กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะหา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมโภชนาการและการเจริญเติบโตในเด็กอายุ 0-5 ปี

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะหา

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลากอ

1.นางตอยยีบะห์ลำเดาะ
2.นางอานีซ๊ะ บูงอแคะบอง
3.นางฮามีดะดาละ
4.นางนุรอัยนีย์ อาแว
5.นางฮามีดะลือแบลูวง

หมู่ที่ 4,5,7,8 ตำบลยะหา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 เด็ก 0-5 ปี ที่มีภาวะทุพโภชนาการ

 

65.00

เด็กเป็นวัยที่มีความสำคัญต่อครอบครัวและประเทศชาติ สิ่งสำคัญในการเสริมสร้างให้เด็กมีคุณภาพ คือ การเลี้ยงดูและส่งเสริมพัฒนาในด้านต่าง ๆ ทั้งร่างกาย จิตใจ และสมองอย่างเหมาะสม การดูแลจัดการ อาหารและโภชนาการในช่วงวัยทารกและเด็กเล็ก รวมถึงภาวะการเจริญเติบโต เป็นพื้นฐานสำคัญของการมีสุขภาพและสติปัญญาที่ดีในระยะยาว และยังมีความสำคัญมากต่อการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเช่น โรคเบาหวาน โรคอ้วน ผอม/เตี้ย เป็นต้น การส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยก่อนเรียนจึงมีความจำเป็นมากในปัจจุบัน เพื่อเป็นการส่งเสริมการเจริญเติบโตและพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ของเด็ก 0-5 ปี ทางชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลากอ จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมโภชนาการและการเจริญเติบโตได้รับการดูแลด้านโภชนาการและการเจริญเติบโตอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและส่งเสริมให้เด็กมีสุขภาพดีและ มีคุณภาพในการดำรงชีวิตประจำวัน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็ก 0-5 ปีที่มีภาวะทุพโภชนาการ จำนวน 65 คน (ข้อมูล ณ 30 กันยายน 2565) เติบโต เต็มวัย ลดภาวะทุพโภชนาการ
  • เด็ก 0-5 ปี ได้รับการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงทุก 3 เดือน
  • เด็กน้ำหนักเกิน/อ้วน หรือเด็กน้ำหนักน้อย เตี้ย ผอม ค่อนข้างเตี้ย ค่อนข้างผอมได้รับการดูแล
459.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 459
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การเฝ้าระวังติดตามภาวะทุพโภชนาการ

ชื่อกิจกรรม
การเฝ้าระวังติดตามภาวะทุพโภชนาการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วิธีดำเนินการ/รายละเอียดกิจกรรม 1 การเฝ้าระวังติดตามการเจริญเติบโต
-จัดทำทะเบียน/บัญชีเด็ก 0-5 ปี ในเขตรับผิดชอบ -ชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงเด็กทุก 3 เดือน คือ ตุลาคม มกราคม เมษายน และกรกฎาคม พร้อมกับประเมินพฤติกรรมการบริโภคอาหารของเด็ก -นำข้อมูลบันทึกลงในโปรแกรมเฝ้าระวังการเจริญเติบโตของเด็กแรกเกิด – 5 ปี และหรือสมุดบันทึกสุขภาพเด็ก (สมุดสีชมพู) -นำข้อมูลจากโปรแกรมเฝ้าระวังการเจริญเติบโต แจ้งผลประเมินภาวะการเจริญเติบโตและแนวโน้มการเพิ่มน้ำหนักส่วนสูง และให้คำแนะนำแก่พ่อแม่/ผู้ปกครองในการดูแลด้านโภชนาการและการเล่น 2 การประกอบอาหารที่มีประโยชน์และเหมาะสมสำหรับเด็ก เพื่อแก้ไขเด็กที่มีน้ำหนักน้อย เตี้ย ผอมและเด็กที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน
-จัดทำทะเบียนเด็กที่มีเด็กที่มีน้ำหนักน้อย เตี้ย ผอม น้ำหนักเกินหรืออ้วน และเด็กที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน -กรณีเด็กน้ำหนักน้อย เตี้ย ผอม สาธิตการทำอาหารที่เพิ่มน้ำหนัก(โดยนักโภชนาการ)ให้กับผู้ปกครองเด็กและสนับสนุนนม จนกว่าเด็กกลับมาอยู่ในระดับค่อนข้างเตี้ย ค่อนข้างผอม และหากน้ำหนักไม่ขึ้นให้วิเคราะห์เป็นรายกรณีและส่งพบแพทย์หากผิดปกติ -กรณีเด็กน้ำหนักเกินหรืออ้วน กระตุ้นให้เด็กอ้วนลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง และออกไปเล่นในสนามอย่างน้อยให้ได้วันละ 60 นาทีหรือมากกว่า กระตุ้นให้เด็กกินผักผลไม้มากขึ้น (ตามที่กรมอนามัยแนะนำ) 3 สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการพร้อมแบบรายงาน (ภาคผนวก) ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลยะหา

งบประมาณ - ค่าเครื่องชั่งน้ำหนักแบบเข็ม จำนวน 4 หมู่บ้าน รวม 14 เครื่อง หมู่ที่ 4 บ้านลากอจำนวน 5 เครื่อง
หมู่ที่ 5 บ้านบาโด จำนวน 4 เครื่อง หมู่ที่ 7 สะปาเราะ จำนวน 3 เครื่อง
หมู่ที่ 8 เจาะกลาดี จำนวน 3 เครื่อง - ราคาเครื่องละ 700 บาท8 เครื่องเป็นเงิน5,600บาท - ค่าสาธิตเมนูอาหาร สำหรับผู้ปกครองเด็ก (ข้าวผัด แกงจืด ขนมหวานถั่วเขียว) เป็นเงิน3,000บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท65 คน2 มือเป็นเงิน3,250บาท - ค่าอาหารกลางวัน 50 บาท65 คน*1 มือ เป็นเงิน3,250บาท - ค่าอาหารเสริมที่มีโปรตีนและพลังงานสูงแก่เด็กขาดสารอาหาร (นม)
จำนวน 65 คนๆละ 325 บาท (คนละ 36 กล่อง)เป็นเงิน 21,125 บาท - ค่าป้ายไวนิล ชื่อโครงการจำนวน 1 ผืนๆละ 800 บาท เป็นเงิน 800 บาท - ค่าวิทยากร 6 ชม.ๆ 300 บาท (สาธิตเมนูอาหาร)เป็นเงิน1,800บาท จำนวนทั้งสิ้น 38,825 บาท ทั้งนี้ค่าใช้จ่ายสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามระเบียบที่หน่วยงานถือปฏิบัติ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2566 ถึง 30 เมษายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. เด็ก 0-5 ปี ได้รับการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงทุก 3 เดือนประเมินภาวะทุพโภชนาการ
  2. เด็ก 0-5 ปี ได้รับการดูแลพร้อมขึ้นทะเบียนและติดตาม
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
38825.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 38,825.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็ก 0-5 ปี ได้รับการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงทุก 3 เดือน
2. เด็กน้ำหนักเกิน/อ้วน หรือเด็กน้ำหนักน้อย เตี้ย ผอม ค่อนข้างเตี้ย ค่อนข้างผอมได้รับการดูแล


>