กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

กปท.7

แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านพร้าว รหัส กปท. L3346

อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 16 (2) “ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10”

อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2566 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.
ชื่อ
check_box_outline_blank
แผนงาน
check_box
โครงการ
check_box_outline_blank
กิจกรรม
โครงการเสริมสร้างสุขภาวะทางจิตสู่ความเป็นพลเมืองวิถีพุทธอย่างยั่งยืน
2.
ชื่อ
check_box_outline_blank
หน่วยงาน
check_box_outline_blank
องค์กร
check_box
กลุ่มประชาชน
วัดโดนคลาน
กลุ่มคน
1. พระครูวุฒิสาครธรรม เจ้าอาวาสวัดโดนคลาน
2. พระสมุห์ธนภัทร ธนภทฺโท ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดโดนคลาน
3. สามเณรครองรัฐ ใจเรือง วัดโดนคลาน
4. ดร.ลำเฑียร ชนะสุวรรณ์ ศึกษานิเทศก์จังหวัดพัทลุง
5. ดร.ณัฏฐชาญ์ ธรรมธนไพศาล นักวิชาการอิสระ
3.
หลักการและเหตุผล

เด็กและเยาวชนชายที่เข้ามาบรรพชาเป็นสามเณรในพระพุทธศาสนา จัดเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าและเป็นศาสนทายาทของพระพุทธศาสนา โดยผ่านกระบวนการฝึกฝนอบรมตามหลักพระธรรมวินัย ได้แก่ ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ เพื่อเสริมสร้างทักษะและพัฒนาตนทั้งร่างกาย จิตใจ สังคม ปัญญาดังนั้น สามเณร คือ เหล่ากอของสมณะ เมื่อได้บรรพชาเป็นสามเณรแล้วได้ศึกษาพระปริยัติธรรม มีความรู้แตกฉานในภาษาพระไตรปิฎก คือ ภาษาบาลีหรือมคธ เมื่อมีความรู้แตกฉานในพระธรรมวินัยแล้ว ถ้าหากดำรงสมณเพศต่อไป จะได้เป็นที่พึ่งและบริหารงานพระพุทธศาสนาให้มั่นคงสถาพรหรือลาสิกขาไปแล้วก็จะเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพของสังคมและประเทศชาติสืบไปในปัจจุบันยังเผชิญกับความท้าทายต่อปัญหายาเสพติด ที่ยังเป็นปัญหาใหญ่ของประเทศไทยและเป็นปัญหาที่สร้างความกังวลให้กับทุกคน เพราะไม่เพียงแต่ประเทศจะต้องสูญเสียทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งเป็นทรัพยากรอันมีค่าที่สุดของประเทศไปแล้ว ปัญหายาเสพติดยังนำมาซึ่งปัญหาอื่นอีกมากมาย ทั้งในแง่สังคมอย่างเช่นการก่ออาชญากรรม ปล้น จี้ ฯลฯ เกิดปัญหาส่วนบุคคลในด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิต เช่น ปัญหาทางจิต ปัญหาด้านสุขภาพ ปัญหาด้านเศรษฐกิจ ซึ่งรัฐบาลเองต้องสูญเสียเงินในการบำบัดอาการติดยา รักษาอาการติดยา ทั้งการเลิกยาไอซ์ เลิกยาบ้า เลิกกัญชา ฯลฯ สิ่งที่น่าวิตกกังวลคือวัยรุ่นที่ใช้สารเสพติดนั้น มีแนวโน้มที่จะอายุน้อยลงเรื่อย ๆ และมีการใช้สารเสพติดเพิ่มขึ้นในกลุ่มอายุ 12–19 ปีด้วยเหตุนี้ ทางรัฐบาลจึงได้กำหนดแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 ในกลยุทธ์ที่ 2 คือ การผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางบริการเพื่อส่งเสริมสุขภาพระดับโลก ซึ่งกลยุทธ์ย่อยที่ 2.3 ได้กำหนดไว้ว่า พัฒนาบริการเพื่อส่งเสริมสุขภาพรูปแบบใหม่ที่นำไปสู่การสร้างสังคมที่มีสุขภาวะ ได้แก่ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตอย่างเหมาะสมโดยการใช้อาหารบำบัดและการบำบัดทางจิตด้วยการทำสมาธิ สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ได้แก่ 1) การปรับเปลี่ยนค่านิยมและวัฒนธรรม โดยการสร้างความเข้มแข็งในสถาบันทางศาสนา พร้อมทั้งปลูกฝังค่านิยมและวัฒนธรรมโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน 2) การพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต ด้วยการปลูกฝังความเป็นคนดี มีวินัย พัฒนาทักษะการเรียนรู้ที่สอดรับกับศตวรรษที่ 21 และ 3) การเสริมสร้างให้คนไทยมีสุขภาวะที่ดี ครอบคลุมทั้งด้านกาย ใจ สติปัญญา และสังคม โดยการส่งเสริมให้ชุมชน วัด และส่วนราชการเป็นฐานในการสร้างสุขภาวะที่ดีในทุกพื้นที่ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดวัดโดนคลาน ตั้งอยู่ในพื้นที่เทศบาลตำบลบ้านพร้าว โดยมีพระครูวุฒิสาครธรรม เป็นเจ้าอาวาส ซึ่งศาสน แห่งนี้อยู่คู่กับชุมชนมาอย่างยาวนาน เป็นศูนย์รวมทางจิตใจของคนในชุมชนรอบบริเวณศาสนสถาน อีกทั้งยังเป็นสถานที่ในการทำกิจกรรมทางศาสนาที่สำคัญมาอย่างต่อเนื่อง โดยเชื่อมโยงกับหน่วยงานต่าง ๆ ได้แก่ โรงเรียนบ้านบ่อทราย โรงเรียนบ้านตลิ่งชัน โรงเรียนป่าพะยอมพิทยาคม วิทยาลัยเทคนิคป่าพะยอม มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบ่อทราย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบ่อทราย ดังนั้น กิจกรรมที่แสดงถึงความเป็นอัตลักษณ์ของพื้นที่ คือ กิจกรรมหิ้วปิ่นโตไปวัดพัฒนาคุณธรรม กิจกรรมปิ่นโตเพื่อสุขภาพ กิจกรรมการอบรมคุณธรรมจริยธรรม ซึ่งได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี ๒๕๕๐ เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบัน โดยจะทำกิจกรรมร่วมกันระหว่างเด็ก เยาวชน และผู้ปกครอง เป็นการเสริมสร้างสุขภาวะทางกายและจิตใจ แต่ยังขาดภูมิคุ้มกันทางสังคมและปัญญา อันเป็นเรื่องสำคัญ เนื่องจากดัชนีชี้วัดของเด็กและเยาวชนที่อยู่ในระบบการศึกษา พบว่า มีกลุ่มพฤติกรรมเสี่ยง ได้แก่ ปัญหายาเสพติด ซึ่งมีมากที่สุดไม่ต่ำกว่า ๓๐ คน ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมัธยมศึกษา ยังไม่นับระดับประถมศึกษาและเด็กปฐมวัยที่มีสมาธิสั้นและพฤติกรรมก้าวร้าว สาเหตุมาจากขาดการปลูกฝังการปฏิบัติที่ถูกต้องจากผู้ปกครอง ขาดความรักความอบอุ่นในครอบครัว เนื่องจากส่วนใหญ่อาศัยอยู่กับปู่ย่าตายายหรือญาติส่วนพ่อแม่นั้นไปทำงานต่างจังหวัด และการใช้สื่อสังคมออนไลน์โดยขาดการควบคุมจากผู้ปกครอง รวมทั้งการมีส่วนร่วมในระดับพระสงฆ์ ครู หมอ พ่อแม่ และครอบครัวในท้องถิ่น มีความเป็นเอกภาพแต่ขาดการนำไปปฏิบัติอย่างต่อเนื่องจากหลักการและเหตุผลดังกล่าว วัดโดนคลาน ตำบลบ้านพร้าว อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง จึงได้จัดโครงการบรรพชาสามเณรเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะทางจิตสู่ความเป็นพลเมืองวิถีพุทธอย่างยั่งยืน เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ในช่วงปิดภาคเรียน ด้วยการศึกษาอบรมและฝึกฝนทักษะชีวิตตามหลักวิถีทางแห่งพระพุทธศาสนาทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ พร้อมทั้งสามารถนำหลักธรรมไปประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขและช่วยส่งเสริมให้เป็นลูกที่ดีของพ่อแม่ เป็นศิษย์ที่ดีของครูอาจารย์ เป็นพลเมืองที่ดีของประเทศชาติสืบต่อไป

