กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลกำแพง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมการออกกำลังกายไทเก๊ก เพื่อสุขภาพ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลกำแพง

ชมรมไทเก๊ก เทศบาลตำบลกำแพง

1. นางมณฑา ศรีเทียบ
2. นางสุจินธรา สุธากุล
3. นางมาลิวัลย์ อนรรฆวี
4. นางนฤมล ศรีโภคาศัย
5. น.ส.สมใจ แซ่เจี้ยง

เทศบาลตำบลกำแพง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)

 

20.00
2 ร้อยละของผู้สูงอายุ 65 ปี ขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลาง อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)

 

20.00

เนื่องจากปัจจุบันจำนวนและสัดส่วนของผู้สูงอายุได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงจำเป็นต้องดูแลเรื่องการรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ การออกกำลังกาย การดูแลสุขภาพ โดยเฉพาะการออกกำลังกายซึ่งนับเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพที่ดีและส่งผลให้จิตใจสดชื่น แจ่มใส ไม่เกิดภาวะซึมเศร้า ซึ่งการออกกำลังกายรำไทเก๊กนั้นไม่ได้ออกแรงมากนัก อีกทั้งยังเป็นการฝึกสมาธิได้ทำให้จิตใจสดชื่นแจ่มใสมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และตั้งแต่สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สมาชิกในชมรมไทเก๊กไม่ได้รวมกลุ่มกันออกกำลังกายเป็นเวลานาน ทำให้สมาชิกเริ่มถดถอยลงเรื่อยๆ ชมรมไทเก๊ก เทศบาลตำบลกำแพง จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมการออกกำลังกายไทเก๊ก เพื่อสุขภาพ เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้มาฝึกซ้อมเต้นรวมกลุ่มกันออกกำลังกาย เพื่อสุขภาพต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้ใหญ่

ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์)

20.00 25.00
2 เพื่อเพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้สูงอายุ

ร้อยละของผู้สูงอายุ 65 ปี ขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลาง อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)

20.00 25.00
3 เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อให้ผู้สูงอายุ

ร้อยละผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีการออกกำลังกายที่ถูกต้องและเหมาะสม (ประเมินสุขภาพ)

20.00 25.00
4 เพื่อส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดีแก่ผู้สูงอายุ

ร้อยละผู้เข้าร่วมกิจกรรมไม่มีภาวะเครียด และมีการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง (ประเมินก่อน-หลัง)

20.00 25.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 10
กลุ่มผู้สูงอายุ 40
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2023

กำหนดเสร็จ 31/05/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. กิจกรรมประชุมคณะกรรมการชมรมไทเก๊ก เพื่อกำหนดรูปแบบและเวลาในการดำเนินกิจกรรม

ชื่อกิจกรรม
1. กิจกรรมประชุมคณะกรรมการชมรมไทเก๊ก เพื่อกำหนดรูปแบบและเวลาในการดำเนินกิจกรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าอาหารว่าง 25 บ. X 19 คน = 475 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 31 มีนาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชุมคณะกรรมการชมรมไทเก๊ก 1 ครั้ง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
475.00

กิจกรรมที่ 2 2 กิจกรรมฝึกอบรมและซ้อมการออกกำลังกายไทเก๊ก

ชื่อกิจกรรม
2 กิจกรรมฝึกอบรมและซ้อมการออกกำลังกายไทเก๊ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ฝึกอบรมและซ้อมการออกกำลังกายไทเก๊ก 4 กระบวนการ -  กายบริหารไขข้อ 25 ท่า -  ไทเก๊กชีกงลมปราณ 18 ท่า ชุด 1,2 -  ไทเก๊ก 24 ท่า -  รำวงเวียนครก รายละเอียดงบประมาณ ดังนี้ - ค่าวิทยากร 5 ชั่วโมง X 600 บ. = 3,000 บาท - ค่าอาหารกลางวัน 85 บ. X 50 คน = 4,250 บาท - ค่าอาหารว่าง 25 บ. X 50 คน = 1,250 บาท - ค่าตอบแทนวิทยากรฝึกซ้อม 2 ชั่วโมง X 600 บ. X 8 วัน = 9,600 บาท - ค่าเครื่องดื่มสำหรับสมาชิกที่มาเข้าร่วมกิจกรรม 25 บ. X 50 คน X 8 วัน = 10,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2566 ถึง 31 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สมาชิกในชมรมฯมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง และมีสุขภาพจิตที่ดี

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
28100.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 28,575.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

สมาชิกในชมรมไทเก๊กเพิ่มขึ้น และมีกิจกรรมการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง


>