ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินโครงการ         5.เห็ดนางฟ้า
5.1 ขี้เลื่อย      จำนวน  100 กิโลกรัมๆ ละ 2 บาท  เป็นเงิน        200 บาท 5.2 คอขวด      จำนวน  150 ชิ้นๆละ 1 บาท      เป็นเงิน      150 บาท 5.3 ฝาจุก      จำนวน  150 ชิ้นๆละ 1 บาท         เป็นเงิน      150 บาท 5.4 กระบะผสมขี้เลื่อย  จำนวน      1 อันๆละ 890 บาท      เป็นเงิน      890 บาท         5.5 ดีเกลือ    จำนวน      1 กิโลกรัมๆละ 50 บาท  เป็นเงิน          50 บาท         5.6 ยิปซั่ม    จำนวน      1 กิโลกรัมๆละ 50 บาท  เป็นเงิน          50 บาท         5.7 อาหารเสริม  จำนวน      2 กิโลกรัมๆละ 50 บาท  เป็นเงิน     100 บาท         5.8 ปูนขาว      จำนวน      3 กิโลกรัมๆละ 20 บาท  เป็นเงิน       60 บาท         5.9 รำละเอียด  จำนวน    10 กิโลกรัมๆละ 20 บาท    เป็นเงิน        200 บาท         5.10 ตะเกียงไฟ  จำนวน      2 อันๆละ 200 บาท      เป็นเงิน      400 บาท         5.11 แอลกอฮอล์ 70  จำนวน      1 ขวดๆละ 100 บาท  เป็นเงิน         100 บาท         5.12 แอลกอฮอล์ 95  จำนวน      1 ขวดๆละ 100 บาท  เป็นเงิน      100 บาท /5.13 ถุงเพาะ... 5.13 ถุงเพาะเห็ด    จำนวน      2 กิโลกรัมๆ ละ 100 บาท    เป็นเงิน      200 บาท    5.14 ฟ้อกกี้        จำนวน      3 อันๆ ละ 50 บาท      เป็นเงิน         150 บาท         5.15 เชื้อเห็ดนางฟ้า    จำนวน    5 ขวดๆ ละ 30 บาท    เป็นเงิน          150 บาท        5.16 ช้อนตักขี้เลื่อย  จำนวน    6 คันๆ ละ 30 บาท    เป็นเงิน       180 บาท
6. เมล็ดพันธุ์พืช          จำนวน   30 ห่อๆ ละ  30 บาท        เป็นเงิน       900 บาท     7. ตาข่ายสำหรับพืชไม้เลื้อย จำนวน   1 ม้วนๆ ละ 150 บาท    เป็นเงิน          150 บาท     8. คราด        จำนวน    2 อันๆ ละ 250 บาท        เป็นเงิน       500 บาท     9. ดินถุง/ดินปลูก      จำนวน  40 ถุงๆ ละ  35 บาท    เป็นเงิน        1,400 บาท     10. แกลบ            จำนวน    2 ถุงๆ ละ 45 บาท    เป็นเงิน          90 บาท     11. ถุงดำ                              เป็นเงิน        470 บาท            
                                                       รวมเป็นเงินทั้งสิ้น    16,890 บาท (เงินหนึ่งหมื่นหกพันแปดร้อยเก้าสิบบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. นักเรียนชอบที่จะรับประทานผักมากขึ้น ทำให้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง
  2. นักเรียนมีสุขภาวะโภชนาการน้ำหนักและส่วนสูงตามเกณ์มาตรฐาน                3. นักเรียนได้รับประทานผักที่ปลอดสารพิษ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16890.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 16,890.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียนชอบที่จะรับประทานผักมากขึ้น ทำให้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง
2. นักเรียนมีสุขภาวะโภชนาการน้ำหนักและส่วนสูงตามเกณ์มาตรฐาน
3. นักเรียนได้รับประทานผักที่ปลอดสารพิษ


>