4.
วัตถุประสงค์(เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
  • 1. เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้พัฒนาความเป็นพลเมืองและเสริมสร้างสุขภาวะทางจิตของตนเองอย่างยั่งยืนตามแนวทางแห่งพระพุทธศาสนา
    ตัวชี้วัด : 1. ร้อยละ 70 กลุ่มเป้าหมายได้พัฒนาความเป็นพลเมืองและเสริมสร้างสุขภาวะทางจิตของตนเองอย่างยั่งยืนตามแนวทางแห่งพระพุทธศาสนา
    ขนาดปัญหา 70.00 เป้าหมาย 70.00
  • 2. เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้ใช้เวลาว่าง ให้เกิดประโยชน์ในระหว่างปิดภาคเรียน โดยไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด
    ตัวชี้วัด : ร้อยละ 70 กลุ่มเป้าหมายได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ในระหว่างปิดภาคเรียน โดยไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด
    ขนาดปัญหา 70.00 เป้าหมาย 70.00
  • 3. เพื่อเป็นการสืบทอด ประเพณีการบรรพชาอุปสมบทให้คงอยู่คู่พระพุทธศาสนาตลอดไป
    ตัวชี้วัด : ร้อยละ 70 กลุ่มเป้าหมายได้มีส่วนร่วมในการส่งเสริม อนุรักษ์ และสืบทอด ประเพณีการบรรพชาอุปสมบทให้คงอยู่คู่พระพุทธศาสนาตลอดไป
    ขนาดปัญหา 70.00 เป้าหมาย 70.00
5.
วิธีดำเนินการ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • 1. อบรมเชิงปฏิบัติการ Mindfulness based Active Learning
    รายละเอียด
    1. ค่าอาหารผู้เข้ารับการอบรมจำนวน 20 คน ๆ ละ 1 มื้อ มื้อละ 50 บาท (20 วัน) เป็นเงิน 20,000 บาท
    2. ค่าเครื่องดื่ม จำนวน 20 คน ๆ ละ 25 บาท จ านวน 1 มื้อ (20 วัน) เป็นเงิน 10,000 บาท
    3. ค่าวิทยากร 6 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
    4. ค่าป้ายไวนิลโครงการ จำนวน 1 ป้ายขนาด 2.4X1.2 เมตร เป็นเงิน 482 บาท
    5. ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการอบรม ได้แก่ กระดาษ หมึกพริ้น ปากกา ค่าพิมพ์เอกสารอบรม และทำเล่มสรุปรายงาน ถ่ายภาพนิ่ง และทำคลิปวีดีโอ  เป็นเงิน 4,000 บาท
    งบประมาณ 38,082.00 บาท
6.
กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม(เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
6.1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน คน

