กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านสวน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเกษตรกรปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย สมุนไพรล้างพิษ ปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านสวน

กลุ่มอสม.รพ.สต.บ้านดอนศาลา

1.นางอารีย์ยี่โส (0942657841)
2.นางชฏาภรณ์ คงพลับ
3.นางอารีย์พูลสมบัติ
4.นางสุนีย์ ขุนทอง
5.นางยุพิน ชิตสุข

หมู่ที่ 4,6,8,9 ตำบลมะกอกเหนือ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นเนื่องจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช เป็นปัญหาใหญ่และรุนแรงมากของสังคมไทย ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสังคมไทยยังขาดความตระหนักร่วมกันอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะผลกระทบต่อเกษตรกรและประชาชนทั่วไป สารเคมีกำจัดศัตรูพืช สามารถทำอันตรายต่อสุขภาพร่างกายได้ทั้งมนุษย์และสัตว์ คือ จะไปทำลายอวัยวะภายในร่างกาย เช่น ตับ ไต ปอด สมอง ผิวหนัง ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์และตา ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าเราจะได้รับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายทางใด และปริมาณมากน้อยเท่าใด ส่วนใหญ่แล้วการที่อวัยวะภายในร่างกายได้สะสมสารเคมีไว้จนถึงขีดที่ร่างกายไม่อาจทนได้ จึงแสดงอาการต่างๆ ขึ้นมา เช่น โรคมะเร็ง โรคต่อมไร้ท่อ โรคเลือดและระบบภูมิคุ้มกัน เป็นต้น
เขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดอนศาลา เป็นพื้นที่หนึ่งที่ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรม โดยมีพื้นที่ที่ใช้ในการเกษตรมากถึงร้อยละ 80 ของพื้นที่ทั้งหมด ซึ่งประกอบด้วยพื้นที่ นา , สวนยางพารา สวนผลไม้ และปลูกผักสวนครัว ผลกระทบจากการใช้สารเคมีในการควบคุมและกำจัดศัตรูพืช จึงกระจายและขยายเป็นวงกว้าง และยังอยู่ในระดับที่รุนแรงและสูงขึ้น
ดังนั้น กลุ่ม อสม.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดอนศาลา ได้เล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพเกษตรกรในพื้นที่ ม.4,6,8,9 ต.มะกอกเหนือ จึงได้จัดทำโครงการตรวจสารเคมีตกค้างในเลือดเกษตรกรขึ้น เพื่อให้เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ ม.4,6,8,9 ต.มะกอกเหนือ ได้รับการตรวจสุขภาพและเจาะเลือดเพื่อดูว่ามีปริมาณสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดอยู่ในระดับใด เพื่อทำการเฝ้าระวังและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ประชาชนมีความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้สารเคมี และการป้องกันตนเองที่ ถูกต้องในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช

กลุ่มเป้าหมายมีความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้สารเคมี และการป้องกันตนเองที่ ถูกต้องในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ร้อยละ 80

0.00 0.00
2 เพื่อประเมินและเฝ้าระวังสุขภาพผู้เสี่ยงจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช

ร้อยละ 80 ของผู้เสี่ยงจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ได้รับการประเมินและเฝ้าระวังทางด้านสุขภาพ

0.00 0.00
3 เพื่อค้นหาประชากรกลุ่มเสี่ยงจากการประกอบอาชีพเกษตรกรในการใช้สารเคมีกำจักศัตรูพืช

 

0.00
4 เพื่อตรวจสุขภาพ รักษาพยาบาลและขับพิษสารเคมีออกจากร่างกายของเกษตรกร

ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจสุขภาพรักษาพยาบาลและขับพิษสารเคมีออกจากร่างกาย

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2023

กำหนดเสร็จ 31/08/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงานโครงการ ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่รพ.สต. ,อสม.แกนนำผู้รับผิดชอบโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงานโครงการ ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่รพ.สต. ,อสม.แกนนำผู้รับผิดชอบโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมคณะทำงานโครงการเพื่อกำหนดรูปแบบกิจกรรมในการดำเนินโครงการและค้นหากลุ่มเป้าหมาย

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 มีนาคม 2566 ถึง 3 มีนาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการและรูปแบบการดำเนินโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 ชี้แจงโครงการแก่กลุ่มเสี่ยงเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ชี้แจงโครงการแก่กลุ่มเสี่ยงเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชาสัมพันธ์พร้อมแจกใบเชิญและชี้แจงรายละเอียดแก่ผู้เข้าร่วมโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
4 เมษายน 2566 ถึง 10 เมษายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการตามจำนวนที่วางไว้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 ตรวจหาสารเคมีและจัดอบรมให้ความรู้เกษตรกรและรณรงค์ปลูกผักปลอดสารพิษ

