กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.บานา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมและเฝ้าระวังภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ในเด็กก่อนวัยเรียน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.บานา

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบานา

นางวิภา หลงรักษณาวงศ์ ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ(ผู้รับผิดชอบโครงการ)เบอร์โทร 098-4651466

หมู่ที่ 1-11 ตำบลบานา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การมีภาวะโภชนาการ และสุขภาพอนามัยที่ดีนั้นจะต้องมีสุขภาพดี ไม่เจ็บป่วย ซึ่งการกินอาหารถูกต้อง เหมาะสม และพอเพียงจะทำให้มีโภชนาการ ดีและนำไปสู่การมีสุขภาพดี ในทางตรงกันข้ามหากกินอาหารที่ไม่มีประโยชน์ ไม่เพียงพอจะทำให้ขาดสารอาหาร หรือถ้ากินอาหารมากเกินไป ก็จะทำให้เป็นโรคอ้วน หรือโภชนาการเกิน “โภชนาการ” จึงเป็นเรื่องของการกิน “อาหาร” ที่ร่างกายเรานำ “สารอาหาร” จากอาหารไปใช้ประโยชน์ และดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างเป็นสุข อาหารและ โภชนาการเป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งต่อสุขภาพ และคุณภาพชีวิตของประชากรในวัยต่าง ๆ ในวงจรชีวิตมนุษย์ทุกเพศ ทุกวัยทั้ง เด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ ฯ โดยเฉพาะในเด็กเล็กและเด็กวัยก่อนเรียนเป็นวัยที่อยู่ในระยะสำคัญของชีวิตเป็นวัยรากฐานของพัฒนาการ การเจริญเติบโตทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา จึงเป็นวัยที่มี ความสำคัญ เหมาะสมที่สุดในการวางพื้นฐาน เพื่อยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยเฉพาะในระยะ 2 ปี แรก ของชีวิต เป็นระยะที่ร่างกายและสมอง มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วจำเป็นต้องได้รับการเลี้ยงดูที่ดีที่สุด เพื่อ ส่งเสริมพัฒนาการรอบด้าน อาหารและภาวะโภชนาการที่ดี เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและ พัฒนาของเด็กวัยก่อนวัยเรียน ปัญหาทางโภชนาการที่พบบ่อยในเด็กวัยนี้ ได้แก่ ภาวะการเจริญเติบโตไม่ สมวัย จากโรคขาดสารอาหาร ภาวะโภชนาการเกิน การขาดสารไอโอดีน ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก โดยมีสาเหตุสำคัญจากพฤติกรรมการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ลดลง การให้อาหาร ตามวัยแก่เด็กเร็วเกินไปและไม่ถูกต้อง
ปัจจุบัน ข้อมูลโภชนาการในเด็ก 0 - 5 ปีของตำบลบานา ในปีงบประมาณ 2566 จำนวนเด็กทั้งหมด 1,717 คน ได้รับการประเมินภาวะโภชนาการ จำนวน 1,585 คน พบว่าเด็กมีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ ของเด็ก 0 – 5 ปี จำนวน 185 คน คิดเป็นร้อยละ 10.77 (เกณฑ์ไม่เกินร้อยละ 7 ) ซึ่งภาวะทุพโภชนาการในเด็ก(0–5ปี) นั้น ส่งผลกระทบด้านปัญหาสุขภาพต่างๆของเด็ก เช่น ภาวะโลหิตจาง ภาวะขาดสารอาหาร และด้านพัฒนาการ ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบานา จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมาเพื่อประเมินภาวะเพื่อป้องกันภาวะทุพโภชนาการในเด็กก่อนวัยเรียน ส่งผลให้ทารกแรกเกิดมีสุขภาพอนามัยที่ดี มีพัฒนาการสมวัย ซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติต่อไป การมีภาวะโภชนาการ และสุขภาพอนามัยที่ดีนั้นจะต้องมีสุขภาพดี ไม่เจ็บป่วย ซึ่งการกินอาหารถูกต้อง เหมาะสม และพอเพียงจะทำให้มีโภชนาการ ดีและนำไปสู่การมีสุขภาพดี ในทางตรงกันข้ามหากกินอาหารที่ไม่มีประโยชน์ ไม่เพียงพอจะทำให้ขาดสารอาหาร หรือถ้ากินอาหารมากเกินไป ก็จะทำให้เป็นโรคอ้วน หรือโภชนาการเกิน “โภชนาการ” จึงเป็นเรื่องของการกิน “อาหาร” ที่ร่างกายเรานำ “สารอาหาร” จากอาหารไปใช้ประโยชน์ และดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างเป็นสุข อาหารและ โภชนาการเป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งต่อสุขภาพ และคุณภาพชีวิตของประชากรในวัยต่าง ๆ ในวงจรชีวิตมนุษย์ทุกเพศ ทุกวัยทั้ง เด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ ฯ โดยเฉพาะในเด็กเล็กและเด็กวัยก่อนเรียนเป็นวัยที่อยู่ในระยะสำคัญของชีวิตเป็นวัยรากฐานของพัฒนาการ การเจริญเติบโตทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา จึงเป็นวัยที่มี ความสำคัญ เหมาะสมที่สุดในการวางพื้นฐาน เพื่อยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยเฉพาะในระยะ 2 ปี แรก ของชีวิต เป็นระยะที่ร่างกายและสมอง มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วจำเป็นต้องได้รับการเลี้ยงดูที่ดีที่สุด เพื่อ ส่งเสริมพัฒนาการรอบด้าน อาหารและภาวะโภชนาการที่ดี เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและ พัฒนาของเด็กวัยก่อนวัยเรียน ปัญหาทางโภชนาการที่พบบ่อยในเด็กวัยนี้ ได้แก่ ภาวะการเจริญเติบโตไม่ สมวัย จากโรคขาดสารอาหาร ภาวะโภชนาการเกิน การขาดสารไอโอดีน ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก โดยมีสาเหตุสำคัญจากพฤติกรรมการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ลดลง การให้อาหาร ตามวัยแก่เด็กเร็วเกินไปและไม่ถูกต้อง
ปัจจุบัน ข้อมูลโภชนาการในเด็ก 0-5 ปีของตำบลบานา ในปีงบประมาณ 2566 จำนวนเด็กทั้งหมด 1,717 คน ได้รับการประเมินภาวะโภชนาการ จำนวน 1,585 คน พบว่าเด็กมีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ ของเด็ก 0 – 5 ปี จำนวน 185 คน คิดเป็นร้อยละ 10.77 (เกณฑ์ไม่เกินร้อยละ 7 ) เป็นเด็กช่วงอายุ1-3 ปี มีภาวะทุพโภชนาการ จำนวน 82 คน ซึ่งภาวะทุพโภชนาการในเด็ก(0–5ปี) นั้น ส่งผลกระทบด้านปัญหาสุขภาพต่างๆของเด็ก เช่น ภาวะโลหิตจาง ภาวะขาดสารอาหาร และด้านพัฒนาการ ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบานา จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมาเพื่อประเมินภาวะเพื่อป้องกันภาวะทุพโภชนาการในเด็กก่อนวัยเรียน ส่งผลให้ทารกแรกเกิดมีสุขภาพอนามัยที่ดี มีพัฒนาการสมวัย ซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดปัญหาภาวะทุพโภชนาการในเด็ก 1-3 ปี