6.2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน คน

6.3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน คน

6.4. กลุ่มวัยทำงาน จำนวน คน

6.5. กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน คน

6.6. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน คน

6.7. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ จำนวน คน

6.8. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน คน

6.9. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] จำนวน คน

7.
ระยะเวลาดำเนินการ(ควรระบุตามการดำเนินงานจริง)

ตั้งแต่ วันที่ 28 มีนาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566

8.
สถานที่ดำเนินการ

วัดโดนคลาน หมู่ที่ 7 ตำบลบ้านพร้าว อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง

9.
งบประมาณ(ให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ที่ตั้งไว้ตามข้อ 5)

รวมงบประมาณโครงการ 38,082.00 บาท

หมายเหตุ : ***ทุกรายการสามารถถัวเฉลียจ่ายกันได้ตามความเหมาะสม***

10.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  1. ได้พัฒนาความเป็นพลเมืองและเสริมสร้างสุขภาวะทางจิตของตนเองอย่างยั่งยืนตามแนวทางแห่งพระพุทธศาสนา
  2. ได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ในระหว่างปิดภาคเรียน โดยไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด
  3. ได้มีส่วนร่วมในการสืบทอดและอนุรักษ์ประเพณีการบรรพชาอุปสมบทให้คงอยู่คู่พระพุทธศาสนา
11.
คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ

ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้

  • check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
  • check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
  • check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ลงชื่อ............................................................ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- เห็นชอบ/อนุมัติ
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ


ลงชื่อ............................................................หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................

กปท.8

แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านพร้าว รหัส กปท. L3346

อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
เรื่อง ขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2566
เรียน ประธานกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านพร้าว
เอกสารแนบ แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (แบบ กปท.7) จำนวน 1 ชุด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น

หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

ลงชื่อ .................................................. หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

(...........................................................)

ตำแหน่ง ...............................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................

กปท.9

แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านพร้าว รหัส กปท. L3346

อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. ความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน
check_box_outline_blank
สอดคล้อง
check_box_outline_blank
ไม่สอดคล้อง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
2. ความซ้ำซ้อนของงบประมาณกองทุน ฯ กับงบประมาณจากแหล่งอื่น
check_box_outline_blank
ซ้ำซ้อน
check_box_outline_blank
ไม่ซ้ำซ้อน
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
3. ความเสี่ยงจากผลประโยชน์ทับซ้อน
check_box_outline_blank
เสี่ยง
check_box_outline_blank
ไม่เสี่ยง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
4. เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
5. ประเภทการสนับสนุน (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
6.งบประมาณที่เสนอ จำนวน 38,082.00 บาท
check_box_outline_blank
อนุมัติงบประมาณ เนื่องจากแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
check_box_outline_blank
ประชาชนได้รับผลประโยชน์
check_box_outline_blank
ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
check_box_outline_blank
ผู้รับผิดชอบงานมีศักยภาพ
check_box_outline_blank
ค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่า
จึงเห็นควรสนับสนุน เป็นเงิน จำนวน ........................................ บาท
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ไม่อนุมัติงบประมาณ
เพราะ...................................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ให้รายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ภายในวันที่................................................(ตามแบบฟอร์ม ฯ กปท.10)
check_box_outline_blank
ให้ อปท. แจ้งผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทราบผล เพื่อดำเนินการ ต่อไป
ลงชื่อ ....................................................................

(....................................................................)

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม

วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................

ลงชื่อ ....................................................................

ตำแหน่ง ....................................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................