ชื่อกิจกรรม
ตรวจหาสารเคมีและจัดอบรมให้ความรู้เกษตรกรและรณรงค์ปลูกผักปลอดสารพิษ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 3.1 ตรวจหาสารเคมีแก่เกษตรกรที่มีความเสี่ยงจากการใช้สารเคมี ครั้งที่ 1 โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่
กิจกรรมที่ 3.2 จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรเรื่องการใช้สารเคมี การลดการใช้สารเคมี โทษของสารเคมี การปลูกผักปลอดสารพิษไว้บริโภคในครัวเรือน เป็นต้น กิจกรรมที่ 3.3 กิจกรรมรณรงค์ปลูกผักปลอดสารพิษใช้บริโภคในครัวเรือน 1.ค่าจัดทำไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการฯ จำนวน ๑ ป้าย ขนาด 1.2 x 2.8 เมตร เป็นเงิน500 บาท 2.ชุดตรวจสารเคมีในเลือด จำนวน 2 ชุด ชุดละ 3,000 บาท เป็นเงิน 6,000 บาท (ชุดตรวจเคมี 2 ครั้ง ครั้งที่ 2 ห่างจากครั้งที่ 1 เป็นเวลา 45วัน)
3.ค่าวิทยากรให้ความรู้ 3 ชมๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท 4.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม การตรวจหาสารเคมีครั้งที่ 1 (สำหรับผู้เข้าอบรม วิทยากรและเจ้าหน้าที่) 55 คนๆละ 25 บาท รวม 1 มื้อ เป็นเงิน 1,375 บาท 5.ค่าอาหารกลางวัน การตรวจหาสารเคมีครั้งที่ 1 (สำหรับผู้เข้าอบรม วิทยากรและเจ้าหน้าที่) 55 คนๆละ 50 บาท รวม 1 มื้อ เป็นเงิน 2,750 บาท 6.ค่าเอกสารความรู้-ความเข้าใจ การใช้สารเคมีก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ 50 ชุด เป็นเงิน 100 บาท
7.อุปกรณ์การปลูกผักและเมล็ดพันธ์พืช 7.1 เมล็ดคะน้า 30 กระป๋อง เมล็ดกวางตุ้ง 30 กระป๋อง เมล็ดผักกาดขาว 30 กระป๋อง ราคากระป๋องละ 35 บาท เป็นเงิน 3,150 บาท 7.2 ถุงปลูกผัก ขนาด 8*15 นิ้ว (32ใบ/1 กิโลกรัม) จำนวน 6 แพ็คๆละ 250 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท
7.3 ดินปลูกผัก จำนวน 120 ถุง ราคาถุงละ 20 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท 7.ค่าเอกสารแบบประเมินความพึงพอใจจำนวน 40 ใบ เป็นเงิน 40 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 พฤษภาคม 2566 ถึง 2 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจหาสารเคมี ได้รับความรู้เกี่ยวกับเรื่องการใช้สารเคมี โทษของสารเคมี การลดการใช้สารเคมี มีการปลูกผักและได้ผักปลอดสารพิษบริโภคในครัวเรือน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
19615.00

กิจกรรมที่ 4 ตรวจหาสารเคมีแก่เกษตรกรที่มีความเสี่ยงจากการใช้สารเคมี ครั้งที่ 2 และประเมินผลสุขภาพรอบที่ 2

ชื่อกิจกรรม
ตรวจหาสารเคมีแก่เกษตรกรที่มีความเสี่ยงจากการใช้สารเคมี ครั้งที่ 2 และประเมินผลสุขภาพรอบที่ 2
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ตรวจหาสารเคมีแก่เกษตรกรที่มีความเสี่ยงจากการใช้สารเคมี ครั้งที่ 2 และประเมินผลสุขภาพรอบที่ 2 (โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่) ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม การตรวจหาสารเคมีครั้งที่ 2(สำหรับผู้เข้าอบรม วิทยากรและเจ้าหน้าที่) 55 คนๆละ 25 บาท รวม 1 มื้อ เป็นเงิน 1,375 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
19 พฤษภาคม 2566 ถึง 19 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการได้รับการตรวจหาสารเคมีและได้ประเมินผลสุขภาพ รอบที่ 2

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1375.00

กิจกรรมที่ 5 ประสานงานสถานบริการสาธารณสุขในพื้นที่ เพื่อส่งต่อรักษา

ชื่อกิจกรรม
ประสานงานสถานบริการสาธารณสุขในพื้นที่ เพื่อส่งต่อรักษา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประสานงานสถานบริการสาธารณสุขในพื้นที่ เพื่อส่งต่อผู้ที่มีความเสี่ยงจากการใช้สารเคมี เข้ารับการรักษาต่อไป

ระยะเวลาดำเนินงาน
22 พฤษภาคม 2566 ถึง 22 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ที่มีความเสี่ยงจากการพบสารเคมีในร่างกาย ได้รับการรักษา ร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 6 ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน เมื่อสิ้นสุดโครงการ พร้อมรายงานผลการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน เมื่อสิ้นสุดโครงการ พร้อมรายงานผลการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าจัดทำรูปเล่มรายงาน สปสช 1 เล่ม ค่าวัสดุอุปกรณ์เป็นเงิน 200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
23 มิถุนายน 2566 ถึง 23 มิถุนายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ส่งรูปเล่มให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลบ้านสวน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 21,190.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ทราบถึงสถานการณ์สารเคมีตกค้างในเลือดของเกษตรกรกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดอนศาลา
2.ประชาชนกลุ่มเสี่ยง ทราบถึงพิษภัยจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช
3.ประชากรกลุ่มเสี่ยง ได้รับการบำบัดรักษาที่ถูกต้องและสามารถป้องกันตนเองในการป้องกันไม่ให้สารเคมีเข้าสู่ร่างกายจนเป็นอันตราย


>