กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.บานา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการการดูแลสุขภาพด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยในโรคระบบทางเดินอาหาร

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.บานา

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบานา

นางสาวมุมีนะห์เจ๊ะเลาะเบอร์โทร 098-1853917(ผู้รับผิดชอบ)

ตำบลบานา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การให้บริการของคลินิกแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบานา ปีงบประมาณ 2565 พบว่าประชาชนในพื้นที่ส่วนใหญ่มักเจ็บป่วยด้วยโรคลม อาทิ เช่น ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดหัวเข่า ปวดศีรษะท้องอืดท้องเฟ้อ แน่นท้อง นอนไม่หลับ เป็นต้น ซึ่งประชาชนมักนิยมรับประทานยาแผนปัจจุบันก่อนมารับการรักษากับแผนไทยเสมอ บางรายอาการดีขึ้น แต่บางรายอาการไม่ดีขึ้นจึงทำให้เกิดการสะสมความปวดมากยิ่งขึ้น
จากเหตุผลข้างต้น มีวิธีการรักษาด้านการแพทย์แผนไทยหลากหลายชนิด เช่น การนวด การประคบ การอบสมุนไพร การทับหม้อเกลือ การพอกเข่า การนั่งถ่าน การสุมยา การอาบน้ำสมุนไพร การรมยา เป็นต้น เพื่อให้ร่างกายพ้นจากอาการปวดต่างๆ
การเผายาเป็นศาสตร์ของการแพทย์แผนไทยอีกหนึ่งวิธีที่ใช้ดูแลรักษาสุขภาพที่มีประสิทธิภาพ เป็นการลดการใช้ยาแผนปัจจุบัน และสามารถช่วยให้ลดอาการเจ็บป่วยด้วยโรคลมได้ดี โดยการเผายาใช้สำหรับอาการเฉพาะจุดที่มีอาการ เช่น ที่ท้อง หลัง อก เป็นต้น
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบานา จึงจัดทำโครงการ “การดูแลสุขภาพด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยโดยการเผายาสมุนไพร” ขึ้น เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงการบริการด้านการแพทย์แผนไทยและเพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพมากยิ่งขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้การดูแลรักษาผู้ป่วยกลุ่มอาการทางเดินอาหารด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย โดยการนวด การเผายาสมุนไพร และการทำลูกประคบสมุนไพร

ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายที่ผ่านการอบรม มีความรู้ ความเข้าใจใช้ศาสตร์การแพทย์แผนไทยในการดูแลรักษาสุขภาพตนเอง เพื่อให้ร่างกายพ้นจากโรคทางเดินอาหาร

0.00
2 เพื่อฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยกลุ่มทางเดินอาหาร ให้สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ

ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายที่ผ่านการอบรม สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ

0.00
3 เพื่อนำความรู้ที่ได้รับไปถ่ายทอดและช่วยเหลือรักษาให้กับผู้ที่มีปัญหากกลุ่มทางเดินอาหารในครอบครัวและชุมชนได้

ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายที่ผ่านการอบรม สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปฏิบัติดูแล ถ่ายทอดและช่วยเหลือผู้ที่ปัญหาทางกลุ่มโรคทางเดินอาหารในครอบครัวและผู้อื่นได้

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 40
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 08/05/2023

กำหนดเสร็จ 16/05/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การดูแลสุขภาพด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยโดยการเผายาสมุนไพร

ชื่อกิจกรรม
การดูแลสุขภาพด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยโดยการเผายาสมุนไพร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

• การดูแลสุขภาพด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยโดยการเผายาสมุนไพร

(แบ่งผู้อบรมเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มละ 10 คน ทำวันละ 1 กลุ่ม )

  • ค่าอาหารกลางวันเจ้าหน้าที่จำนวน 5 คน x 50 บาท x 1 มื้อ x 4 วัน เป็นเงิน 1,000.-บาท

  • ค่าอาหารกลางวันผู้เข้ารับการอบรม 50 บาท x 40 คน x1 มื้อ x 2วันเป็นเงิน 4,000.-บาท

  • ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่มเจ้าหน้าที่ 35 บาท x5 คน x2 มื้อ x 4 วันเป็นเงิน 1,400.-บาท

  • ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่มผู้เข้าร่วม 35 บาท x40 คน x2 มื้อ x2 วัน เป็นเงิน 5,600.-บาท

  • ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ ขนาด 1x3 เมตร จำนวน1 ผืน x750 บาท เป็นเงิน 750.-บาท

  • ค่าป้ายโครงการ ขนาด 1x3 เมตร จำนวน1 ผืน x750 บาท เป็นเงิน 750.-บาท

  • ค่าตอบแทนวิทยากร 6 ชั่วโมง x 600 บาท x 2 วัน เป็นเงิน 7,200.-บาท

  • ค่าวัสดุอุปกรณ์ (เอกสารแนบท้าย) 14,740.-บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
8 พฤษภาคม 2566 ถึง 18 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
35440.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 35,440.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในศาสตร์การแพทย์แผนไทยได้มากยิ่งขึ้น
2. ประชาชนนำความรู้ที่ได้รับไปถ่ายทอด และช่วยเหลือคนในครอบครัวและชุมชนได้
3. ประชาชนมีการใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพมากยิ่งขึ้น


>