เพื่อลดปัญหาภาวะทุพโภชนาการในเด็ก 1-3 ปี ไม่เกินร้อยละ 7

0.00
2 เพื่อให้ผู้ปกครองเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการมีความรู้ และความตระหนักในเรื่องการดูแลภาวะโภชนาการของเด็ก

เพื่อให้ผู้ปกครองเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการมีความรู้ และความตระหนักในเรื่องการดูแลภาวะโภชนาการของเด็กร้อยละ 80

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 82
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2023

กำหนดเสร็จ 15/08/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประเมินภาวะโภชนาการ ของกลุ่มเป้าหมาย

ชื่อกิจกรรม
ประเมินภาวะโภชนาการ ของกลุ่มเป้าหมาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1. ประชุมชี้แจงโครงการแก่คณะทำงาน และ อสม.

1.2. สำรวจค้นเด็กที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ จากโปรแกรม JHCIS(อายุ0-5 ปี)

1.3. จัดทำทะเบียนเด็กที่มีภาวะโภชนาการต่ำเกณฑ์ ประเมินภาวะโภชนาการโดยการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง เปรียบเทียบกับกราฟโภชนาการของกรมอนามัย

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม เจ้าหน้าที่ 5 คน/อสม. 11 คน 35 บาท x คน x 1 มื้อ เป็นเงิน 560.-บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 15 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
560.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองของกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ตำบลบานา ที่เกี่ยวข้องกับด้านโภชนาการ

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองของกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ตำบลบานา ที่เกี่ยวข้องกับด้านโภชนาการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

2.1.อบรมให้ความรู้เรื่องความสำคัญของโภชนาการ และสอนการใช้กราฟโภชนาการในสมุดสีชมพู แก่ผู้ปกครองของเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ

  • เจ้าหน้าที่ 5 คน/อสม 11 คน ค่าอาหารกลางวัน 50 บาท X 16 คน เป็นเงิน 800 บาท

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 35 บาท X 16คน X 2 มื้อเป็นเงิน 1,120 บาท

  • ค่าอาหารกลางวันผู้ปกครอง 82 คน X 50 บาทเป็นเงิน 4,100 บาท

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 82 คน X 35 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน 5,740 บาท

  • ค่าจัดทำป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการขนาด 1 x 3 เป็นเงิน 750 บาท

  • วัสดุอุปกรณ์สำหรับกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเป็นเงิน 4,880 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 พฤษภาคม 2566 ถึง 15 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
17390.00

กิจกรรมที่ 3 ติดตามและประเมินภาวะโภชนาการ

ชื่อกิจกรรม
ติดตามและประเมินภาวะโภชนาการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

3.1.มีการติดตามชั่งน้ำหนักเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการทุก 1 เดือน เป็นเวลา 3 เดือน

  • ไข่ เบอร์ 2ราคา 120 บาท X จำนวน 82 แผง X 3 เดือนเป็นเงิน 29,520 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2566 ถึง 15 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
29520.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 47,470.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เพื่อลดปัญหาภาวะทุพโภชนาการในเด็ก 1-3 ปี ไม่เกินร้อยละ 7

2. เพื่อให้ผู้ปกครองเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการมีความรู้ และความตระหนักในเรื่องการดูแลภาวะโภชนาการของเด็กร้อยละ 80

3. เพื่อให้เด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการได้รับการดูแล ติดตามชั่งน้ำหนัก และประเมินภาวะโภชนาการ ทุก 1 เดือน ร้อยละ 90


>