กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโตนดด้วน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ สตรีใส่ใจป้องกันภัยมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก ตำบลโตนดด้วน ปีงบประมาณ ๒๕๖๖

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโตนดด้วน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโตนด้วน

พื้นที่ตำบลโตนดด้วน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนผู้หญิงที่มีความเสี่ยงโรคมะเร็งปากมดลูก

 

50.00

มะเร็งปากมดลูกเป็นโรคมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 2 ของโรคมะเร็งทั้งหมดของสตรีไทย รองจากมะเร็งเต้านมปัจจุบันในประเทศไทยแต่ละปี จะพบผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกรายใหม่ ประมาณ 10,000 รายและเสียชีวิตจากการเป็นมะเร็งปากมดลูก 5,000รายอัตราการเสียชีวิตของสตรีไทยเพิ่มขึ้นจาก 7คน/วันเป็น 14 คน/วันสถิติจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติพบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะมาพบแพทย์ เมื่อระยะของโรคมะเร็งนั้น ได้เข้าสู่ในระยะลุกลามแล้ว การรักษาจึงเป็นไปได้ยาก ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาที่สูง ส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากไม่สามารถประกอบอาชีพได้ก่อให้เกิดปัญหาด้านสังคมและครอบครัวตามมาอย่างมากมาย แต่สามารถป้องกันและรักษาให้หายขาดได้ถ้าพบผู้ป่วยโรคมะเร็งในระยะเริ่มแรกร้อยละ 30-40 สามารถป้องกันได้ด้วยการลดพฤติกรรมเสี่ยงและ หากได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งสามารถป้องกันและได้รับการรักษาทันท่วงทีและสามรถรักษาหายได้
จังหวัดพัทลุง สถิติจำนวนและอัตราป่วยด้วยโรคมะเร็งเต้านมในระดับประเทศย้อนหลังปีพ.ศ. 2563มีจำนวนผู้ป่วย 32,653 คน คิดเป็นอัตราป่วย 2,860.30 ต่อแสนประชากรปี พ.ศ. 2564 มีจำนวนผู้ป่วย 34,811 คนคิดเป็นอัตราป่วย 2,685.93 ต่อแสนประชากรปี พ.ศ. 2565 มีจำนวนผู้ป่วย 38,553 คน คิดเป็นอัตราป่วย 2,386.32ต่อแสนประชากรตามลำดับและสถิติจำนวนอัตราป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูก ปี พ.ศ. 2563 มีจำนวนผู้ป่วย11,631 คิดเป็นอัตราป่วย 3,026.39ต่อแสนประชากร ปี พ.ศ. 2564 มีจำนวนผู้ป่วย12,196 คิดเป็นอัตราป่วย 2,894.39ต่อแสนประชากรปี พ.ศ. 2565 มีจำนวนผู้ป่วย 12,955 คน คิดเป็นอัตราป่วย 2,686.22ต่อแสนประชากร ตามลำดับ
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพสุขภาพตำบลโตนดด้วนมีจำนวนสถิติและอัตราป่วยด้วยโรคมะเร็งเต้านม พ.ศ. 2563 มีจำนวนผู้ป่วย 16 คน คิดเป็นอัตราป่วย 1,713.06 ต่อแสนประชากรปี พ.ศ. 2564 มีจำนวนผู้ป่วย 16 คนคิดเป็นอัตราป่วย 1,711.22 ต่อแสนประชากรปี พ.ศ. 2565 มีจำนวน 15 คน คิดเป็นอัตราป่วย 1,847.82 ต่อแสนประชากร สถิติจำนวนและอัตราป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูก ปี พ.ศ. 2563 มีจำนวนผู้ป่วย 6 คน คิดเป็นอัตราป่วย 1,704.54 ต่อแสนประชากร ปี พ.ศ. 2564มีจำนวนผู้ป่วย 6 คน คิดเป็นอัตราป่วย 1,699.71 ต่อแสนประชากรปี พ.ศ. 2565 มีจำนวนผู้ป่วย 6 คน คิดเป็นอัตราป่วย 1,724.13 ต่อแสนประชากร ตามลำดับจากสถิติดังกล่าว จะเห็นได้ว่ามีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งส่งผลให้เกิดมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นทำให้ประเทศชาติสูญเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา ดังนั้นการตรวจคัดกรองและการให้ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับโรคพร้อมทั้งตระหนักถึงความสำคัญของการตรวจค้นหาโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มแรกจะทำให้อัตราการเกิดโรคอัตราการป่วยช่วยลดการสูญเสีย งบประมาณในการดูแลการเจ็บป่วยอัตราการตายจากโรคมะเร็งลดลง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อคัดกรองโรคมะเร็งเต้านมในผู้หญิงช่วงอายุ 30-70 ปี

คัดกรองโรคมะเร็งเต้านมในผู้หญิงช่วงอายุ 30-70 ปี อย่างน้อย ร้อยละ 90 ของกลุ่มเป้าหมาย

80.00 90.00
2 2.เพื่อคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในผู้หญิงช่วงอายุ 30-60 ปี กลุ่มเป้าหมาย 1,034 คน

ตรวจเพื่อคัดกรองมะเร็งปากมดลูก 30-60 ปี อย่างน้อย      ร้อยละ 5๕ ของกลุ่มเป้าหมาย

45.00 55.00
3 3.เพื่ออบรมให้ความรู้โรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกในกลุ่มสตรีอายุ 30-70 ปี

สตรีกลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้โรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก จำนวน 2 กลุ่มๆละ จำนวน 50 คน รวมเป็น 100 คน/7.47 เปอร์เซ็นต์ ของกลุ่มเป้าหมายช่วงอายุ 30-70 ปี กลุ่มเป้าหมาย 1,338 คน

6.00 7.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1,338
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้โรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกในกลุ่มสตรี 30-70ปี จำนวน 2รุ่น ๆละจำนวน 5๐ คน

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้โรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกในกลุ่มสตรี 30-70ปี จำนวน 2รุ่น ๆละจำนวน 5๐ คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดทำสมุดบันทึกการตรวจเต้านมด้วยตนเอง จำนวน 1,350 เล่มๆละ 20 บาทเป็นเงิน 27,000บาท -ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการและผู้จัดจำนวน 5๓ คน  1 มื้อๆละ ๖๐ บาท เป็นเงิน  ๓,๑๘๐บาท  จำนวน 2 รุ่นเป็นเงิน ๖,๓๖0บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการและผู้จัดจำนวน 5๓ คน  ๒ มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน  ๒,๖๕๐บาท  จำนวน 2 รุ่น เป็นเงิน 5,30๐  บาท รวมเป็นเงิน 3๘,๖๖0บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

คัดกรองโรคมะเร็งเต้านมในผู้หญิงช่วงอายุ 30-70 ปี อย่างน้อย ร้อยละ 90 ของกลุ่มเป้าหมาย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
38660.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 38,660.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑.ประชาชนมีความรู้โรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกและมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง
๒.ลดอัตราการเกิดโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก๓.กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยเพื่อติดตามผลและได้รับการส่งต่อในรายที่พบความผิดปกติ ตาม CPG


>